น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ได้สานพลังภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างการมีวิถีชีวิตสุขภาวะที่ดีตั้งแต่วัยแรกเกิดไปถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้เด็กได้รับอาหารมื้อแรกของชีวิตที่มีคุณค่าทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกัน โดยแนะนำให้นมแม่ล้วนกับเด็กทารกแรกเกิดต่อเนื่องไปจนถึง 6 เดือน และสามารถให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยไปจนถึงอายุ 2 ปี พร้อมทั้งการเลี้ยงดูให้มีพัฒนาการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง เจริญเติบโตสมวัยได้เต็มตามศักยภาพ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพคุณแม่ รวมทั้งช่วยสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างแม่และลูก จากรายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในไทย ปี 2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนแรกยังคงได้เพียง 28.6% ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 50% ขึ้นไป
“เนื่องในวันแม่แห่งชาติ สสส. และภาคีเครือข่าย จึงได้ร่วมกันสื่อสารเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้องสู่สาธารณะ โดยเน้นสื่อสารเรื่องคุณประโยชน์ของนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสมองและร่างกาย เด็กที่ได้กินนมแม่ยังได้รับภูมิคุ้มกัน ลดการเจ็บป่วย ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง จึงขอเชิญชวนให้คุณแม่มาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำให้คุณแม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์เพื่อให้มีสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพดีในวิถีชีวิตพร้อมลูกในครรภ์ไปด้วยกัน” น.ส.นิรมล กล่าว
พญ.ศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า มูลนิธิร่วมรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สนับสนุนการกินนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ ช่วยสร้างคุณภาพเด็กไทย สอดคล้องคำขวัญสัปดาห์นมแม่โลกในปี 2567 โดยองค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (World Alliance for Breastfeeding Actions : WABA) ว่า “Closing the Gap : Breastfeeding Support for All” หรือ “ปิดช่องว่าง สร้างสังคมนมแม่ถ้วนหน้า” ที่มุ่งให้ประชาคมโลกช่วยกันปิดช่องว่าง สนับสนุนให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่พ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านหรือไกลบ้าน วันลาคลอดที่ไม่เพียงพอ ระบบการช่วยเหลือแม่ให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน ถือเป็นช่องว่างที่ทำให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
“อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เป็นตัวชี้วัดด้านโภชนาการระดับโลกที่สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งทารกจะได้รับอาหารและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมที่สุดในระยะวัยบอบบางที่สมองเติบโตรวดเร็ว เป็นการสร้างรากฐานสุขภาวะและคุณภาพชีวิต จึงควรเร่งรณรงค์ส่งต่อองค์ความรู้ที่ถูกต้อง สนับสนุนเด็กไทยได้รับนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ไม่ต้องเสริมน้ำ ช่วยลูกได้ดูดนมแม่อย่างถูกวิธี และแม่มีน้ำนมให้ลูกได้ก่อนกลับบ้าน พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอปรึกษาเรื่องนมแม่ได้ง่าย ที่ทำงานมีมุมนมแม่และหรือเดย์แคร์นมแม่” พญ.ศิริพร กล่าว
ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ประธานสื่อสารมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดเดือน ส.ค. นี้ ได้พัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องในรูปแบบ Mini talk โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และแม่อาสา มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ Live ผ่าน Tiktok การแพทย์แปดนาที ทุกวันจันทร์และวันพุธ ในเวลา 19.30 น. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น หมอชวน-นมแม่ล้วน 6 เดือนแรกไม่ต้องเสริมน้ำ น้ำนมไม่ไหล 2 วันแรกหลังคลอดไปต่อไม่ได้ นมแม่ล้วน 6 เดือนต้องตื่นบ่อย มุ่งสร้างสังคมนมแม่ถ้วนหน้า และสามารถรับชมสื่อความรู้ย้อนหลังและค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต