" อว." เปิด “ปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จ.สุโขทัย” ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ระดมเทคโนโลยี-นวัตกรรม ช่วยประชาชน พร้อมนำนักศึกษาจิตอาสาซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์การเกษตร

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้
น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว.
พร้อมด้วย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ให้ลงพื้นที่ จ.สุโขทัย เพื่อ “เปิดปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมของกระทรวง อว.จ.สุโขทัย” โดยมี ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผอ.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผศ.ดร. วีรชัย อาจหาญ รอง ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รอง ผอ.หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มทร.ล้านนา มทร.อีสาน มรภ.กำแพงเพชร มรภ.พิบูลสงคราม กองทัพภาคที่ 3 และสมาคมตอบโตภัยพิบัติ เข้าร่วม ที่โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) จ.สุโขทัย
.
ทั้งนี้ น.ส.สุชาดา กล่าวว่า การเปิดปฏิบัติช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมของกระทรวง อว. จ.สุโขทัย ในครั้งนี้ เป็นการสั่งการอย่างเร่งด่วนของ น.ส.ศุภมาส รมว.อว.ที่ให้ระดมสรรพกำลังทุกองคาพยพของกระทรวง อว. มาให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งกองทัพภาคที่ 3 หน่วยงานในพื้นที่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ และบริษัทเอกชนต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น กองทัพโดรนเพื่อการบินสำรวจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และโดรนลำเลียงสิ่งของทั้งยา เวชภัณฑ์ อาหาร เครื่องอุปโภค~บริโภค ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 20 กก. และ 40 กก. เรือกู้ภัยไวไฟ ((WiFi) เรืออลูมิเนียมพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 14 ฟุต ที่มีระบบ Tracking ที่สามารถเช็คพิกัดของเรือได้ว่าอยู่ที่จุดไหน เรือแอร์โบ๊ท เรือกู้ภัยพลังลม ถุงยังชีพ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ยังเปิดศูนย์ปฏิบัติการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พักพิงชั่วคราว และเป็นศูนย์กระจายสิ่งของที่จำเป็น รวมถึงเป็นหน่วยประสานงานในพื้นที่ พร้อมนำนักศึกษาจิตอาสามาช่วยเหลือชาวบ้าน ทั้งซ่อมแซมบ้านเรือน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์การเกษตร

“ขอขอบคุณกองทัพภาคที่ 3 สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ และภาคเอกชน ที่มาร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนกับกระทรวง อว.ในครั้งนี้ ซึ่งกองทัพภาคที่ 3 ได้จัดรถปฐมพยาบาล 1 คัน รถลำเลียงของและประชาชน 2 คัน และกำลังพล 1 กองร้อย ขณะที่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติได้นำโดรนที่มีเทคโนโลยีและประสิทธิภาพสูง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกำลังหลักที่มาช่วยให้ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ถึงมือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ขอยืนยันว่า กระทรวง อว.และภาคีเครือข่ายพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ และไม่ได้หยุดแค่นี้ เรายังทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย“ น.ส.สุชาดา กล่าว
.
จากนั้น เลขานุการ รมว.อว. และคณะ ได้เดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำ จ.สุโขทัย ที่หน่วยวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ หรือ รถ Mobile War Room ของ สสน. และรับฟังรายงานการติดตามสถานการณ์ด้วยดาวเทียม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นประจำทุกวัน สถานการณ์ความเสี่ยงน้ำท่วมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า ซึ่งประจำอยู่ที่กรมชลประทานสุโขทัย แล้วจึงเดินทางไปแจกถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่บ้านหนองโว้ง และเยี่ยมศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยวัดท่าทอง ต.เมืองบางยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แห่สมัครสอบ TGAT ใน TCAS 68 กว่า 315,483 คน หลัง 'ศุภมาส' ไฟเขียวให้กระทรวง อว.สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้นักเรียนฟรีทั่วประเทศ

น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวง อว. และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรายวิชาในระบบ TCAS 68

'มาริษ' มั่นใจไม่ว่าใครเป็นประธานธิบดีสหรัฐความสัมพันธ์ก็ยังมั่นคงเหมือนเดิม!

'มาริษ' บอกไม่มีปัญหาใครมาเป็นหัวเรือสหรัฐฯ ความสัมพันธ์กับไทยยังมั่นคงชัดเจนเหมือนเดิม ตามนโยบาย 'นายกฯอิ๊งค์' ผลประโยชน์ต้องวินๆทั้งสองฝ่าย

'มาริษ' ยันเจรจาพื้นที่ทับซ้อน กต.จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด!

รมว.กต.ยืนยันผลการเจรจาเพื่อใช้ประโยชน์ปิโตรเลียมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนไทย-กัมพูชา ประชาชนไทยต้องเห็นชอบก่อน - ย้ำผลประโยชน์ต้องเป็นของประชาชน – ชี้ MOU44 เป็นกลไกทำให้การเจรจาเดินหน้าได้