ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B รายแรกในประเทศไทย เดินทางจากทวีปแอฟริกา ตรวจพบอาการสงสัยโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B ที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้ขยายไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบทวีปแอฟริกา

สาเหตุที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง เนื่องจากโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B มีความรุนแรงและแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอย่างผู้สูงอายุ ซึ่งอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ก่อนจะมีผื่นที่เริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผื่นจะพัฒนาเป็นตุ่มหนองและแผลที่แห้งตกสะเก็ด

สำหรับไวรัสฝีดาษลิง แบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ โดยมี 2 สายพันธุ์หลัก คือ Clade 2 และ Clade 1B ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมีลักษณะการติดเชื้อที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลต่อการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค

ทำไมต้องเฝ้าระวังกับสายพันธุ์ ‘Clade 1B’

  • แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำหรือของเหลวจากตุ่มน้ำ
  • มักมีอาการรุนแรงกว่า เช่น ไข้สูง ผื่นจำนวนมาก และภาวะแทรกซ้อน
  • อัตราการเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ

เราจะป้องกันฝีดาษลิงได้อย่างไร ?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง แต่วัคซีนฝีดาษ (Smallpox) ที่เคยใช้ในอดีตสามารถป้องกันได้บางส่วน เนื่องจากไวรัสฝีดาษและฝีดาษลิงมีความคล้ายคลึงกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 สภากาชาดไทย ได้เปิดให้บริการวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ณ ตึกราชูทิศ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากนี้ยังมีมาตรการป้องกันโรคฝีดาษลิง ดังนี้

  1. รักษาความสะอาด โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  2. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่รู้จัก
  3. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู หรือเครื่องนอน
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีผื่น
  5. ไม่สัมผัสตุ่มหนองหรือบาดแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมถึงซากสัตว์ป่า
  6. บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกดี
  7. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ควรเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสังเกตอาการตนเอง ในกรณีที่ต้องเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงในแถบทวีปแอฟาริกา ขณะเดียวกันหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะโรคดังกล่าวติดต่อจากการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ หากตรวจพบโรคฝีดาษลิงตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงของโรค ที่มีโอกาสรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาด หากสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อหรือพบอาการที่เข้าข่าย เช่น มีไข้ ผื่น หรือตุ่มที่ไม่คุ้นเคย ควรเข้ารับการตรวจและพบแพทย์ทันที


บทความอ้างอิง: นพ.ศราวุฒิ มากล้น อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพิษณุเวช

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค

'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

'หมอธีระ' แนะเมืองท่องเที่ยวตะหนักเรื่องฝีดาษลิง!

'หมอธีระ' เผยฝีดาษลิงในไทยโผล่พรึ่บในจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่น หรือเมืองท่องเที่ยว แนะรัฐจับมือเอกชนต้องจับมือสร้างความร็ร่วมกันก่อนจะระบาดหนัก!

‘หมอธีระ’ เตือนรัฐบาลเร่งขันน็อต ’ฝีดาษลิง’ ดึงสถานประกอบการ-ประชาสังคมร่วมมือ

หากอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวเป็นหัวใจในการหาเงินเข้าประเทศ รัฐบาลควรเร่งขันน็อตเรื่องการควบคุมป้องกัน เพราะลำพังรัฐคงทำไม่ได้