งานเครื่องลงยาสี เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ช่างฝีมือสร้างสรรค์ไว้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย เป็นงานฝีมือที่พัฒนามาพร้อมกับการทำเครื่องทอง เครื่องเงินในสมัยโบราณที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี โดดเด่นด้วยความวิจิตรบรรจงของเส้นสายลายไทย แต่งแต้มด้วยยาสีหลากสีสัน ผสมผสานกับจินตนาการของช่างฝีมือนับเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า สร้างความงดงาม มีชีวิตชีวาบนเครื่องใช้ เครื่องประดับหลากหลายชนิด
ครูเอกฉันท์ จันอุไรรัตน์ เป็นอีกหนึ่งท่านที่ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2567 ประเภทงานโลหะ เครื่องลงยาสีร้อนแบบโบราณ เป็นหนึ่งในช่างฝีมือของไทยที่ร่วมส่งต่อองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรมอันวิจิตร งดงาม มีความประณีต และทรงคุณค่าของไทย มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
ครูเอกฉันท์ เผยว่า ด้วยใจรักในงานศิลปหัตถกรรม และมีความผูกพันที่มุ่งมั่นจะสานต่อมรดกทางภูมิปัญญาจากคุณแม่ ครูบุญมี จันอุไรรัตน์ ซึ่งเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2561 จึงได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ชิ้นงานให้เป็นที่รู้จัก และไม่สูญหายไปตามกาลเวลา โดยได้สานต่อการทำวิสาหกิจชุมชนเครื่องลงยาสีโบราณ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งบ่มเพาะเทคนิควิธีการทำเครื่องลงยาสีให้เกิดเป็นงานหัตถกรรมที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนทำหัตถกรรม โดยกรรมวิธีการทำการลงยาสีร้อนแบบโบราณต่างจากการลงยาสีแบบอื่น ๆ เนื่องจากการลงยาสีร้อน ต้องนำยาสีหินที่นำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาเผาลงในชิ้นงานที่เขียนลายหรือแกะลายไว้ เมื่อหินละลายฝังเข้าไปในโลหะหลังจากเย็นตัวก็จะติดอยู่ในเนื้อชิ้นงานเรียกว่าการลงยาสีร้อน ซึ่งต่างจากการลงยาสีในปัจจุบันที่ใช้สีกระป๋อง หรือสีเรซิ่นมาทาลงบนชิ้นงานเมื่อแห้งก็จะติดลงบนชิ้นโลหะ โดยการลงยาสีร้อนจะมีความคงทนกว่าและสีจะไม่เพี้ยน
โดนปกติ การลงยาสีร้อนจะทำบนวัสดุผิวเรียบ แต่ชิ้นงานที่ทำไม่ได้ทำเฉพาะเครื่องประดับที่เป็นลายเรียบ ๆ ยังมีงานที่เป็นกล่องและวัสดุต่าง ๆ ซึ่งทำให้การลงยาสีต้องใช้ความอดทน มีสมาธิ ควบคุมไม่ให้สีไหลเลอะไปทั่วชิ้นงาน หรือสีไม่สม่ำเสมอ ขั้นตอนที่ยากไปกว่านั้น คือ การนำหินยาสี 9 สี มาลงในชิ้นงานชิ้นเดียว เรียกว่า “การลงยาแบบนพเก้า” เนื่องจากหินแต่ละสีมีจุดหลอมเหลวแตกต่างกันบางสีละลายเร็ว บางสีละลายช้า ถ้าเผาโดยไม่มีประสบการณ์ หินบางสีก็จะไหม้ขณะที่บางสียังไม่ละลาย เทคนิคคือการค่อย ๆ ไล่ความร้อนจากสีที่ความร้อนสูงไปถึงสีที่ความร้อนต่ำจึงจะได้สีที่มีความหลากหลาย และออกมาอย่างประณีต งดงาม
ปัจจุบัน ได้ปรับประยุกต์งานหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อนออกมาหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ เครื่องประดับ ตลอดจนของตกแต่ง เพราะมุ่งหวังอยากให้งานหัตถกรรมด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ สามารถเข้าไปอยู่ในชิ้นงานที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้งานศิลปหัตถกรรมที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล
รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” จัดแสดง 50 ผลงาน ล้ำค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ
สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567
สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า
จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท