จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท มาประยุกต์รวมกันสร้างสรรค์ผลงานที่มีความแตกต่าง และมีความเป็นเอกลักษณ์จนกลายเป็นงาน “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” ที่มีความสวยงาม โดดเด่น สร้างสรรค์เข้ากับยุคสมัย
ครูวิรัช ทะไกรเนตร เป็นอีกหนึ่งท่านที่ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ให้เป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2567” ประเภทเครื่องดิน ผู้ส่งต่อคุณค่ามรดกทางภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมเครื่องเบญจรงค์ โดยผสมผสานการสร้างสรรค์ลวดลายในเทคนิคของงานจิตรกรรม เกิดเป็นผลงานเบญจรงค์ที่มีความงดงาม ด้วยโทนสี Blue & White อันเป็นอกลักษณ์ ที่นอกจากจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับงานเบญจรงค์ดูมีความแตกต่าง ร่วมสมัย ยังเป็นครูที่ส่งต่อคุณค่างานหัตถกรรมไทยให้คงอยู่ โดยสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่ง ตลอดจนของขวัญ ของใช้ที่สะท้อนรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ
ครูวิรัช เผยว่า เพราะต้องการส่งต่อองค์ความรู้งานเบญจรงค์ให้สามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง และสะท้อนคุณค่าในกรรมวิธีของเครื่องเบญจรงค์ให้คงอยู่ จึงได้พัฒนา ค้นหาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานให้มีความเป็นอัตลักษณ์ให้มากที่สุด และสร้างสรรค์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น จึงได้มีการนำเอาเทคนิคและวิธีการการทำงานศิลปะมาประยุกต์กับการทำเครื่องเบญจรงค์ เพื่อให้เกิดความสวยงาม ความสมดุล มีการเล่นแสงและเงาด้วยทฤษฎีสี ซึ่งที่โดดเด่น และสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์เป็นที่สนใจของกลุ่มลูกค้า คือการสร้างสรรค์ในโทนสี Blue & White ส่วนลวดลายที่วาดในผลงาน จะมีการวาดโดยอาศัยเทคนิคในงานจิตรกรรมมาแต่งแต้มลวดลายลงบนเบญจรงค์ และลวดลายที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่มาจากความเชื่อที่เป็นสิริมงคลทั้งสิ้น อาทิ ลายหงส์คู่บารมี มาจากสัตว์เทพเจ้าในตำนานของชาวจีน สะท้อนบารมี ความก้าวหน้า และความสง่างาม , ลายเสือ สะท้อนความเชื่อด้านบารมี ความยิ่งใหญ่ , ลายปลา สะท้อนความมั่งคั่ง ร่ำรวย เป็นต้น ซึ่งมองว่าการนำองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรมมาปรับประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จะช่วยรักษาภูมิปัญญาในงานศิลปหัตถกรรมให้คงอยู่ อีกทั้งยังผลักดันการสร้างมูลค่าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในงานศิลปหัตถกรรมไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล
รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” จัดแสดง 50 ผลงาน ล้ำค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ
สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567
สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
ครูผู้สืบสานงานหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อน และส่งต่อเป็นมรดกทางภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย
งานเครื่องลงยาสี เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ช่างฝีมือสร้างสรรค์ไว้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย