มอเตอร์ไฮดรอลิกแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี

อีกรูปแบบของอุปกรณ์ไฮดรอลิกที่หลายคนอาจพอคุ้นเคยกันอยู่บ้างนั่นคือ “มอเตอร์ไฮดรอลิก” ซึ่งถ้าเจาะลึกลงไปแล้วจะพบว่ามีความแตกต่างจากปั๊มไฮดรอลิกอยู่พอสมควร รวมถึงยังมีการแยกประเภทมอเตอร์เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามจุดประสงค์ได้อีกด้วย การทำความเข้าใจประเภทของมอเตอร์ดังกล่าวย่อมช่วยให้สามารถเลือกซื้อและใช้ได้แบบเต็มประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ของงานออกมาน่าพึงพอใจ ตอบโจทย์ด้านความคุ้มค่า

มอเตอร์ไฮดรอลิก คืออะไร?

มอเตอร์ไฮดรอลิก คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตัวโครงสร้างสำหรับสร้างกำลังโดยจะเปลี่ยนพลังงานกลที่ได้รับจากเครื่องยนต์สู่พลังงานไฮดรอลิก หากมองการทำงานเบื้องต้นอาจรู้สึกว่าใกล้เคียงกับปั๊มไฮดรอลิกจากรูปแบบการทำงานที่ตัวมอเตอร์ต้องหมุนด้วยแรงเหวี่ยง แต่ถ้าเจาะลึกลงไปแล้วจะพบว่าปั๊มไฮดรอลิกหมุนจากการใช้ไฟฟ้าหรือพลังจากเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนให้ตัวปั๊มทำงาน ขณะที่มอเตอร์ไฮดรอลิกจะหมุนจากการที่น้ำมันส่งแรงดันให้เกิดการหมุน อีกทั้งยังกำหนดได้ด้วยว่าต้องการให้หมุนแบบทิศทางเดียวหรือ 2 ทิศทาง

มอเตอร์ไฮดรอลิกแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ปัจจุบันการใช้งานมอเตอร์ไฮดรอลิกสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทใบพัด หรือประเภทแวน

ลักษณะการทำงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกแบบใบพัด หรือบางคนอาจเรียกแบบแวนก็ความหมายเดียวกัน จะมีตัวช่วยอย่างน้ำมันเพื่อการทำระดับความดันให้สูงขึ้นแล้วจึงไหลเข้าสู่ช่องทางเข้าทั้ง 2 ฝั่งเพื่อสร้างความสมดุล ตัวน้ำมันจะคอยกระตุ้นการทำงานของใบพัดให้หมุนส่งผลถึงโรเตอร์ที่มีเพลาติดตั้งอยู่เกิดการหมุนตามไปด้วย ท้ายที่สุดน้ำมันดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำมันความดันต่ำแล้วไหลออกบริเวณช่องทางออกเพื่อกลับสู่ถังพัก

2. มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทเฟือง

สำหรับมอเตอร์ไฮดรอลิกแบบเฟืองจะสามารถแบ่งประเภทย่อยออกไปได้อีก 2 กลุ่ม ซึ่งลักษณะการทำงานอาจไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว ดังนี้

  • มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทเฟืองฟันนอก น้ำมันที่ระดับความดันสูงจะไหลเข้าสู่ช่องทางเข้าเพื่อเป็นตัวผลักให้เฟืองเคลื่อนที่ส่งต่อถึงเพลาที่ติดกับฟันเฟืองทุกตัวก็หมุนทำงานด้วยเช่นกัน
  • มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทเฟืองฟันใน น้ำมันที่ระดับความดันสูงจะไหลเข้าสู่ช่องทางเข้าเพื่อเป็นตัวผลักให้เฟืองตัวนอกหมุน ขณะเดียวกันเฟืองตัวในก็ต้องหมุนตาม บริเวณส่วนวงโค้งซึ่งมีวงแคบมากมีหน้าที่คล้ายกับซีลกั้นระหว่างช่วงช่องทางเข้า-ออก รวมถึงยังเป็นช่องทางไหลกลับของน้ำมันในตัวมอเตอร์เพื่อกลับไปยังถึงพักตามเดิม

3. มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทลูกสูบ

ลักษณะการทำงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทนี้จะช่วยให้น้ำมันความดันสูงไหลผ่านทางเข้าเพื่อดันลูกสูบซึ่งยึดติดอยู่กับแผ่นเอียงผลักแผ่นดังกล่าวให้น้ำมันไหลลง ทางด้านลูกสูบตัวอื่นจะเคลื่อนที่ขึ้นเพื่อดันน้ำมันความดันต่ำให้ออกไปไปสู่ช่องทางออกเพื่อเข้าสู่ถังพักตามเดิม หรือจะให้สรุปง่ายมากขึ้นคือเมื่อแผ่นเอียงขยับตัวขึ้นลงจนเกิดการหมุน เพลาะตัวอื่นที่ติดอยู่กับแผ่นเอียงจึงหมุนตามด้วยนั่นเอง

4. มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทจีโรเตอร์

มอเตอร์ไฮดรอลิกประเภทสุดท้ายตัวน้ำมันจะถูกดันขึ้นสูงเพื่อไหลสู่ช่องทางเข้าแล้วทำการผลักเฟืองจีโรเตอร์ตัวนอกให้หมุนทำงาน ส่งผลถึงเฟืองจีโรเตอร์ตัวไหนซึ่งติดอยู่กับเพลาเกิดการหมุนทำงานตามไปด้วย เมื่อครบกระบวนการน้ำมันจะมีการไหลผ่านช่องทางออกเพื่อกลับเข้าถังพักดังเดิม

สรุป

มอเตอร์ไฮดรอลิกแต่ละประเภทแม้มีลักษณะการทำงานแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าหลักการถือว่าใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ปัจจัยสำคัญคือต้องใช้น้ำมันเพื่อผลักดันให้เฟืองและเพลาเกิดการหมุนตัวเครื่องจึงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างผลลัพธ์ของการใช้งานให้ดีที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานสำหรับอุปกรณ์และเครื่องยนต์หลายประเภทโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร ไปจนถึงเครื่องจักรโรงงาน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมหมั่นตรวจสอบคุณภาพ ดูแลรักษาให้ดีเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น ไม่ต้องเสียเงินซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่บ่อย ๆ นั่นเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ”

วันที่ 13 ธค. 2567  ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร

“เทด้า” คว้ารางวัล “คู่ค้าดีเด่นประจำปี 2567” จาก กฟผ.

นายธงชัย เพ็ชรยิ้ม ผู้อำนวยการบริหาร และ นายครองเกียรติ์ อุดมรัตนชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทด้า จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ

"โสภณ"ถกเครือข่ายการศึกษา รัฐ เอกชน ประชาสังคม แก้ไขปัญหาคุณภาพศึกษา ปลอดยาเสพติดในพื้นที่ บุรีรัมย์

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และเครือข่ายทางการศึกษา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมี ดร.ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์ ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ นายปิยวิทย์ เชิดกลิ่น

ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนช่วยเหลือฟื้นฟูหลังอุทกภัยภาคใต้

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้ามอบสมุด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย Double A Care อาทิ หน้ากากอนามัยฯ น้ำยาทำความสะอาดพื้นและฆ่าเชื้อโรค