สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เฟ้นหาผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมจากทั่วประเทศไทย เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2567 จำนวนรวม 31 ราย หวังสืบสานส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาในงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่าให้เป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาของไทย
นางพรรณพิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เปิดเผยว่า สศท. เป็นองค์กรหลักที่ขับเคลื่อนสร้างความยั่งยืนให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย ด้วยกระบวนการ “สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม และส่งต่องานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติ” พร้อมผลักดันให้งานศิลปหัตถกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล หนึ่งในนั้นคือการให้ความสำคัญในการอนุรักษ์คุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่างที่อยู่ในตัวบุคคล ที่ถือได้ว่าเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดเหล่านี้ ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา นับว่าเป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้เกิดการส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และให้คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ สืบสานต่อ ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดมรดกทางภูมิปัญญาดั้งเดิม ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ เกิดเป็นงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยที่สามารถเชื่อมโยงสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมคัดสรรและเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทรงคุณค่า ประกอบด้วย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งในปี 2567 ได้ลงพื้นที่เฟ้นหาเพชรเม็ดงามจากทั่วประเทศ จนได้ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม จำนวน 31 ราย จากหลากหลายผลงานหัตถกรรม ได้แก่
"ครูศิลป์ของแผ่นดิน" จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ 1. นายวิษณุ ผดุงศิลป์ งานหัวโขน 2. นายวิรัช ทะไกรเนตร งานจิตรกรรมเบญจรงค์ 3. นายธนเดช บุญนุ่มผ่อง งานเรือฉลอมจำลอง 4. นางสุมิตรา ทองเภ้า งานผ้ายกร้อยเอ็ด
"ครูช่างศิลปหัตถกรรม" จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. นางจันทร์ศรี คำธิยะ งานผ้าทอมือปกาเกอะญอ
ย้อมสีธรรมชาติ 2. ว่าที่ ร.ต.หญิง ณัฐชกรณ์ บุตรทรัพย์ งานบ้านเรือนไทย เรือนแพจำลอง 3. นายนพดล สดวกดี งานจักสานไม้ไผ่ 4. นายปรีชา การุณ จักสานหมอลำหุ่นกระติบ 5. นายพยงค์ ทรัพย์มีชัย งานตีเคียวและมีด 6. นายมะรอพี แดเนาะ งานจักสานย่านลิเภา 7. นายรุ่งเรือง พิศโสระ งานเครื่องประดับทองเหลือง 8. นายวีระ แจ่มใส งานว่าวไทย 9. นายสง่า อนุศิลป์ งานสลักดุน 10. จ่าเอกสุวรรณ ศาสนนันทน์ งานเครื่องดนตรีไทย (ปี่) 11. นายเอกฉันท์ จันอุไรรัตน์ งานเครื่องลงยาสีร้อน (แบบโบราณ)
“ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” จำนวน 16 ราย ได้แก่ 1. นายบรรเทิง วังนาค งานแหวนถักหวายลาย 9 รอบ 2. นางสาวปวีณา สะแหล๊ะ งานเครื่องถม 3. นายพงศธร เจียรศิริ งานเครื่องถม 4. นางสาวพัชราภรณ์ สังกะเพศ งานเครื่องประดับโบราณ 5. นางพีรยา เรืองกิจ งานจักสานใบลาน (สานปลาตะเพียน) 6. นายยงยศ ชูชีพ งานลอมพอก 7. นายรพีพัสตร ทิพย์จักร์ งานเครื่องเงินและเครื่องทอง 8. นายรัตนชัย เพ็งสา งานเครื่องปั้นดินเผา 9. นางสาววรรณภา จันทะวงษ์ งานผ้าไหมมัดหมี่ 10. นายศุภชัย แพงคำไหล งานผ้าไหมมัดหมี่ 11. นายสมรักษ์ นาทา งานเครื่องทองโบราณ 12. นายสวรินทร์ วชิรนานนท์ งานศิราภรณ์และหัวโขน 13. ว่าที่ร้อยตรี สาคร รัตนภานันท์ งานเปียกทอง 14. นางสาวสุนิสา จงเจริญ งานเครื่องประดับเงินและทองสุโขทัย 15. นางอรัญวา ชาวพนาไพร งานกระเป๋าถักเถาวัลย์ป่า (ญอก) 16.นางสาวอัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน งานลายรดน้ำ
ทั้งนี้ สศท. จะรวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่าและเอกลักษณ์ในทักษะเชิงช่างของผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมที่ได้รับการยกย่องเชิดชู เผยแพร่ผ่านทาง www.sacit.or.th เพื่อส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาในงานหัตถศิลป์ไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล
รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” จัดแสดง 50 ผลงาน ล้ำค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ
สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567
สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า
จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท