ในโอกาสที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (101 Public Policy Think Tank, 101 PUB) จัดงานเสวนา “เปิดเส้นทางใหม่ นโยบายเด็กและครอบครัวไทยแห่งอนาคต” เมื่อเร็วๆนี้ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ทำให้รับรู้ว่าในมิติของเด็กและเยาวชนไทยนั้น มีปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไขอยู่ หากไม่ลงมือทำวันนี้ อนาคตของเด็กและเยาวชนไทยก็จะต้องเผชิญกับอุปสรรค และความท้าทายกับโลกใบใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. เปิดเผยว่า ปัญหาสำคัญของเด็กและเยาวชนไทยที่รอการแก้ไข 4 เรื่องนั้น เริ่มตั้งแต่ 1.เรื่องพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย 2.วัยรุ่นมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น แต่บุคลากรทางแพทย์และสถานบริการยังไม่เพียงพอ 3.ความขัดแย้งและไม่ลงรอยทางความคิดของคนต่างรุ่น และ 4.ความต้องการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทางสังคม ทั้งนี้จากผลงานวิจัยที่เป็นความร่วมมือของสถาบันการศึกษา ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“สสส.มีองค์กรพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์จับมือกันทำงาน เพื่อค้นหาคำตอบแบบเจาะเชิงลึกและเชิงระบบรากเหง้าของปัญหา หรือปัญหาโครงสร้าง ด้วยความมุ่งหวังทำให้เกิดศาสตร์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว kid for kids เพื่อสแกนสถานการณ์ นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในงาน ผลงานจะถูกนำไปใช้ในเวทีการเมือง ผลงานวิจัยทั้ง 4 เรื่องจะมีวิทยากรสนทนาแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน สังคมไทยมีความพร้อมที่จะบ่มเพาะเด็กที่อยู่บนแผ่นดินไทย ระบบสวัสดิการเด็กเล็ก สุขภาพจิตในเด็ก ความไม่ลงรอยทางความคิด คนต่างรุ่นต่างวัยมีปัญหาทางความคิดจริงหรือ? ศักยภาพและพลังของคนรุ่นใหม่ เพื่อเราจะได้คนมีคุณภาพเติมศักยภาพให้ครอบครัวและชุมชน เพื่อการเรียนรู้ไม่รู้จบ การประกันสิทธิรอบด้านแบบไร้รอยต่อ สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องกังวลในอนาคต เป็นงานเร่งด่วนที่ต้องเร่งทำวันนี้ มิฉะนั้นเราจะพลาดโอกาสกลายเป็นระเบิดเวลา งานนี้ต้องเร่งขับเคลื่อนสอดคล้องกับโลกในยุคผันผวน โลกรวน เราต้องหาพันธมิตรจากเด็กและเยาวชนไทย” น.ส.ณัฐยาชี้แจง
น.ส.ณัฐยาย้ำว่า จะต่อยอดงานด้วยการจัดวงพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงมหาดไทย ผลักดันข้อเสนอศูนย์ดูแลเด็กอ่อนให้เกิดขึ้นจริง เพราะแม่ที่เป็นข้าราชการดูแลบุตรหลังคลอดได้ 98 วัน ในขณะที่แม่ที่ทำงานภาคเอกชนดูแลบุตรได้เพียง 45 วัน การจัดสถานที่ให้นมบุตรที่อายุมากกว่า 45 วันเมื่อแม่มาทำงานและระหว่างการทำงาน ข้อที่น่าสังเกตเด็กเกิดน้อยลง แต่มีเด็กที่เกิดในสังคมรายได้น้อยระดับล่างสุดของประเทศมากถึง 40% มีความไม่พร้อมในทุกเรื่อง เป็นครัวเรือนกลุ่มหลักที่กำลังพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศ แสดงให้เห็นถึงช่องว่างในการพัฒนา เป็นเรื่องที่จะต้องจัดหาสวัสดิการให้เด็กกลุ่มนี้ หากเปรียบเทียบสังคมไทยเดิมเป็นพีระมิด แต่แนวโน้มปัจจุบันเป็นพีระมิดหัวกลับเสมือนตะปูง่อนแง่น เด็กเกิดน้อยและนับวันทุกปีจำนวนเด็กเกิดใหม่จะน้อยลงทุกที ในขณะที่คนตายมากกว่าเด็กเกิดใหม่ เมื่อสอบถามตัวเลขเด็กเกิดใหม่ในระบบฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข เมื่อแม่มาคลอดไม่ได้มีการเก็บข้อมูล ต้องตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนราษฎรเมื่อมีการแจ้งเกิด
สำหรับหัวข้องานวิจัยมีการตั้งข้อสังเกตว่า ความยากจนเพิ่มความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิต อีกทั้งปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดความยากจน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริบทที่มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง มีภาวะซึมเศร้าเป็น 1.17 เท่าของประชากรที่อยู่ในบริบทที่มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ต่ำ ยิ่งเป็นเพศหญิง รายได้ต่ำ การศึกษาต่ำ ว่างงาน เจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย อยู่ในบริบทสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำด้านเพศสถานะ การเข้าถึงทรัพยากร มีผลทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพจิตได้ สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของปัจจัยที่กำหนดสุขภาพด้านสังคม ระบบบริการสุขภาพและสุขภาพของประชากร
ผศ. ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป โดยปี 2567 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศแนวทางการดูแลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภายใต้แนวความคิด Nurturing Care Framework ซึ่งการดูแลเด็กต้องครอบคลุมถึงเรื่องสุขภาพ โภชนาการ สวัสดิการ การได้รับความเอาใจใส่ และโอกาสเข้าถึงเรียนรู้ ซึ่งไม่เพียงให้ความสำคัญเฉพาะกับตัวเด็ก แต่รวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ดูแลด้วย ผู้วิจัยมีข้อเสนอระบบสวัสดิการเด็กเล็กคือ
1.ให้รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันกำกับดูแลสถานดูแลเด็กปฐมวัยให้มีมาตรฐาน เพิ่มกำลังคนให้สามารถดูแลเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีเงื่อนไขแตกต่างกันได้ครอบคลุม 2.ให้มีสถานรองรับเด็กของภาครัฐที่เพียงพอ เช่น บ้านพักเด็ก สถานสงเคราะห์เด็กในและนอกเวลาราชการ การดูแลในชุมชน รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์แก่ครอบครัวที่ดูแลเด็กด้วยตัวเอง ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยให้เด็กไทยเติบโตขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต
ดร.สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า James Heckman นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันและผู้ได้รับรางวัลโนเบล แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ศึกษาพบว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัยมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเศรษฐกิจ ลดปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ลดต้นทุนในการจัดการแก้ไขปัญหาของภาครัฐในอนาคต ยิ่งประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากถึงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร ส่งผลให้คนในวัยทำงานลดน้อยลง คนที่อยู่ในวัยทำงานต้องแบกรับภาระในการพึ่งพิงประชากรในช่วงวัยอื่นๆ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในอีก 20 ปีข้างหน้าไม่มีความพร้อมดูแลตนเองแม้จะเกษียณอายุแล้ว ไม่มีความมั่นคงทางการเงินและคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำหรือไม่มีเงินเก็บ ส่งผลถึงความต้องการที่พึ่งพิง
ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) ระบุว่า สัดส่วนเด็กและวัยชราต่อประชากรในวัยแรงงาน 100 คน หรืออัตราการพึ่งพิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 ในปี 2563 เพิ่มเป็นร้อยละ 65.3 ในปี 2583 หมายความว่าเด็กที่กำลังเติบโตเป็นประชากรวัยแรงงานของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องแบกรับดูแลประชากรในวัยพึ่งพิงมากขึ้น โดยสัดส่วนของภาระที่มาจากผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นด้วย
รศ. ดร. นพ.บวรศม ลีระพันธ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงว่า การพัฒนาหลักประกันสุขภาพจิตถ้วนหน้าในบริบทประเทศไทยที่ทุกคนเข้าถึงได้ จำเป็นต้องใช้กระบวนการคิดเชิงระบบ เพื่อระบุจุดคานดีคานงัดในระบบที่มีศักยภาพ ส่งเสริมการออกแบบนโยบายที่มุ่งแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอต่อการปรับปรุงเรื่องบริการสุขภาพจิต ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4 ด้าน คือ 1.เพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินชดเชยช่องทางใหม่ๆ เช่น โทรเวช (telemedicine) เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตกลุ่มใหม่เข้าถึงได้เพิ่มขึ้น 2.ขยายการบริการสุขภาพจิต ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ใช่ทีมสุขภาพจิตเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคทางกาย รวมถึงผู้ป่วยระยะยาว 3.ออกแบบระบบ “ผู้สั่งการรักษาทางสังคม” ทำหน้าที่เชื่อมต่อคำวินิจฉัยและการดูแลรักษาของทีมสุขภาพจิตเพื่อส่งกลับไปที่ครอบครัว องค์กร ชุมชน หรือสังคมที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ เพื่อแก้ปัญหาถึงรากฐาน 4.ทำงานเชิงนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปรับแก้ปัจจัยด้านสังคม ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตเชิงบวก ลดจำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตรายใหม่ และแก้ไขปัญหาทั้งระบบได้อย่างยั่งยืน
รศ. ดร.ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัยใช้เครื่องมือ Civic Imagination มุ่งออกแบบและพัฒนากระบวนการนำจินตนาการของเยาวชนมาสู่การพัฒนานวัตกรรมทางสังคม ด้วยการเสริมเครื่องมือการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงออกแบบ และกระบวนการสร้างนวัตกรรมทางสังคม ให้แก่เยาวชนอายุ 15-18 ปี รวม 6 ทีม โดยมีพี่เลี้ยงและผู้เชี่ยวชาญร่วมบ่มเพาะอย่างใกล้ชิด พบว่าเยาวชนมีความยึดมั่นในคุณค่าพลเมืองเพิ่มขึ้น เกิดความตระหนักต่อหน้าที่พลเมือง และการมีความรู้ด้านพลเมือง กระบวนการที่ถูกพัฒนาขึ้น จึงสามารถนำไปบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถานศึกษา เช่น กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (หน้าที่พลเมือง) เพื่อเป็นทางเลือกในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง โดยอาศัยการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนแสดงความคิดแบบไม่ปิดกั้นจินตนาการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"
การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ
สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้
เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง