หวานมันเค็มเซาะกร่อนสุขภาพเด็กไทย กระตุกรัฐบาลออกกม.คุมโฆษณาอาหาร

เด็กทั่วโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเกิน 3 เท่า ถือเป็นปัญหาที่หลายประเทศ อาทิ  อังกฤษ, นอร์เวย์ ถึงกับต้องออกกฎหมายคุมเข้มการโฆษณาสินค้าอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ (Unhealthy Food) หรือแม้แต่ประเทศไทย ก็มีปัญหาการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มสูง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยในปี 2562  คนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 25.4 และเกิดภาวะอ้วนร้อยละ 42.2

ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมการบริโภคหวาน มัน เค็ม ของคนไทยมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  คือการทำการตลาดอาหาร ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและมุ่งเป้าหมายเจาะกลุ่มเด็กและเยาวชนมากขึ้น มีการเพิ่มความถี่ในการพบเห็น และกลยุทธ์การตลาดยังทำให้เกิดความชื่นชอบ และมีผลต่อการซื้อและการบริโภคอาหารของเด็กมากยิ่งขึ้น

นับเป็นงานท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของคนไทย ด้วยเหตุนี้ ล่าสุด สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ร่วมกับองค์การอนามัยโลก  ประเทศไทย, Resolve to Save Lives,  เครือข่ายลดบริโภคเค็ม, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ออกโรงเร่งผลักดันนโยบายสาธารณะ มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน สนับสนุนการลดการบริโภคโซเดียมและปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

แพทย์หญิงโอลิเวีย ไนเวรัส รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ชี้แจงว่า “ความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นสำคัญมาก ที่จะช่วยให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ประเทศไทยดำเนินมาตรการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก เพื่อลดการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของคนไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวประกอบไปด้วย การปรับสูตรอาหารและเครื่องดื่มให้ดีต่อสุขภาพ การมีฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์ที่เข้าใจได้ง่าย การจัดหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อ การปกป้องเด็กจากผลกระทบของการทำการตลาด และการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการเชิงบังคับนั้นจำเป็นในแง่ของความครอบคลุมที่ทั่วถึง และช่วยปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ”

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส. เปิดเผยถึงสถานการณ์การบริโภคโซเดียมในคนไทยจากการสำรวจโดยเครือข่ายลดการบริโภคเค็มว่า ปี 2562-2563 พบค่าปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยประชาชนไทยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ที่ผ่านมา สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ขับเคลื่อนเพื่อลดการบริโภคโซเดียมอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก 4 มาตรการ

1) การรณรงค์เพื่อสร้างความรับรู้ในประชากร 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ลดโซเดียม โดยมุ่งเน้นการลดในกระบวนการผลิต ปรุงประกอบอาหาร และการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาหาร 3) การรับรองผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ 4) การใช้ข้อบังคับ กฎหมายหรือมาตรการทางภาษี ซึ่งไทยมีโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่เอื้อให้มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมสินค้าที่ควรมีการจัดเก็บภาษี โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางสุขภาพของประชาชน เช่น ภาษีเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ที่สะท้อนความคุ้มค่าในการนำมาตรการทางภาษีมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสุขภาพ ตรงนี้จะมีข้อดีในการควบคุมอาหาร เครื่องดื่ม ขนมที่มีความหวานสูงเกินไป ซึ่งทำให้เกิดโรค NCDs ในเด็ก โดยไทยมีเด็กอ้วนเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายสาธารณะควบคุม ส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบบริการสุขภาพระยะยาว

นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า “กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนรณรงค์ให้ความรู้ด้านโภชนาการ และการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หนึ่งในมาตรการที่ประเทศไทยยังต้องดำเนินการเพิ่มเพื่อทำให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี คือการปกป้องเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากกลยุทธ์การตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการซื้อและบริโภคอาหารของเด็ก กรมอนามัยจึงร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาร่างพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยเจตนารมณ์เพื่อปกป้องและคุ้มครองเด็กจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง ลดการพบเห็นและลดการถูกกระตุ้นจากการตลาด รวมทั้งคาดหวังให้ภาคอุตสาหกรรมปรับสูตรอาหาร ลดปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมให้เหมาะสมมากขึ้น ทำให้เด็กและประชาชนไทยเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับสุขภาพ”

ความคืบหน้าของ (ร่าง) พ.ร.บ. ล่าสุดผ่านประชาพิจารณ์แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอเข้ากระบวนการทางกฎหมาย กม.ควบคุมนมทารกใช้เวลา 6 ปี พ.ร.บ.นี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ความเข้มแข็งของผู้นำรัฐบาล ภาครัฐ เอกชน ชุมชนเพื่อผลักดันใช้ให้เร็วที่สุดเพราะในเอเชีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ทำได้แล้ว จึงเป็นงานที่ท้าทาย เพราะกม.ตัวนี้รวมทั้งเรื่องควบคุมเกลือ น้ำตาล โซเดียม ไขมัน ย่อมมีความยากกว่าและท้าทายยิ่งกว่าภาษีน้ำตาล เพราะขณะนี้ปรากฏการณ์ทั่วโลกในช่วง 10 ปี เด็ก เยาวชน  กลุ่มคนป่วยโรค NCDs มีน้ำหนักเกิน 2-3 เท่า หลายประเทศอย่างอังกฤษ นอร์เวย์ มีมาตรการนำสู่ความสำเร็จ มีการขับเคลื่อน กม.ลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง  โซเดียม ไขมันสูง ส่วนประเทศชิลีประเทศที่กำลังพัฒนา  สิงคโปร์ ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาการตลาด โดยเฉพาะอาหารสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี กำหนดรัศมีรอบโรงเรียน 200 เมตร ห้ามนำอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม ไขมันสูงมาขาย

รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ชี้แจงว่า สมาคม NCDs Alliance  คนไทย ร่วมกับ 31 องค์กรเกี่ยวกับโรคอ้วน เห็นปัญหาสำคัญที่คนไทยเป็นโรคอ้วน และ NCDs คนที่อยู่ในวัยทำงานป่วยเป็นเบาหวาน 12% โรคอ้วน 40% ถ้ามองให้ลึกลงไปมากกว่า 20 ปีที่ผ่านมานั้น เด็กอ้วนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยเรียนอายุ 14 ปี และแนวโน้มเด็กจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น ซึ่งเป็นเบาหวานในกลุ่มผู้ใหญ่ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน จำเป็นต้องออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร การใช้ยาในเด็กที่ป่วยเป็นเบาหวานทำได้ยาก จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองครูจะต้องมีบทบาทในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นเบาหวาน ตั้งแต่การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย “การที่เด็กตัวเล็กนิดเดียวต้องกินยาเบาหวาน ลดไขมัน กลายเป็นภาระของประเทศมีปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย เราอยากส่งข่าวดีถึงประชาชนในร้านซูเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร่วมมือกันปรับปรุงสูตรอาหาร ขายสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ มีประโยชน์และอร่อย"

การทำการตลาดอาหารส่งผลต่อการซื้อและการบริโภคอาหารของเด็กไทย ในฐานะผู้แทนสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทยและองค์กรสมาชิก ขอสนับสนุนการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เพื่อกำกับควบคุมการตลาด การสื่อสารและสื่อต่าง ๆ รวมไปถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนไทยที่มีความรุนแรงและเข้าถึงเด็กมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อันจะนำไปสู่การปกป้องเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดีและเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต

แพทย์หญิงเรณู การ์ก รองประธานอาวุโส ด้านสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด Resolve to Save Lives ให้ข้อมูลว่า “ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายในการลดการบริโภคโซเดียมลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568  เพื่อลดความสูญเสียและปกป้องประชาชนจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไต ขอแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทยในความมุ่งมั่นที่จะลดการบริโภคโซเดียมของคนไทยให้ได้ ถึงเวลาแล้วที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบายเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพิจารณาการดำเนินมาตรการภาคบังคับเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม การมีฉลากคำเตือนอาหารที่มีโซเดียมสูง และการเก็บภาษีโซเดียม เป็นต้น”

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เน้นย้ำว่า “เครือข่ายเรามุ่งเน้นผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะในระดับประเทศ ในเรื่องการลดการบริโภคโซเดียมในประชากรไทย รวมทั้งสนับสนุนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการลดการบริโภคโซเดียม ที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ให้มีการปรับสูตรลดโซเดียมในอาหาร ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างเช่นพบว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดโซเดียมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในท้องตลาด และยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จก็ยังคงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4 ทุกปี แสดงให้เห็นว่าการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ให้มีปริมาณโซเดียมลดลง ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงและมีทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นการปรับสูตรลดโซเดียมในอาหารจึงได้ประโยชน์ต่อผู้บริโภค และมีความคุ้มค่าคุ้มทุนต่อการลงทุนนโยบายภาครัฐ ในปีนี้เครือข่ายลดบริโภคเค็มมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเลือกอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพในส่วนของการใช้ข้อบังคับ กฎหมายและการเก็บภาษีโซเดียม เพื่อให้การบริโภคโซเดียมในประชากรไทยลดลง”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming