เริ่มแล้วเทศกาลรามายณะนานาชาติ 12-15 ก.ค. ชวนสัมผัสศิลปะการแสดงรามเกียรติ์ 8 ชาติ

เริ่มแล้วกับเทศกาลรามายณะนานาชาติ 8 ประเทศครั้งยิ่งใหญ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 12 – 15 ก.ค. 2567 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ท้องสนามหลวง และศูนย์การค้าไอคอนสยาม โดยนางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิด โอกาสนี้ นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมคณะทูตานุทูต เหล่านักแสดงรามายณะ 8 ประเทศ ผู้ชมชาวไทยและต่างประเทศ เข้าชมการแสดงจำนวนมาก ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

นางลาลีวรรณ กาญจนจารี กล่าวว่า งานเทศกาลการแสดงรามายณะนานาชาติ (International Ramayana Festival) ในครั้งนี้ วธ.โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะนักแสดงรามายณะ จากประเทศต่าง ๆ รวม 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินเดีย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และคณะนักแสดงของราชอาณาจักรไทย จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง เรื่อง รามายณะ ระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ซึ่งมีคติความเชื่อทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน สามารถสื่อให้ผู้ชมทุกท่านได้สัมผัสถึงอรรถรสและคุณค่าของวรรณกรรม ความงดงามและโดดเด่น อันเป็นเอกลักษณ์ทางนาฏศิลป์ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นมรดกร่วมของมนุษยชาติ

ผู้ช่วย รมว.วธ. กล่าวอีกว่า การจัดงานการแสดงรามายณะนานาชาติสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นการนำศิลปวัฒนธรรมมาสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจ ทั้งยังเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่สาธารณะในการแสดงศิลปวัฒนธรรมประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับการแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงดนตรี และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเด็ก เยาวชน ประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชวนประชาชนเที่ยวงานมหรสพสมโภชและชมการแสดงรามายณะนานาชาติ

ด้าน นายประสพ เรียงเงิน อธิบดี สวธ. กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลรามายณะนานาชาติฯ ในครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อพสกนิกรชาวไทย รวมถึงเพื่อสนับสนุนการนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง เรื่อง รามายณะ หรือรามเกียรติ์ ศิลปะการแสดงที่สำคัญของประเทศไทยและต่างประเทศ มาเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนชาวไทย

“ เนื้อหาสาระ องค์ความรู้ และการแสดงรามายณะของนานาประเทศ อีกทั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ถ่ายทอดและสร้างสรรค์งานวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดงทางวัฒนธรรม เป็นแนวทางในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสืบสาน รักษาและต่อยอด เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่า ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวมต่อไป ” อธิบดี สวธ. กล่าว

ห้ามพลาดงานเทศกาลการแสดงรามายณะนานาชาติฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 ก.ค. นี้ เปิดเฟสติวัลด้วยการแสดงจากสาธารณรัฐอินเดีย DASHAVATARAM (อวตารทั้งสิบ) ต่อด้วยการแสดงร่วมกันจากทุกประเทศ ชุด รามลีลา (Rama Leela) และการแสดงรามายณะของแต่ละประเทศ ประกอบด้วย การแสดงจากประเทศไทย นารายณ์ปราบนนทุก (Narayana Subdues Nontok) ประเทศมาเลเซีย พระรามสยุมพร (Shankarabaranam Pallavi (Odissi)) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พระรามตามกวาง ลักสีดา (The Golden Deer and Abduction of Sita) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตีสดายุ (Jatayu’s Intervention) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พระรามได้พล (Gathering the army by Rama) สาธารณรัฐสิงคโปร์ หนุมานถวายแหวน (ANJANEYAM – Hanuman’s Ramayana) ราชอาณาจักรกัมพูชา จองถนน (Hanuman and Suvann Macha) ต่อด้วยการแสดงชุด ยกรบ (The battle in Lanka kingdom) โดยประเทศไทยและอินโดนีเซีย ปิดท้ายด้วยการแสดงร่วมกันของทุกประเทศ ในชุด คืนนคร ระบำเฉลิมฉลอง (The Celebration of the Return to Ayodhya ) สุดตระการตา จากนั้นประธานได้มอบของที่ระลึกให้ผู้แทนคณะนักแสดงทั้ง 8 ประเทศ

สำหรับการแสดงรอบนักเรียนนักศึกษา ระหว่างวันที่ 13 – 14 ก.ค. เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

การแสดงรามายณะนานาชาติ
วันเสาร์ที่ 13 ก.ค. 2567 เวลา 20.30 น. ณ เวทีใหญ่ ท้องสนามหลวง ในงานหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ ในวันอาทิตย์ที่ 14 ก.ค.2567 เวลา 19.00 น. การแสดงรามายณะนานาชาติ ณ สุราลัย ฮอลล์ ไอคอนสยาม
ในวันจันทร์ที่ 15 ก.ค. 2567 เวลา 13.00 น. และ พิธีปิดงานเทศกาลการแสดงรามายณะนานาชาติฯ ในเวลา 18.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

การแสดงครั้งประวัติศาสตร์นี้ วธ.ชวนประชาชนเข้าชมการแสดงฟรี สำรองที่นั่งได้ 3ช่องทาง www.dcpthaiyouth.net/concert หรือที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โทรศัพท์
0 2247 0028 ต่อ 4104, 4119 (ในเวลาราชการ) และ เฟสบุ๊ค ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย Thailand Cultural Centre โดยผู้ที่จองผ่านระบบ ให้แสดงคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่ได้จากระบบ เพื่อแสดงสิทธิ์การเข้าชม ณ จุดลงทะเบียน ชั้น 1 หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และติดตามข้อมูลได้ที่ www.culture.go.th , เฟสบุ๊ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ line@วัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ

10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List