เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. พร้อมด้วย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว., ดร.รอยบุญ จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.), ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ รอง ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รอง ผอ.หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ให้ลงพื้นที่ จ.สุโขทัย เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ รวมถึงการนำเทคโนโลยีของกระทรวง อว. และถุงยังชีพที่บรรจุอาหารนวัตกรรม พร้อมทานโดยไม่ต้องอุ่น ยาและของใช้ที่จำเป็นไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม
.
โดยจุดแรกที่เดินทางไปถึง คือ ประตูน้ำวังสะตือ ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย โดยพื้นที่ของ ต.ดงเดือย เป็นหนึ่งในพื้นที่ของ “บางระกำโมเดล” ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเป็นประจำทุกปี โดย สสน. ซึ่งเข้าไปประจำในพื้นที่ได้รายงานถึงการติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำยมว่า ขณะนี้น้ำบริเวณประตูน้ำดูไหลเอื่อยอย่างผิดสังเกต ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งกำลังจะใช้โดรนบินสำรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อจะได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขโดยด่วน เพราะมวลน้ำเหนือก้อนใหญ่ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีจาก จ.แพร่ กำลังจะลงมาถึง อ.เมือง จ.สุโขทัย ดังนั้น จึงต้องเร่งทลายสิ่งกีดขวาง เพื่อรองรับมวลน้ำก้อนใหญ่ที่กำลังจะมาถึงให้ได้มากที่สุด
.
จากนั้น เลขา รมว.อว. และคณะ ได้เดินทางไปที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (บ้านวังศรีไพร) ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จจากการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ สสน. ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ร่วมกับโครงการพลังชุมชนของ SCG ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำเป็นประจำทุกปีได้ปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยการทำประมงเลี้ยงปลาหมอ นอกเหนือจากการทำเกษตร พร้อมเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและยังส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้อีกด้วย
.
ต่อจากนั้น ในช่วงบ่ายทางคณะได้เดินทางไปยัง จ.พิษณุโลก เพื่อร่วมประชุมเตรียมการรับอุทกภัยกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 (กอ.รมน. ภาค 3) โดยทาง กอ.รมน.ภาค 3 ได้ประสานให้กระทรวง อว.ช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ติดตั้งโทรมาตรวัดน้ำ การนำองค์ความรู้ และงานวิจัยมาสร้างแบบจำลองที่สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการตัดสินใจบริหารจัดการสถานการณ์ และสามารถแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมรับมือน้ำท่วมได้ทันการณ์ จากนั้น ได้เดินทางต่อไปยัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่อนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
.
หลังเสร็จสิ้นภารกิจ น.ส.สุชาดา กล่าวว่า น.ส.ศุภมาส รมว.อว. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จึงสั่งการให้ตนและคณะผู้บริหารกระทรวง อว. เร่งเดินทางมาติดตามสถานการณ์ พร้อมนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะโดรนสำรวจ และโดรนลำเลียงสิ่งของและอาหารมามอบให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก ซึ่งขณะนี้ กระทรวง อว.กำลังเร่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ เช่น เรือกู้ภัยไวไฟ (WiFi) ที่จะเข้าไปให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต บ้านสำเร็จรูป ที่นอนยางพารา เครื่องกรองน้ำไส้กรองนาโนแบบเคลื่อนที่ อาหารนวัตกรรม ฯลฯ ไปให้ถึงมือประชาชนโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ กระทรวง อว. จะขยายตัวอย่างความสำเร็จของพื้นที่ ต.ดงเดือย ที่คนชุมชนได้มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ จนสามารถเอาตัวรอดสร้างอาชีพและรายได้ในสถานการณ์น้ำท่วมไปสู่พื้นที่อื่นๆ ที่เป็นพื้นที่รับน้ำเป็นประจำทุกปีต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง