NIA ดึง 7 หน่วยงานลงนามร่วมยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมไทย สร้างเครือข่ายความร่วมมือในงาน SITE2024

22 กรกฎาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดึง 7 หน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในหลากหลายมิติต่าง ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการพัฒนาย่านนวัตกรรม โดยพิธีลงนามจัดขึ้นในงาน "STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024" หรือ SITE 2024 มหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน อว.แฟร์ "SCI Power" จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ โซน C ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “งาน "STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2024" หรือ SITE 2024 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อยกระดับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมของไทยให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Innovation for Growth and Sustainability" เพื่อเร่งสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจและสตาร์ทอัพไทยในทุกมิติโดยมี5 กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ Forum : เวทีรวมสตาร์ทอัพและนวัตกรชั้นนำของเมืองไทย และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม Marketplace : ตลาดสินค้านวัตกรรมกว่า 300 ราย Business Matching : โอกาสสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในการจับคู่ทางธุรกิจ พร้อมรับคำปรึกษา เพื่อให้ธุรกิจเติบโต Prime Minister Award : พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพของประเทศ และ Startup Thailand League 2024 : National Pitching เวทีใหญ่ 14 ทีมสุดท้ายในรอบชิงแชมป์ประเทศไทย”

“นอกจากกิจกรรมไฮไลต์แล้ว NIA ในฐานะ “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” ยังได้เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับระบบนิเวศสตาร์ทอัพ และระบบนิเวศนวัตกรรมของไทยให้เข้มแข็ง และนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ 7 หน่วยงานที่มีพันธกิจครอบคลุมการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในหลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการพัฒนาย่านนวัตกรรม ดังนี้
1. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมและวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมดิจิทัลให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้
2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการโครงการ AI Thailand Mobile Lab กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เพื่อสนับสนุนการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา
3. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางมูลค่าสูงแห่งเอเชีย กับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านนวัตกรรมร่วมกับด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์และมุ่งพัฒนาการเพิ่มศักยภาพของประเทศไทย
4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กับบริษัทลีฟ อะ เนส สิงคโปร์ (Leave a Nest Singapore, Pte. Ltd.) เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย และสตาร์ทอัพในการนำงานวิจัย ต่อยอดออกสู่เชิงพาณิชย์
5. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้ประกอบการนวัตกรรม กับบริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาธุรกิจ พร้อมผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ
6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือพัฒนาย่านนวัตกรรม กับอิมแพ็ค เมืองทองธานีเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้สามารถดึงดูดการลงทุน รวมทั้งร่วมกันพัฒนาแผนแม่บทและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และการเชื่อมโยงภายในพื้นที่ ผ่านการจัดการแหล่งเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม และ 7. บันทึกข้อตกลงว่าด้วยเรื่องนวัตกรรมพลาสติกกับองค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการเครือข่ายนวัตกรรมพลาสติกอินโด-แปซิฟิก (IPPIN) โดยมีกลไกการสนับสนุนด้านเงินทุนทวิภาคีระหว่าง NIA และ CSIRO เพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาขยะพลาสติก”
สำหรับผู้สนใจสามารถติดรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://www.mhesifair.com
และ Facebook: NIA: National Innovation Agency, Thailand

#NIA #SITE2024 #StartupThailand #InnovationThailand #Innovation #Sustainability #อว #อวFair #FutureThailand #SciPower #กระทรวงอว #MHESI #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #อวFAIR #อวforall

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล