เอ็นไอเอเผยความสำเร็จ “SITE 2024” มหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ภายใต้งาน อว.แฟร์ มียอดผู้เข้าชมกว่า 600,000 คน เงินสะพัดกว่า 500 ล้านบาท

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดกิจกรรมแถลงความสำเร็จการจัดงานมหกรรมนวัตกรรม และเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024; SITE 2024) ภายใต้แนวคิด “Innovation for Growth and Sustainability" เพื่อเร่งสร้างความยั่งยืน ให้ธุรกิจนวัตกรรมและสตาร์ทอัพไทยในทุกมิติ ซึ่งในปีนี้ได้ยนทัพสตาร์ทอัพและนวัตกรไปร่วมจัดอยู่ภายในงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์

ตร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า “การจัดมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือ SITE 2024 ในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้มาจัดร่วมอยู่ภายในงาน อว. แฟร์ ซึ่งมีหน่วยงานภายใต้การกำกับของกระทรวง อว. ร่วมจัด แสดงศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ อนาคต ทำให้รวมงานในปีนี้มีความคึกคัก และมีสีสันเพิ่มมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 600,000 คน และ ก่อให้เกิดรายได้กว่า 500 ล้านบาท"

สำหรับในส่วนของ SITE 2024 ปีนี้ N/A แบ่งเป็น 5 กิจกรรมไฮไลท์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็น อย่างมาก ทั้งส่วนของ Forum ที่มีกิจกรรมเสวนาและเวิร์คช็อปจากวิทยากรชั้นนำทั้งในประเทศและ ต่างประเทศที่ตอบโจทย์การสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม และแฮกกาธอนระดับนานาชาติร่วมกับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และพันธมิตร ในประเด็น Saving the world with Al รวม ทั้งสิ้น 22 กิจกรรม Business Matching ที่สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการได้เข้าร่วมพูดคุยธุรกิจกับนักลงทุน และบริษัทขนาดใหญ่ จำนวน 34 คู่ โดยมี VC/CVC/ Corporate ชั้นนำ เข้าร่วม จำนวน 7 องค์กร ได้แก่ Beacon Venture Capital, Bangchak Initiative and Innovation Center, Y&Archer, True Incube, InnoSpace (Thailand), AIS the Startup และ ALLY Global Management Marketplace ตลาดสินค้า นวัตกรรมจากสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมกว่า 300 บริษัท

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Startup Thailand League 2024 รอบชิงแชมป์ประเทศไทย 14 ทีม ซึ่งทีม ชนะเลิศ ได้แก่ "ทีม MedStream Innovations” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากผลงานผลิตและออกแบบอุปกรณ์อวัยวะบนชิป (Organ-on-chip) ตามความต้องการของ นักวิจัยเชิงการแพทย์และเภสัชศาสตร์ ทีมรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ “ทีม Scamtify" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากผลงานแพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบมิจฉาชีพออนไลน์ได้ง่าย ๆ ในคลิกเดียว และทีมรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ “ทีม DigiPeak" มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จากผลงานระบบอากาศ ยานไร้คนขับอัตโนมัติสำหรับเกษตรกรรมแม่นยำสูง

รวมถึงการจัดพิธีมอบรางวัล Prime Minister Award 2024 เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้แก่ผู้ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพของประเทศ ทั้งหมด 12 รางวัล แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ National Start up 2024 โดยมีผู้ได้รับรางวัลดังนี้ Startup of the Year ได้แก่ SkillLane Global Tech Startup of the Year ใต้แri Buzzebee Evangelist of the Year ได้แก่ คุณศรัณย์ สุตันติวรคุณ investor of the Year ให้แก่ CU Enterprise Best Brotherhood of the Year ได้แก่ AIS The Startup, Katalyst KBank, LIVE Platform us Best of Contributor in Human Capital Development ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Innovation For Sustainability โดยมีผู้ใด้รับรางวัลดังนี้ ธนาคารไทย พาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารยูโอบี และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด และNIA ยังได้ผนึกกำลังลงนาม สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับ 13 หน่วยงานจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (ทีเส็บ) บริษัทลีฟ อะ เนส สิงคโปร์ บริษัท เหตุซอส มีเดีย จำกัด อิมแพ็ค เมืองทองธานี องค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เทศมณฑลมอนด์โกเมอรี รัฐแมรีแลนด์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจีน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ ไทย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมไทยให้เข้มแข็งในหลากหลายมิติ รวมถึงการสร้างโอกาสการ ขยายตลาดของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่ระดับสากลต่อไป”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล