วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาค ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสงขลา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ และเยาวชนเข้าร่วมในพิธีเปิด ทั้งนี้ พิธีเปิดได้จัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภูมิภาค เฟ้นหาเยาวชนทักษะดีมีมาตรฐานทั่วประเทศกว่า 1,600 คน คัดเลือกสู่สนามแข่งขันระดับประเทศ จุดประกายแรงงานรุ่นใหม่ก้าวสู่เวทีโลกโชว์ศักยภาพแรงงานไทย
.
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้กำลังแรงงานไทยได้รับการยกระดับฝีมือให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาคในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีในการคัดเลือกเยาวชนในระดับภาค เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับประเทศ ในปี 2568 ซึ่งช่วยส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นให้เยาวชนมีใจรักในสายงานอาชีพ สนใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะฝีมือของตนให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ผู้ประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมีการนำเอาหุ่นยนต์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติหรือ AI มาใช้ในการผลิตและบริการเพิ่มขึ้น สิ่งที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ นั่นคือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาเป็นกำลังแรงงานใหม่ที่สำคัญ ต้องเป็นกำลังแรงงานที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในระดับขั้นสูงขึ้นไป และต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การจัดงานในวันนี้จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยบูรณาการให้สถานศึกษา สถานฝึกอบรม ผู้ประกอบกิจการ สมาคมและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ได้เห็นคุณค่าของเยาวชน และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของกำลังแรงงานของไทยให้ตรงกับความต้องการในอนาคตต่อไป
.
นายพิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาค จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10 - 12 กรกฎาคม 2567 มีเยาวชนร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 1,628 คน แบ่งออกเป็น 24 สาขา ใน 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ตามมาตรฐานขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ดังนี้
1) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร จำนวน 6 สาขา
2) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 2 สาขา
3) กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและศิลปะเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 3 สาขา
4) กลุ่มสาขาอาชีพบริการส่วนบุคคลและสังคม จำนวน 3 สาขา
5) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 8 สาขา
6) กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 2 สาขา
“ผู้ชนะรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงในการแข่งขันเวทีนี้ จะมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 เป็นเวทีการแข่งขันระดับประเทศในช่วงเดือนมีนาคม 2568 ที่กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ข้างเคียง จากนั้นผู้ชนะระดับชาติในแต่ละสาขาจะมีโอกาสเข้าร่วมการเก็บตัวฝึกซ้อมและคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป” รมว.พิพัฒน์ กล่าว
ด้าน นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การแข่งขันระดับภาค แบ่งสนามแข่งขัน ออกเป็น 4 กลุ่มจังหวัด ได้แก่
- กลุ่มภาคกลาง จัดแข่งขันที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 4 ราชบุรี จำนวน 14 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 4 สาขา วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี 1 สาขา วิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิคราชบุรี 1 สาขา สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 สาขา วิทยาลัยการแรงงาน 1 สาขา และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 35 เพชรบุรี 1 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 422 คน
- กลุ่มภาคเหนือ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ จำนวน 15 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 6 สาขา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ 2 สาขา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 1 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 366 คน
- กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น จำนวน 18 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 3 สาขา บริษัท เค คอนซัลติ้ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 1 สาขา วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น 1 สาขา และโรงแรมโฆษะขอนแก่น 1 สาขา จำนวน 505 คน
สำหรับกลุ่มภาคใต้ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา แข่งขันทั้งหมด 17 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 5 สาขา และวิทยาลัยเทคนิคสงขลา 2 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 335 คน ทั้ง 4 ภูมิภาค มีกำหนดการพิธีเปิดการแข่งขันพร้อมกัน ในวันนี้ และพิธีปิดการแข่งขันพร้อมมอบรางวัล ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่