สภาพปัจจุบันของชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวในปัจจุบัน
พวกเราได้รู้จักบ้านน้ำเชี่ยวจังหวัดตราดไปแล้ว ต้องบอกว่าเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ที่นี่ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ด้วยวิถีชีวิตและธรรมชาติที่งดงาม แต่ยังเป็นตัวอย่างของการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนและเข้มแข็ง หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจคือการจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัยของชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายชุมชนในประเทศไทยต้องเผชิญ บ้านน้ำเชี่ยวได้ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้ ทำให้ชุมชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและปลอดภัยพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชน เราจะติดตามเรื่องราวเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
สภาพบ้านเดิมในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. เข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย พี่หน่อย หรือ นางสุรัตนา ภูมิมาโนช ได้เล่าให้ฟังว่าบ้านน้ำเชี่ยวแต่ก่อนมีสภาพที่ไม่ค่อยดีนัก บ้านหลายหลังเริ่มเสื่อมโทรมและขาดความมั่นคง แต่หลังจากได้รับงบจากโครงการบ้านพอเพียงบ้านมั่นคง บ้านทุกหลังในชุมชนได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีมาตรฐานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงทำให้บ้านเรือนดูดีขึ้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย
บ้านของสมาชิกในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวที่ได้รับการซ่อมแซม
พอช. ยังเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน เช่น การทำลูกประคบ การผลิตงอบใบจาก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของบ้านน้ำเชี่ยว การฝึกอาชีพเหล่านี้ไม่เพียงสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ยังช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนยังมีการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น การลอกคลองและทำบ้านลูกจุลินทรีย์บอนเพื่อลงในน้ำ ทำให้น้ำในชุมชนกลับมามีคุณภาพดีขึ้น ไม่มีน้ำเน่าเสียและมีกลิ่นคาวเหมือนที่เคยเป็น ผลจากการปรับปรุงนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น รวมถึงการกลับมาของกุ้งปลาในน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและรายได้ของคนประมงในชุมชน การรณรงค์เรื่องการจัดการขยะและการสร้างถังขยะแยกประเภทโดยเทศบาล และการร่วมมือของคนในชุมชนทำให้บ้านน้ำเชี่ยวได้รับรางวัลต่าง ๆ ในด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชน
ทิพา รัตศิลา ผู้ใหญ่บ้านน้ำเชี่ยว เล่าความรู้สึกเห็นความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบันของบ้านน้ำเชี่ยว ว่า การเปลี่ยนแปลงของบ้านเราเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจมากจริงๆ จากที่เคยมีปัญหาเรื่องสภาพบ้านที่มีความทรุดโทรมจะพังลงในน้ำอยู่แล้ว พอได้รับการซ่อมแซม ตอนนี้ทุกหลังกลับมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ยังได้มีการสร้างโอกาสให้กับเด็กๆ ในชุมชน โดยการให้พวกเขามาฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานกับชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะมาสืบทอดงานต่อไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่เราได้เห็นการพัฒนาและการเติบโตของชุมชนของเรา เราไม่เพียงแต่สร้างความมั่นคงให้กับบ้านเรือน แต่ยังสร้างโอกาสและอนาคตให้กับเด็กๆ และคนรุ่นใหม่ ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสำเร็จ และทำให้เรามีความมั่นใจในการพัฒนาต่อไปในอนาคต
ดวงรัตน์ ถนอมวงษ์ สมาชิกในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว เล่าให้ฟังว่า การได้บ้านเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีใจและภูมิใจมาก เริ่มจากการที่ผู้ใหญ่บ้านได้ชวนให้เราออมเงินและวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ ได้เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านและการออมเงิน ทำให้ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เกิดความสุขและความภูมิใจที่ได้เห็นบ้านของเรา จากบ้านผุพังจนสร้างเสร็จ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถบรรยายได้
ที่บ้านน้ำเชี่ยวไม่ใช่เพียงแค่การซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย แต่ยังเป็นการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและมีความสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนทำให้เกิดความสุขและความอบอุ่น ได้มีบ้านที่มั่นคงและมีชีวิตที่ดีขึ้น มีการทำงานร่วมกัน และยังสามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนมีรายได้ และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
บรรยากาศในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว
ที่นี่เป็นอีก 1 ชุมชนซึ่งเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นได้ นอกจากเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัยแล้ว เรื่องการคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวก็ได้รับการพัฒนาผ่านโครงการบ้านมั่นคง โดยการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาทักษะในการทำงานของชุมชน ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดของตนเอง บ้านน้ำเชี่ยวจึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน หรือการรักษาวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘2สาวใหญ่ตราด’ ขี่รถจยย.กลับบ้าน เจอสายอินเตอร์เน็ตเกี่ยวแฮนด์รถล้มบาดเจ็บทั้งคู่
ศูนย์รับเหตุ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดตราด ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเองมีผู้บาดเจ็บ 2 ราย บริเวณหน้าร้านนำโชค ถนนวิวัฒนะ ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด
ซีพี ออลล์ หารือ พอช. ขับเคลื่อน 4 project ใหญ่ เสริมศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนไทย
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. หารือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมหารือความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ คุณชลิกา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ซีพี ออลล์ ณ ห้องประชุมชั้น3 Joy of Life (สีลม ซอย 3)
พอช.: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
'เกาะช้าง-เกาะกูด' โกยรายได้พุ่งกว่า 300 ล้าน
นักท่องเที่ยวทะลักลงเกาะช้าง เกาะกูดปลายปี 67 เผยวันที่ 30 ธค.67 มากสุด ผอ.ททท.ตราดระบุเกิน 3.5 หมื่นคน รายได้กว่า 323 ล้านบาท
รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!
เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน