สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการฯ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ นับว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งสังคมไทยมักจะมองข้ามหรือยังไม่ใส่ใจเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ปัญหาสุขภาพจิตกำลังกัดกร่อนความมั่นคงภายในครอบครัวของเรา จนเป็นเหตุให้ตัวเลขผู้ป่วยด้วยภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงในการฆ่าตัวตาย

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. เปิดเผยว่า “เราหาความสุขได้ยากในวันนี้ ยิ่งมนุษย์มีวิวัฒนาการมากเท่าไหร่ ความสุขจะลดลงในระบบความสัมพันธ์ มนุษย์มีวิวัฒนาการจากมนุษย์วานร กินของหวาน  ของมัน ของเค็ม ถ้ากิน 3 อย่างที่จำเป็นต่อร่างกายเราก็จะมีความสุข วันหนึ่งวันใดเรากินเกิน หวานๆๆๆ สุดท้ายเราก็จะเป็นเบาหวาน เค็มมากก็ไตวาย กินมันมากก็หลอดเลือดอุดตัน ทุกวันนี้การหาความสุขทางใจก็ยาก มนุษย์มีความอิจฉาอยู่ในกมลสันดาน ถ้าไม่อิจฉากันก็จะสร้างบ้านสร้างชุมชนได้ดีกว่านี้ มนุษย์ในอดีตปล้นฆ่าแก่งแย่งชิงความเป็นเจ้าของ เมื่ออิจฉาอยากได้อยากมีก็ใช้วิธีปล้นฆ่ากัน คนชอบหาความสุขจากวัตถุนิยม ยิ่งเราหามากเท่าไหร่ความสุขก็จะยิ่งหดหายไป เมื่ออยากได้จักรยาน เมื่อได้แล้วความสุขหายไป อยากจะได้จักรยานยนต์ เมื่อได้แล้วก็อยากจะได้มากขึ้นไปอีก อยากได้รถยนต์ ความสุขเหล่านี้ไม่ยั่งยืน"

คุณหมอระบุว่า กระบวนการ "สุขเป็น" มีหลายแบบ ทำให้ชุมชนดีขึ้น เราสุขอย่างมีความหมายและอยู่รอด  ชุมชนก็อยู่รอดอยู่อย่างมีความหมายได้เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องควบคุมจิตใจตัวเอง ไม่ให้หงุดหงิด ไม่ให้โกรธ ไม่อิจฉา ควบคุมให้สงบ แบ่งปันความสุขให้คนอื่นอย่างไร  คนในชุมชนก็แบ่งปันความสุขได้ ครอบครัวที่ผ่านความสุขความทุกข์จะต้องมีการสื่อสารกัน พ่อแม่ก็ต้องมีวิธีการสื่อสารกับลูก แม่อยากให้ลูกเรียนหนังสือให้เก่งเป็นคนดี แต่เมื่อแม่ใช้คำด่า ลูกก็รู้สึกว่าแม่ไม่รักเพราะฉันเป็นคนไม่ได้เรื่อง หนูอยากให้แม่รักหนู สิ่งสำคัญคือลูกควรทำเรื่องให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ

"ผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า ชีวิตเกิดมาทำไม? เราจะมีชีวิตต่อไปเพื่อมีความหมายอย่างไร? ความสุขคือคำตอบ ความสุขอยู่กับผู้คน การให้คนอื่นมีความสุขอย่างยาวนานที่สุดจนกว่าเราจะตาย อย่างนี้เรียกว่า shareความสุขเป็นก็เป็นสุข เราต้องการขยายความร่วมมือจากชุมชนที่เป็นต้นแบบ 12 แห่ง และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนสุขเป็นสร้างกลไกขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ด้วย"

สำหรับพันธกิจของ สสส.ในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตนั้น มุ่งเน้นการสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก่อนเจ็บป่วย โดยร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ขับเคลื่อนมาตรการสร้างเสริมสุขภาพจิตผ่านกลไกชุมชน ผ่านโมเดล “สุขเป็น” มุ่งเน้นทำงานต้นน้ำพัฒนาต้นทุนมนุษย์ เช่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  (อสม.) สู่แกนนำสื่อสารจิตวิทยาเชิงบวกกับคนในพื้นที่ รวมถึงสร้างเครื่องมือตามกรอบแนวทางจิตวิทยา สิ่งแวดล้อมเชิงบวก เพิ่มโอกาสการรับฟัง เพื่อลดความเครียด  ภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย และกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างสุขอย่างง่าย เช่น ออกกำลังกายใจผ่านการนั่งสมาธิ ทำในสิ่งที่ชอบ พักผ่อนให้เพียงพอ

“จากการดำเนินงานกว่า 2 ปี เกิดชุมชนนำร่องใน 12 พื้นที่ 6 จังหวัด มีประชาชนผู้รับประโยชน์กว่า 7,500 คน ในจำนวนนี้ 96% ระบุว่าเปลี่ยนแปลงตนเองด้านสุขภาพจิตในทางที่ดีขึ้น และได้นำแนวคิดไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และ 75% กลายเป็นแกนนำผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต 'เพื่อนคู่คิด' สื่อสารเชิงบวกกับคนในชุมชน ทั้งนี้ เตรียมพัฒนาคู่มือแนวทางทำงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงบวกในชุมชนโดยชุมชน เพื่อขยายผลสร้างชุมชนพลังบวกมากขึ้น” ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าว

น.ส.ภาวนา เหวียนระวี ผู้อำนวยการมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ชี้แจงว่า โครงการสุขเป็นได้พัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำในพื้นที่ ด้วยชุดเครื่องมือสุขเป็นและแนวทางในรูปแบบ Active Learning อาทิ “12 Tips-สุขเป็น” “อุณหภูมิสุข” “อารมณ์เชิงบวก” “มองโลกแง่ดี”  “ปัจจุบันขณะ” “Self care ดูแลตัวเอง” “ล้มแล้วลุกได้”  รวบรวมกิจกรรมในพื้นที่นำร่องขับเคลื่อนสุขเป็นระยะที่ 1 ได้ 32 กิจกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้นำ และส่งต่อไปยังประชาชนในพื้นที่ รูปแบบกิจกรรมที่เข้ากับบริบทชุมชน การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ เน้นสร้างความร่วมมือพื้นที่นำร่อง 1.สมุทรสาคร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว  และ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน 2.นนทบุรี ที่ ต.ละหาร อ.บางบัวทอง และ ต.ท่าทราย อ.เมือง 3.เชียงใหม่ ต.โปงทุ่ง  อ.ดอยเต่า 4.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ ต.เขาล้าน อ.เมือง และ ต.ไชยราช อ.บางสะพานน้อย 5.นครศรีธรรมราช ที่ ต.บ้านตูล อ.ชะอวด และ ต.บ้านชะอวด อ.จุฬาภรณ์ รวมถึงพื้นที่คู่ขนานทุกภาคส่วนกว่า 20 พื้นที่

“การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ได้รวบรวมผลลัพธ์เชิงรูปธรรม ข้อค้นพบ บทเรียนในพื้นที่จากกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขเป็น มานำเสนอการขับเคลื่อนงานจิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนด้วยกลไกชุมชน และเพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคีระดับนโยบาย  หน่วยงานวิชาการ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ  เพื่อความร่วมมือในการทำงานยกระดับความรู้ และขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต และสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการสร้าง เด็ก เยาวชน และครอบครัวที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ส่งต่อทักษะการดูแลจิตใจในเชิงบวกให้สามารถรับมือกับปัญหาที่เข้ามากระทบกับจิตใจได้” ผู้อำนวยการมูลนิธิแพธทูเฮลท์ กล่าว

น.ส.ภาวนาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ความเครียดติดอันดับ 1 เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นหนี้สินจากรายจ่ายในครอบครัว อันดับ 2 เกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสารด้วยอารมณ์ในบ้าน ทัศนคติต่างวัย  ความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อลูก การแข่งขันที่รุนแรงในสังคม ทำให้เด็กกดดันสะสม เกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นภัยเงียบที่ต้องป้องกันและสร้างความตระหนักการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัวและชุมชน ที่ ต.โปงทุ่ง พบอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุดใน จ.เชียงใหม่ (ข้อมูล ต.ค. 2565 - ก.ย. 2566) คือ 44 คนต่อประชากรแสนคน พบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสพสารเสพติด ดื่มสุรา ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย หรือโรคจิตเวช เมื่อผลักดันแนวทางด้านจิตวิทยาเชิงบวกในพื้นที่นำร่องของ ต.โปงทุ่ง ภายใต้โครงการสุขเป็นในพื้นที่ต่อเนื่อง ควบคู่กับการเฝ้าระวังและป้องกันเกือบ 1 ปี ทำให้ไม่พบการฆ่าตัวตายสำเร็จ เกิดเป็นโปงทุ่งโมเดลเตรียมขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ สุขเป็น

รศ.ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ อดีตคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โครงการโปงทุ่งแก้ไขปัญหาคนฆ่าตัวตายได้สำเร็จ เป็นที่ชื่นชอบ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาขยายผลให้ประสบความสำเร็จ โครงการสู่เป้าหมาย มีการเลือก Model เป็นรูปแบบประเมินตรรกะ เกิดเป็นแผนงานผลผลิตส่งผลดีต่อสังคมไทย ด้วยแนวคิดสุขเป็น ส่งเสริมให้มูลนิธิแพธทูเฮลท์ได้ไปต่อ การที่คนเราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จะทำให้คนอื่นมีความสุขมากขึ้น สุขเป็นมีหลายทิศทาง มีหลายรูปแบบที่จะต้องนำมาศึกษาด้วยกรอบแนวคิด การประเมินให้เป็นตรรกะ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.

“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center

คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67

รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์

ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน

ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร

อึ้ง! ชาวโลกเผชิญความอดอยาก เกือบ 300 ล้านคน ขาดสารอาหาร 2 ใน 3 อยู่ในเอเชีย น่าห่วง 1 ใน 10 ของเด็กไทยผอมโซ เนื่องในวันอาหารโลก 2567

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี