สศท.ชวนผู้สนใจงานหัตศิลป์ อัปสกิลฝีมือเชิงช่าง ที่ SACIT e-Learning

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. นำองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรม มาพัฒนาในรูปแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ หรือระบบการเรียนรู้แบบ e-Learningเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในงานหัตถศิลป์ ส่งต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เหมาะสำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจในงานศิลปหัตถกรรม ยกระดับ สศท. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านหัตถศิลป์ไทย

นางพรรณพิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เปิดเผยว่า หนึ่งในภารกิจหลักของ สศท. คือการรวบรวม และถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งปัจจุบัน สศท. ได้มีการจัดเก็บองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรม และนำไปเผยแพร่สร้างการรับรู้ในงานศิลปหัตถกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมุ่งหวังยกระดับให้ สศท. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยแบบครบวงจรทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมอย่างเข้าถึง เข้าใจ จึงได้มีการจัดทำสื่อการเรียนรู้ หรือระบบการเรียนรู้แบบ e-Learning โดยได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยแฟชั่นแห่งประเทศไทย นักออกแบบ ตลอดจนผู้ประกอบการ เพื่อสร้างสรรค์หลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะกับนิสิต นักศึกษา ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมไทยได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบไปด้วย 1.หลักสูตรงานหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้านไทย (Traditional Thai Textile) นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งทอพื้นบ้านไทย พร้อมสาธิตกระบวนการทอผ้าพื้นบ้าน ได้แก่ การทอด้วยเทคนิคขิด จก ยกดอก มัดย้อม และเกาะล้วง 2.หลักสูตรสีธรรมชาติในงานเครื่องทอไทย (Natural Dye in Thai Textile) นำเสนอองค์ความรู้การกำหนดเทรนด์สีโลก กระบวนการย้อมสีธรรมชาติจากพืชพรรณธรรมชาติใกล้ตัว และเจาะลึกกระบวนการย้อมครามตั้งแต่ต้นจนจบ 3.หลักสูตรภูมิปัญญางานจักสานกลุ่มวัสดุไผ่ (Basketry: Bamboo) นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับไผ่แต่ละประเภท การเตรียมไม้ไผ่ การออกแบบ และการต่อยอดสู่ระดับนานาชาติ 4.หลักสูตรภูมิปัญญางานจักสานกลุ่มวัสดุผักตบชวา (Water Hyacinth) นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผักตบชวาในมิติต่าง ๆ ทั้งบรรจุภัณฑ์ งานจักสานภายในประเทศ และการต่อยอดสู่ตลาดต่างประเทศ พร้อมถ่ายทอดกระบวนการจักสานผักตบชวาเพื่อการเรียนรู้วิธีการและลวดลายเบื้องต้น 5.หลักสูตรถอดรหัสการตลาดงานศิลปหัตถกรรมแบบญี่ปุ่น (Handicraft Marketing The Key to Japan’s Success) นำเสนอกลไลการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรม และการกำหนดมาตรฐานงานศิลปหัตถกรรมของญี่ปุ่น กระบวนการคิด วิธีการทำงาน และการออกแบบงานศิลปหัตถกรรมของญี่ปุ่น ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://academy.sacit.or.th/ หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1289

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า

จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท

ครูผู้สืบสานงานหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อน และส่งต่อเป็นมรดกทางภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย

งานเครื่องลงยาสี เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ช่างฝีมือสร้างสรรค์ไว้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย

สศท. นำเทรนด์แฟชั่นต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย จากฝีมือผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. นำเทรนด์แฟชั่น เทคนิค มาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระเป๋าสม็อคฝีมือการสร้างสรรค์จากกลุ่มผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

สศท. เชิดชูครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทฯ ด้านงานหัตถศิลป์ไทยประจำปี 2567 หวังสืบสานส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของไทย

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เฟ้นหาผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมจากทั่วประเทศไทย เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน