“Movement คนรุ่นใหม่” #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 สสส. สานพลัง พอช. มุ่งกระจายโอกาสทั่วถึง ร่วมพลิกวิกฤต เป็นโอกาสพัฒนาบ้านเกิด

กรุงเทพมหานคร / เวลา 09.00 น. วันที่ 20 ส.ค. 2567 ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดเวทีปฐมนิเทศ โครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 ว่า สสส. ดำเนินงานผ่านแผนหลัก 15 แผน 1 ในแผนที่สำคัญคือ แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ ที่มีพันธกิจในการเปิดโอกาสเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ กระจายในพื้นที่ต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศกว่า 2,000 โครงการต่อปี ทำให้ทุกชีวิตได้เข้าถึงทุนการสร้างเสริมสุขภาวะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ ในการนี้ สสส. ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) พัฒนาโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” เพื่อยกระดับและเปิดโอกาส การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเปลี่ยนแปลง ทั้งคนรุ่นใหม่เอง ชุมชน และสังคม โดยมีภาคีเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทำหน้าที่เสริมพลังเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดเครือข่ายคนรุ่นใหม่ทั้งในระดับพื้นที่ จังหวัด และเครือข่ายระดับประเทศ เกิดเป็น Movement คนรุ่นใหม่  นำไปสู่การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

“#คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 มีคนรุ่นใหม่สมัครเข้าร่วมกว่า 200 คน ผ่าน 67 โครงการ ครอบคลุมทุกภูมิภาคในประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ 37 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 โครงการ ภาคใต้ 10 โครงการ และภาคกลาง 6 โครงการ ภายใต้การขับเคลื่อนงาน 5 ประเด็น 1.การส่งเสริมเศรษฐกิจและรายได้ 2.การศึกษาในกลุ่มเด็กและเยาวชน 3.สุขภาวะทางกายและใจ 4.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 5.การจัดการสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยการจัดเวทีปฐมนิเทศ ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความร่วมมือให้เกิดเครือข่ายคนรุ่นใหม่ ร่วมพัฒนาพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ภายใต้ความเชื่อมั่นในทักษะและพลังของคนรุ่นใหม่ เกิดเป็นต้นแบบของการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบัน พอช. กล่าวว่า #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 1 มีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมจาก 32 จังหวัด 72 โครงการ เกิดการเชื่อมโยงกลไกคนรุ่นใหม่และภาคีพัฒนาในระดับภาค ผ่านการจัดกิจกรรมย่อยในระดับพื้นที่ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีพัฒนาศักยภาพ ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เช่น โครงการที่ใช้ระบบเศรษฐกิจชุมชนเป็นฐาน ผ่านการรวมกลุ่มน้องๆ ในพื้นที่ ออกแบบพื้นที่ในลักษณะ “ตลาดสร้างสรรค์” ดึงคนทุกกลุ่มวัยมาทํางานกิจกรรมร่วมกัน ในโรงเรียนร้างหรือโรงเรียนที่ถูกยุบรวมมาเป็นพื้นที่ทำกิจกรรม ซึ่งโครงการดังกล่าวมีแนวคิดว่า หากเปลี่ยนอาคารที่รกร้างมาใช้ประโยชน์กับชุมชนได้ ก็เป็นสิ่งที่ดี เลยใช้โรงเรียนที่ร้างมาให้คนรุ่นใหม่มาร่วมบริหารจัดการในพื้นที่ เกิดเป็นตลาด“ตลาดกลางใจ๋บ้าน” เป็นศูนย์รวมของจิตใจของคนที่อยากทําอะไรร่วมกันมาทําร่วมกัน คนมีใจมาทําร่วมกิจกรรมร่วมกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ หรือโครงการที่นำความรู้ และความสามารถของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ในด้านการทำกราฟฟิก มาปรับใช้ในการพัฒนาพื้นถิ่นของตนเองส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว และการพัฒนาอาชีพต่างๆในชุมชนของตนเอง ตัวอย่างโครงการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์งานภายใต้ความท้าทายและบริบทที่แตกต่างกัน #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 มุ่งเป้าหมายให้คนรุ่นใหม่เป็นตัวตั้งในการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยการนำความร่วมมือของหน่วยงานทั้ง 2 หน่วยงานมาร่วมในการพัฒนา สร้างศักยภาพ และสนับสนุนงบประมาณสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้สามารถลงไปพัฒนาถิ่นของตนเอง และสอดคล้องกับระบบกลไกการทำงานของคนรุ่นใหม่ต่อไป

บรรยายพิเศษ “การสานพลังเครือข่ายภาคียุทธศาสตร์กับการสนับสนุนภาคีคนรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนา” นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส.

บัณฑิตคืนถิ่น เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก เนื่องจากทรัพยากรที่มีคุณภาพจะได้กลับสู่ชุมชน ถิ่นฐานบ้านเกิด เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง ปัญหาสำคัญของความไม่เข้มแข็งของชุมชนคือการขาดทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ดังนั้นเมื่อชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการสุขภาพของตนเอง และคนในชุมชนได้

ในปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนสั้นลง เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบ ประเด็นหลักที่คนทำให้คนเสียชีวิต คือ น้ำตาลในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การมีสุขภาพที่ดีจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ยกตัวอย่างผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในปัจจุบันมีเยาวชนทั้งชายและหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก และมีความถี่ในการสูบมากกว่าบุหรี่มวน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เป็นมะเร็งปอดได้เช่นกัน สารนิโคตินในบุหรี่กระตุ้นให้เซลล์ประสาทสร้างโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข มากเกินพอดี สิ่งนี้ทำให้คนรู้สึกมีความสุขตลอดเวลาจนไม่อยากทำอะไร ความคิดของคนมี 2 ระดับ ในระดับที่แสดงออก เรียว่า จิตสำนึก จะแสดงออกเพียง 10% ของความคิดทั้งหมด แต่ส่วนสำคัญอีก 90% นั้น เป็นจิตใต้สำนึก ดังนั้นควรเริ่มปลูกฝังและเปลี่ยนแปลงความคิดให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง  ควรต้องการสร้างจิตใต้สำนึกตั้งแต่เด็ก

ภารกิจการทำงานของสำนักสร้างสรรค์โอกาส ที่เป็นการผนึกกำลังกับภาคีเครือข่าย ยังมีการสนับสนุนแผนงานร่วมทุนกับ อบจ. กระจายอยู่ในทุกภาคทั่วประเทศ ดังนั้นสิ่งที่น้องทําเราต้องเชื่อมั่น และเราก็ต้องแชร์ แบ่งปันอุดมการณ์และประสบการณ์ให้กับน้องรุ่นใหม่ผมก็หวังว่าน้อง ๆจะเป็นพลังที่สําคัญในการทําสิ่งสําคัญให้เกิดขึ้นในบ้านเกิดของเราเองครับ ในการสนับสนุนการทำงานของเยาวชน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป

ล้อมวงเสวนา “บทบาท ความคาดหวัง และทิศทางการขับเคลื่อนงาน คนรุ่นใหม่กับการพัฒนาท้องถิ่น”

 นายวัทธิกร ธนกิจกร ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ปี 1 (ไนซ์) Project ที่หลบฝน ประเด็นเราคือประเด็นพื้นที่ปลอดภัยทางจิตวิทยา พื้นที่ปลอดภัยทางจิตวิทยาคืออะไร คือพื้นที่ที่กล้าเป็นตัวของตัวเองกล้าถามคำถามที่อยากรู้ เป็นพื้นที่ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่าเป็นตัวของตัวเองได้และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งอบอุ่นใจ อันนี้คือเป้าหมายหลักของ โครงการ “ที่หลบฝน” ของกลุ่มเรา

ผมเคยเป็นคุณครู อยู่ในระบบ แล้วที่เห็นก็คือทำไมสังคมมันต้องพยายามมากขึ้น ต้องพูดให้ดังขึ้นต้องแสดงออกมากขึ้นต้องแข็งแกร่งมากขึ้น แต่สุดท้าย โดยเฉพาะเด็กเด็กลูกศิษย์ เขารู้สึกเหงาขึ้น เขารู้สึกว่างเปล่าขึ้น เขาไม่รู้จักตัวเองมากขึ้น ก็เลยพยายามผลักดันเรื่องพื้นที่ปลอดภัยทางจิตวิทยา ปีแรกที่เราได้ทำคือเราเรานำแกนนำเยาวชนไปทำงานจริงจริงเรียนรู้จริงจริงอยู่กับชุมชนอยู่กับธรรมชาติอยู่กับผู้คนในชุมชนจริงจริง แล้วก็ได้ถอดบทเรียนออกมา โฟกัสไปที่ทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ เราจะเห็นว่าเด็กเด็กยุคนี้ มีโอกาสในการที่จะฝึกทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ค่อนข้างน้อยเราก็เลยมาบ่มเพาะเยาวชนแกนนำที่มีทักษะทางด้านสังคมแล้วมีอารมณ์ดีมีสุขภาพจิตดีในการทำงาน พาเขามาอบรม หลังจากนั้นก็นำไปฝากทำงานกับพี่ผู้ใหญ่ใจดีในพื้นที่เจ้าของธุรกิจที่จะมองเยาวชนเหล่านี้ เป็นเหมือนกับว่าเป็นลูกเป็นหลานที่เขาจะมาพามาสอนงานพามาดูโลกมาเรียนรู้ความจริงที่หลบฝนเป็นพื้นที่อิสระทำกิจกรรม พอช. ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญมาให้ทุนก้อนใหญ่ก้อนแรกมาเป็นพี่เลี้ยงพาไปรู้จักกับหลายหลายคนโดยเฉพาะ คนในพื้นที่

นายชาติชาย ธรรมโม ตัวแทนเครือข่ายพี่เลี้ยงคนรุ่นใหม่ (แคน)  สิ่งที่พบจากการเป็นพี่เลี้ยงคือ เด็กอยากทำ แต่ไม่มีพื้นที่แสดงออก ยังไม่มีเพื่อนที่มีความคิดเดียวกันมาร่วมทำงาน ยังขาดทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาพื้นที่  ไม่มีทักษะในการทำโครงการ ไม่รู้จะต้องเริ่มอย่างไร พี่เลี้ยงจึงเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วยเติมเต็มสิ่งที่น้อง ๆ ยังขาดอยู่

นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พอช. ทำงานร่วมกับชุมชนมาตลอดชีวิต การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป็นบทบาทหน้าที่ของ พอช.ในการหนุนเสริม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันในระยะหลังคือคนรุ่นใหม่หายไป ขาดการสืบทอดผู้นำแถวสองที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง เนื่องจากคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันออกไปทำงานนอกถิ่นฐานจำนวนมาก แต่จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด หน่วยงานต่างๆควรต้องช่วยกันร่วมสร้างพื้นที่ให้กับคนรุ่นใหม่อย่างจริงจัง เพื่อกลับไปเป็นแรงหนุนและเป็นพลังให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน การเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง พอช. และ สสส. ในปีนี้ เป็นการขยายผลการทำงานในปีที่ผ่านมา สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานระหว่างเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ ในอนาคตอยากให้เกิดการเชื่อมโยงกับหน่วยงานในพื้นที่ให้เปลี่ยนระบบต่างๆในเชิงนโยบาย ให้หน่วยงานเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญในการขับเคลื่อน

นางสาวณัฐชยา บุญมณีประเสริฐ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ปี 2 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของเด็กในชุมชนห้วยยอด จ.ตรัง เข้าในโครงการ “คนรุ่นใหม่คืนถิ่น” มาเพราะอยากเรียนรู้ และอยากรู้จักเพื่อนๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้ามาร่วม คือการได้รับการพัฒนาจากพี่ๆ ให้ลืมสิ่งที่เขียนในโครงการเดิมก่อน แล้วเอาผลลัพธ์สุดท้ายที่อยากเห็นเป็นตัวตั้ง แล้วค่อยๆคิดว่าจะทำอะไรเพื่อให้เกิดเป้าหมายนั้น ซึ่งเป็นหลักคิดที่ดีมากๆที่ได้เรียนรู้ และคิดว่าเรามาถูกทางในการกลับไปพัฒนาพื้นที่ได้จริงๆ

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส. ในปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ในเชิงลบเยอะมาก ตีกัน ฆ่ากัน ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ในวันนี้ทำให้คนรุ่นเก่ามีความหวังเพื่อให้เกิดแนวคิดดีๆเหล่านี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ โจทย์สำคัญในเรื่องนี้คือการจะทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพมากขึ้น หากส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถทักษะ และทำความฝันความชอบให้สามารถดำรงชีวิตได้ เป็นเรื่องที่ควรส่งเสริม คนรุ่นเก่ามีประสบการณ์ที่สามารถบอกเล่าได้ หากคนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์นั้นๆได้ในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้พวกเราทุกคนเป็นความหวังในการสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งได้จากพลังของเรา

โครงการ “คนรุ่นใหม่คืนถิ่น” ที่ สสส.กับ พอช. ร่วมกันทำ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในสิ่งที่เป็นความฝัน ความเชื่อให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายอยากจะกลับไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง เวทีปฐมนิเทศ โครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” #คนรุ่นใหม่คืนถิ่น 2 ที่คนรุ่นใหม่เข้าร่วมกว่า 200 คนในวันนี้ ทุกคนพร้อมพร้อมจะเป็นเครือข่ายคนรุ่นใหม่ ที่จะมาเข้ามาซัพพอร์ตเติมเต็มไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่ ให้ได้มีโอกาสในการฝึกฝนแล้วก็เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เรื่องราวในวันนี้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน มันจะทําให้เราเติบโต และสามารถที่จะไปเชื่อมโยงกับคนในพื้นที่ ทําให้ฐานรากเข้มแข็ง แล้วก็พัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของสังคมได้ เรื่องเล็กๆ ที่พวกเรากําลังทํา มันเป็นสิ่งเล็กๆที่เป็นพลังบวก ทําให้สังคมมองเห็นว่าจริงจริงแล้วคนรุ่นใหม่ ที่เค้าผนึกกําลังกันแล้วก็คิดว่ามีความตั้งใจมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เต็มพื้นที่ มีโอกาสที่จะขยายจากสองร้อยเป็นสี่ร้อยหรืออาจจะเต็มพื้นที่ในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้” พลิกใจให้เลิกยา...คืนสู่สังคม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่รับฟังสรุปการดำเนินงาน “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม”

ร้อยดวงใจ จิตอาสา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น “ปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ร. 10” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา

นครพนม/ วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

รวมพลังเครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคเหนือ จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชน “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ แก้วิกฤตประชากรไทย” หนุนสวัสดิการแนวใหม่ชุมชนผสานพลังภาคี

เชียงราย/เครือข่ายสวัสดิการชุมชนภาคเหนือ ร่วม กระทรวง พม. พอช. จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ

เนื่องในวันแม่แห่งชาติ มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ สานพลัง สสส. เดินหน้ารณรงค์ หนุนให้ “นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ”

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

เปิดหลังบ้าน สสส. ผ่านเว็บไซต์ “Creative Health Campaign” คอมมูนิตี้แชร์แนวทางสร้างแคมเปญรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพตลอด 22 ปี

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ่มเพาะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ปี 2564-2565 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพราะต้องเผชิญกับวิกฤติ 3 ด้าน สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาสังคมกับการเมือง