กรมลดโลกร้อน หนุน 8 แนวทางเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายฯ เน้น “รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”

กรมลดโลกร้อน ทำงานเชิงรุกเสริมแกร่งเครือข่ายภาคประชาชน และภาคีความร่วมมือ จัดประชุมใหญ่เสริมความเข้มแข็ง เน้น“รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน” ชี้ปัญหาโลกร้อนมีความรุนแรงมากขึ้น ชู 8 แนวทางสนับสนุนการดำเนินงานแก้วิกฤตภูมิอากาศ  

วันนี้ ( 21 ส.ค. 2567 ) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดพิธีเปิดการประชุมมหกรรมเครือข่ายภาคประชาชน และภาคีความร่วมมือ “รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน” โดยได้รับเกียรติจากดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 400 คน ประกอบด้วย องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฯ เครือข่าย ทสม. เครือข่ายชาติพันธุ์ เครือข่ายเกษตร เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายเพื่อนตะวันออก เครือข่ายเยาวชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ร่วมกันระดมสมองจัดการปัญหาโลกร้อน ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลกระทบกับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพและทุกระบบนิเวศ ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเครือข่ายที่มาในวันนี้เป็นภาคีสำคัญที่ร่วมขับเคลื่อนการทำงานที่มีความสอดคล้องกับแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ความท้าทายที่จะต้องยกระดับการจัดการให้ทันต่อสถานการณ์ใหม่ มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมและความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงขยายผลการทำงานในมิติใหม่ ให้พื้นที่อื่นได้ร่วมเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติได้ ดังนั้น เพื่อให้เครือข่ายภาคประชาชนและภาคีความร่วมมือ สามารถดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมลดโลกร้อน ได้กำหนดแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงาน 8 แนวทาง ได้แก่ 1. สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายภาคประชาชนในการขับเคลื่อนแนวทางการจัดการโลกร้อนในเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของแต่ละพื้นที่ 2. พัฒนาศักยภาพ บทบาทและเสริมองค์ความรู้เครือข่ายภาคประชาชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับประเด็นการปรับตัวและสามารถดำเนินงานได้ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ 4. สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนทั้งเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมและกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ

ดร.พิรุณ กล่าวต่อว่า แนวทางที่ 5. จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายให้มีความเชื่อมโยงกันกับเครือข่ายของหน่วยงานอื่นและองค์กรที่ร่วมทำงาน 6. สนับสนุนปฏิบัติการในเชิงพื้นที่ในประเด็นที่จะนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมความเข็มแข็งในการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชน และสามารถขยายผลสู่การเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายทางสังคม 7. สนับสนุนเครื่องมือ งานวิชาการ งานวิจัย และกลไกเจ้าหน้าที่ประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายประจำจังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 47 คนใน 47 จังหวัด และจะขยายให้ครบทุกจังหวัดในอนาคต และ 8. พัฒนาการสื่อสาร สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโลกร้อน พร้อมทั้งสร้างคุณค่าการทำงานผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่ประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากที่สุด”

“ปัญหาโลกร้อนมีความรุนแรงมากขึ้นและเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นำไปสู่การเสริมพลังการทำงานซึ่งกันและกัน ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโดยนำต้นทุนที่มีอยู่ มาต่อยอด พัฒนาเพื่อแก้ “วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ดร.พิรุณ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมืองรับมือโลกเดือดไหวหรือไม่ เช็กความพร้อมชุมชน

งานวิจัยชี้ชัดประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงลำดับต้นๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อนที่ผ่านมาหลายภาคของไทยเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนแทบอยู่ไม่ไหว หลายพื้นทื่เจอกับภาวะร้อนและแล้งยาวมาแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เจอฝนถล่มหนักระยะสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม

ส่อง'กฎหมายโลกร้อน' ควบคุม-เบิกทางปล่อยก๊าซ?

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบทั่วโลก ไทยเจออากาศร้อนต่อเนื่องยาวนาน  น้ำทะเลอุ่นจนปะการังฟอกขาวทั้งอ่าวไทยและอันดามัน  สภาพอากาศร้อนและแล้ง ฤดูฝนล่าช้า ส่งผลพืชผักเสียหาย กระทบภาคเกษตร  ปัญหาเหล่านี้ย้ำเตือนถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้น  

คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ตอกย้ำ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น มีเนื้อหาดังนี้