ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนกำลังตื่นตัวกับกระแสรักษ์โลกและความยั่งยืน กระแสนี้จะมีผลต่อธุรกิจอย่างไรและจะเป็นเพียงชั่วคราวหรือไม่ finbiz by ttb ได้รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ผู้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจว่าธุรกิจควรจะเดินหน้าไปอย่างไรท่ามกลางกระแสรักษ์โลกและความยั่งยืนนี้
กระแสรักษ์โลกถูกกระตุ้นขึ้นมาในช่วงเวลานี้เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่เริ่มเห็นได้ชัด จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของมนุษย์ ขยายไปสู่เหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ภาคธุรกิจต้องตระหนักให้ความสำคัญ ดังนี้
- ผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพ
ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เช่น ปัญหา PM 2.5 หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการย้ายถิ่นฐานได้ ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย รวมทั้งก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
- ความกังวลต่ออนาคตของโลก
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นความเสี่ยงต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มระดับความรุนแรง เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อุณหภูมิโลกสูงขึ้น พายุที่รุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความกังวลต่ออนาคตของโลก และความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในยุคปัจจุบัน
- แรงกดดันจากประชาชน
เมื่อประชาชนทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และต้องการให้ภาครัฐดำเนินการเพื่อแก้ไข จึงเกิดการเรียกร้องให้นโยบายต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน สิ่งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผลักดันให้ภาครัฐออกนโยบาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ภาคธุรกิจในประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตอบสนองนโยบายและข้อบังคับ และเพื่อเป้าหมายสู่ความยั่งยืนโดยแท้จริง รวมถึงเป็นการแสดงออกถึงจุดยืนให้ประจักษ์ต่อผู้บริโภคที่มีความตื่นตัวในการรักษ์โลก ซึ่งประเทศที่ตื่นตัว หรือมีข้อบังคับต่าง ๆ จะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ก่อน และจะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สามารถแข่งขันได้ในสังคมโลก การแข่งขันทางเศรษฐกิจนี้จึงก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว
- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ไม่มีพรมแดนและเป็นปัญหาของมวลมนุษยชาติที่ทุกประเทศต่างต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางแก้ไข ก่อให้เกิดกรอบความร่วมมือ เช่น ความตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) กรอบความร่วมมือเหล่านี้ ช่วยให้ภาครัฐมีแนวทางในการออกนโยบายและมาตรการที่สอดคล้องกัน รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประกาศจุดยืนที่จะบรรลุ Net Zero (ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ในปี 2065 และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050
ความยั่งยืนกับโอกาสของธุรกิจที่พร้อมจะครองใจผู้บริโภค
รักษ์โลกและความยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่เป็นเป้าหมายที่ภาคธุรกิจต้องรีบเตรียมตัวที่จะเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนหรือ ESG นอกจากจะเป็นการตอบสนองนโยบายภาครัฐแล้ว ยังเป็นการดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
Gen Z และ Millennials คือ กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับกระแสรักษ์โลกและความยั่งยืนที่สุด
กลุ่มคนในรุ่น Gen Z และ Millennials คือ คนที่เกิดในปี 1980 – 2012 โดยช่วงเวลาที่คนกลุ่มนี้เติบโต เป็นยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงขึ้น และมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก คนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งหรือลูกหลานที่คนกลุ่มนี้รักจะยังมีชีวิตอยู่ถึงปีที่นานาประเทศประกาศจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ต่าง ๆ หล่อหลอมให้คนในรุ่นนี้เป็นกลุ่มที่มีจิตสำนึกทางสังคมสูง จากผลสำรวจพบกว่า 81% ของ Millennials ในประเทศไทย เชื่อว่าธุรกิจมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ 73% ของ Gen Z ยินดีจ่ายเงินที่มากกว่าสำหรับสินค้าและธุรกิจที่สนับสนุนความยั่งยืน โดยคนกลุ่มนี้ยังเป็นประชากรที่มากที่สุดของโลกที่อยู่ในวัยทำงานและมีอำนาจในการตัดสินใจมีกำลังในการซื้อ
แนวทางในการพัฒนาสินค้าและธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืน ครองใจผู้บริโภค
1.วัสดุที่ยั่งยืน ผู้บริโภคใส่ใจกับที่มาของวัสดุที่ใช้ผลิตสินค้า เช่น วัสดุรีไซเคิล วัสดุชีวภาพ และวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าฝ้ายออร์แกนิก เส้นใยรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล พลาสติกรีไซเคิล เป็นต้น
2.การออกแบบที่ยั่งยืน คือ การออกแบบสินค้าที่ทนทาน สามารถใช้งานซ้ำได้ สามารถซ่อมแซมได้และ สามารถรีไซเคิลได้ โดยหลาย ๆ แบรนด์เริ่มให้ความสำคัญ เช่น เสื้อผ้าที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้หลากหลายโอกาส และยังมีแผนกซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วย บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือง่ายต่อการรีไซเคิล การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้ทรัพยากรน้อยลง แต่ยังคงความแข็งแรงและรักษาสภาพของสินค้าไว้ได้ เป็นต้น
3.กระบวนการผลิตและบริหารจัดการที่ยั่งยืน ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต ดังนั้น การผลิตที่มีประสิทธิภาพ หรือการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี จะช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ รวมไปถึงการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างมีจริยธรรมด้วย
ธุรกิจที่พร้อมสู่ความยั่งยืน มีแหล่งเงินทุนสนับสนุน
ผู้ประกอบการคงมองเห็นโอกาสที่จะเร่งพัฒนาไปสู่องค์กรที่ยั่งยืนที่พร้อมจะครองใจผู้บริโภค และภาคธุรกิจเองยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้โลกของเรายั่งยืนขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็มีแหล่งเงินทุนที่พร้อมจะสนับสนุน เช่น สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนทางทะเล หรือ สินเชื่อสีฟ้า (Blue Loan) และสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) ที่เข้าถึงได้ไม่ยาก เพียงธุรกิจมีโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นไปที่การดำเนินงานเพื่อบรรเทาและปรับตัวต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บริหารจัดการมลพิษและของเสีย และอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) เพื่อเพิ่มโอกาสและมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจและโลกใบนี้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก finbiz by ttb ตอน ธุรกิจรักษ์โลกอย่างไร ให้ได้แหล่งเงินทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม https://www.ttbbank.com/th/fin-biz/general-business/business-management/km-greenloan2
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บัตรเครดิตฉบับเข้าใจง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ พร้อมสิทธิพิเศษสุดคุ้ม
บัตรเครดิตคืออะไร มือใหม่ทำความเข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ การสมัครออนไลน์ สมัครง่ายไม่ต้องไปที่ธนาคาร เตรียมพร้อมรับสิทธิประโยชน์สุดคุ้มแบบไม่มีค่าธรรมเนียม
กลุ่มบริษัท พราว โชว์ศักยภาพโครงการ Project Pineapple by Proud Group สนับสนุนหลักการ ESG อย่างเป็นระบบครบวงจร ยกระดับธุรกิจสู่ความยั่งยืน
กลุ่มบริษัท พราว ผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภท Integrated Entertainment and Resort Destination ชั้นนำของประเทศไทย มุ่งดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG การดูแลสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงความยั่งยืน (Sustainability)
บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free และวีซ่า ร่วมฉลองความสำเร็จ “วิว กุลวุฒิ” ฮีโร่เหรียญเงินโอลิมปิก 2024 เปิดตัวแคมเปญ Dare to Change ส่งต่อแรงบันดาลใจ จัดแบดมินตันบูทแคมป์ให้แก่กลุ่มเยาวชน
บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free และวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ร่วมฉลองชัย “วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์” ฮีโร่เหรียญเงินแบดมินตันชายเดี่ยว โอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024
finbiz by ttb แนะ SME ที่มีแนวคิด ESG คว้าโอกาสทางธุรกิจ บนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน