Wellbeing Getting Starte “เราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง”

"โรค NCDs คร่าชีวิตคนไทยกว่า 1,000 คน/วัน ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ในแต่ละปีคนไทยต้องเสียชีวิตเพราะโรคนี้กว่า 4 หมื่นคน การตระหนักถึงการวางแผนเพื่อสุขภาวะของตนเองและครอบครัวจึงไม่อาจจะถูกมองข้ามอีกต่อไป หากเราไม่อยากทิ้่งภาระไว้ให้คนข้างหลัง"

ข้อมูลข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในการปาฐกถาของ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากกิจกรรมงาน HRTECH: The Digital & AI LANDSCAPE OF LEADERSHIP 2024 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาที่สยามพารากอนฮอลล์ ซึ่งมีการจัดนิทรรศการและการเสวนาต่างๆ พร้อมกับเวิร์กช็อป ..สะท้อนให้เห็นว่า เครื่องมือ เทคโนโลยีทันสมัย ตลอดจนนวัตกรรมยุคดิจิทัล แม้จะช่วยลดหรือผ่อนกำลังให้มนุษย์มีทางเลือกและอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ "การสื่อสาร" ของคนและพฤติกรรมของคนก็ยังเป็นปัจจัยที่จะสร้างความสุข หรือเป็นปัญหา Toxic ให้แก่ชีวิตประจำวันได้ 

ฉะนั้น การเรียนรู้ที่จะสร้างสุขภาวะที่ดี หรือที่เรียกว่า Wellbeing จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะรู้จักใส่ใจตั้งแต่ในหน่วยเล็กๆ คือ ตัวเอง ครอบครัว ไปจนถึงองค์กร ที่ทำงาน และในสังคมส่วนรวม

ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวตอนหนึ่งว่า เรื่อง Wellbeing เป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเรากันทุกคน สุขภาพ Wellness คือการใช้ชีวิตในแต่ละวัน กินอาหารเลิศรสอิ่มหนำสำราญ อยู่ในห้องที่ไม่อึดอัด โปร่งโล่งสบาย เป็นเรื่องดีที่เราเกิดมามีชีวิต ..ในการสร้างความสุขให้ตัวเองในแต่ละวัน บางคนแค่รับประทานอาหารอร่อยก็มีความสุขแล้ว  แต่ความสุขในการทำงานแตกต่างและมาจากหลายองค์ประกอบ ต้องทั้ง “กายดี” ร่างกายแข็งแรง ทำให้การทำงานทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการที่เหมาะสม “จิตใจดี” มีความสุขในการทำงาน ทำงานที่ชอบและไม่มีเรื่องห่วงกังวลจากครอบครัว ส่งผลให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ “ปัญญาดี” มีความก้าวหน้าในการทำงาน มีความสัมพันธ์ในองค์กรดี กับเพื่อนร่วมงาน กับเจ้านาย ไม่ถูกรังแก กลั่นแกล้ง หรือบูลลี่ และ “สภาพแวดล้อมดี” สถานที่ทำงานแวดล้อม ไม่อึดอัด รู้สึกผ่อนคลาย

อย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริงก็มีเรื่องของ "ความเครียด" ระบายอยู่ หากดูจำเพาะเจาะจงที่ความเครียด จะพบว่าในเด็กวัยเรียนมีปัญหาความเครียดถึง 1 ใน 3 ส่วนคนวัยทำงานมีความเครียดจากเศรษฐกิจ 30.8% เครียดจากปัญหาสังคม 20.3% และเครียดจากปัญหาครอบครัว 14.5% ส่วนช่วงอายุของคนที่มีภาวะความเครียดพบในกลุ่ม 18-34 ปี และยังพบว่าในกลุ่มคนทำงานมากถึง 75% มีความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขจากการทำงาน และไม่รู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด

ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวว่า “คนชอบพูดว่าอย่าเครียด แต่ไม่มีวิธีแก้ และรับฟังแบบไม่ใส่ใจ ไม่หาสาเหตุของความเครียด หรือทำความเข้าใจกับความรู้สึกของตัวเอง ถ้าความเครียดมากเกินไปและไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้ป่วยซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ชีวิตประจำวัน และสุขภาพได้ ขณะเดียวกันต้องเข้าใจว่า ในความเครียดไม่ได้มีแค่มุมร้าย มุมดีก็มี หากเครียดนิดหน่อย ก็เป็นแรงผลักดันกระตุ้นให้เกิดความท้าทาย เกิดการพัฒนา”

Be Well จะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง

เริ่มต้นตั้งแต่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ลดการเผาในที่โล่งเป็นการซ้ำซาก จะส่งผลให้ปัญหาฝุ่นควันพิษได้รับการแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นระเบิดเวลา Wellbeing ในระดับโลกจะเกิดขึ้นได้ ทุกคนบนโลกใบนี้จะต้องช่วยกันลดอุณหภูมิโลกร้อน มิฉะนั้นก็จะเป็นวาทกรรมที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่มีวันจะสำเร็จได้ การลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม Wellness Wellbeing สู่ระดับโลกก็จะดีขึ้น

ข้อแนะนำที่น่าสนใจจาก ดร.นพ.ไพโรจน์ คือเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ให้เตรียมตัว Wellbeing ทุกอย่างต้องเตรียมพร้อม การเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อรับมือกับปัญหาสูงวัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เตรียมออมเศรษฐกิจ 10% ของรายได้ ทำประกันชีวิต ออมเงินสำรองเลี้ยงชีพ เตรียมบ้าน ทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ออกกำลังกาย 150 นาที/สัปดาห์ เมื่ออายุ 70 ปีเตรียม wheelchair เมื่อร่างกายเริ่มถดถอยลง

"การตายดีเมื่อจากไป ก็ต้องเตรียมตัวตายไม่ใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ การตระเตรียมสมบัติพัสถาน พินัยกรรมไว้ล่วงหน้า เพื่อลูกเต้าจะได้ไม่แย่งสมบัติกัน การเขียน Living Will เพื่อแสดงเจตจำนงการรักษาไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงวิกฤต ไม่ต้องมีการปั๊มหัวใจ ใส่ท่อออกซิเจน เพื่อจะได้ไปอย่างสบายๆ เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการจากลา เพื่อดวงจิตสุดท้ายจะได้ผุดผ่องอย่างดี ครอบครัวมีเวลาดูแลกันอย่างใกล้ชิด เพราะวันสุดท้ายของชีวิตจะมีสมาชิกในครอบครัวช่วยกันดูแล"

Wellbeing จะเกิดขึ้นได้นั้นกินผักกินหญ้าสุขภาพดี ไม่มีโรค จิตใจดี รู้จักคิดใคร่ครวญวิเคราะห์ มีทัศนคติที่ดี   มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยเราได้ทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่มีศาสนาอยู่ในจิตใจเสมอ การสร้างสุขภาวะตลอดทุกช่วงวัย เริ่มต้นจากครอบครัวการสร้างครอบครัวที่มีสุขภาวะ เด็กที่ฟังนิทานและการอ่านจากพ่อแม่เป็นประจำนั้น เป็นการเปิดหน้าต่างแห่งโอกาส เกิดการพัฒนาสมอง อารมณ์ทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างดี เป็นพลังในอนาคตที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาของสังคมได้เป็นอย่างดี

ส่วนสุขภาวะในที่ทำงานนั้น ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวว่า หากองค์กรมีการปรับพัฒนา สร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน ก็จะช่วยรักษาพนักงานให้อยู่ในองค์กร คงประสิทธิภาพการทำงานไว้ได้ดี เพราะคนไม่เจ็บป่วยก็ไม่สิ้นเปลืองสวัสดิการ ทำงานเต็มประสิทธิภาพ ส่วนแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการออกนอกระบบ ทำงานอิสระ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะบางกลุ่มอาชีพเฉพาะมีความจำเป็น ฉะนั้นต้องหาทางจูงใจเปลี่ยนแนวคิด ให้คนรุ่นใหม่ยังคงเลือกทำงานในกลุ่มอาชีพหรือสาขาที่มีความจำเป็นกับสังคมต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน