เปิดยิ่งใหญ่! ม.อ. เจ้าภาพจัดประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง YICMG 2024

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024) เวทีนานาชาติเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดโครงการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่ 8 The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024) โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prof. Dr. Zhou Lei, Vice President, Fudan University กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 200 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้า สำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567

การประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง The Youth Innovation Competition on Lansang – Mekong Region’s Governance and Development (YICMG) เป็นการประกวดออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในมิติต่าง ๆ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ไม่จำกัดคณะ ชั้นปี ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวม 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานของจีน โดยมี Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการหลัก พร้อมกับมหาวิทยาลัย อีก 2 แห่งในจีน คือ Qinghai University และ Guangxi University of Finance and Economics ร่วมดำเนินโครงการ โดยได้จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 2559 ณ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตอวี้ซู่ (Yushu Tibetan Autonomous Prefecture) มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อเป็นเวทีนานาชาติในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษาประเทศต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในลุ่มแม่น้ำโขง อันนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีส่วนร่วมในการแข่งขันโครงการ YICMG ตั้งแต่การจัดการแข่งขันในครั้งที่ 1 โดยนักศึกษาให้ความสนใจและสมัครเข้าส่งผลงานในทุกปี และได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัลชนะเลิศประเภท The Best Multi-national Team ในปี 2559 รางวัล The Best Incubation ในปี 2561 รางวัล The Best Creative Award ในปี 2564 และล่าสุดได้รับรางวัล The Most Valuable Question และ รางวัล The Most Creative Team จากการแข่งขันครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

นอกจากการส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันในทุก ๆ ปีแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการ YICMG ในฐานะ Expert อีกด้วย โดยมีหน้าที่หลักในการให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อคิดเห็นต่อผลงานของนักศึกษาจากทุกทีมและทุกประเภทที่เข้าร่วมการแข่งขัน อีกทั้งยังร่วมกับ Expert จากประเทศอื่น ๆ ในการลงคะแนนตัดสินผลงานของผู้เข้าประกวด

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้ร่วมลงนามใน MoU กับ Fudan University และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ Fudan University เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ YICMG โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งศูนย์ YICMG ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศไทย โดยจัดตั้ง ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลัดแรงงาน“ไพโรจน์”เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นด้านความสำเร็จในอาชีพ หน้าที่การงาน ปี 2566 จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เข้ารับโล่เกียรติยศ ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นด้านความสำเร็จในอาชีพ หน้าที่การงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีพุทธศักราช 2566 ในงาน

กสม.ชี้ จนท.ความมั่นคงถูกร้องเรียนมากสุดในจังหวัดชายแดนใต้

กสม. พัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนเชิงพื้นที่ในระดับภูมิภาคที่ภาคใต้เป็นแห่งแรก เผยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในกระบวนการยุติธรรมถูกร้องเรียนมากที่สุด

กสม.พื้นที่ภาคใต้เปิดให้บริการแล้ว

เปิดสำนักงาน กสม.พื้นที่ภาคใต้ที่หาดใหญ่ เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติงานวันนี้ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงกลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม