กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดกิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล (GROUNDWATER INNOVATION CHALLENGE)” เฟ้นหาทีมต้นแบบ ผ่านระบบออนไลน์

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดจัดงานนำเสนอผลงานใน “โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบ ด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม พ.ศ.2565 ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom Meeting)  โดยกำหนดให้มีพิธีเปิดงาน ในวันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ.2565 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

โดยภายในงานจะจัด “กิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล  (GROUNDWATER INNOVATION CHALLENGE)” ผ่านระบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบด้านการจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล รวมถึงผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำบาดาล โดยมุ่งเน้นขยายองค์ความรู้ไปยังชุมชน และเครือข่ายท้องถิ่น อาทิ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ใช้น้ำบาดาล ตลอดจนสร้างเครือข่ายและระบบฐานข้อมูลเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีส่วนร่วมและเป็นระบบ  ซึ่งงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดทีมเข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 38 ทีม  โดยทุกทีมจะได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิดและผลงานต่อคณะกรรมการ 

ทั้งนี้ภายในงานได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆทั้ง 5 ท่านร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน ได้แก่ นายสิทธิศักดิ์ มั่นอยู่   ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน (งานทรัพยากรน้ำบาดาล)  ดร. ทัศนีย์ เนตรทัศน์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนางานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล ดร. นงรัตน์ อิสโร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มยุรี ศรีกุลวงศ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สำหรับทีมผู้เข้าประกวดที่มีการนำเสนอผลงานโดดเด่น และได้รับการพิจารณาคะแนนสูงสุดทั้ง 5 ทีมนอกจากจะได้รับเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาทแล้ว  แนวคิดจากทั้ง 5 ทีมจะยังถูกนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างผลงานต้นแบบ

แนวทางและนวัตกรรมด้านทรัพยากรน้ำบาดาลอีกด้วย   สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการประกวดได้ทางเพจชื่อ ส่วนฝึกอบรม สำนักบริหารกลาง วิทยาลัยน้ำบาดาลประชารักษ์ หรือโทรสอบถามได้ที่ 026667164

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ดร.เฉลิมชัย” ชูโครงการธรรมจักรสีเขียว สร้าง “วัดต้นแบบ” - เพิ่มพื้นที่ป่าให้ประเทศ

ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง รวมถึง “พระพุทธศาสนา” ที่มีความสัมพันธ์กับป่าไม้อย่างลึกซึ้ง

'ประเสริฐ' แจงม็อบพีมูฟ ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ที่ทำกินให้คนอยู่กับป่าได้

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) นำโดย นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานและที่ปรึกษาพีมูฟ รวมตัวจัดกิจกรรมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64

ชาวบ้านลุกฮือ ค้าน พรฎ.ของกรมอุทยานฯ ชี้สร้างความขัดแย้งชุมชนกับภาครัฐ

ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จ.แม่ฮ่องสอน ได้ทำหนังสือถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อขอให้ยกเลิกการออกพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ

ฉีกสัญญาพีมูฟ 'กรมอุทยาน' ดันร่างกม.ลูกเข้า ครม.ส่อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น

ส่อความขัดแย้งเพิ่ม พีมูฟเบรกร่างกม.ลูกกรมอุทยานฯ เข้า ครม . ชี้ยิ่งจุดชนวนสร้างข้อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น  

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด คลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดคลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 90,000 บาท