ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน เปิดวงแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ

กทม. : วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2567 ภาคีขับเคลื่อนและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน องค์กรระหว่างประเทศ พร้อมผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 13 ประเทศ เปิดวงแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนในระดับเอเชียและนานาประเทศ นำเสนอรูปธรรมกลไกและปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาเมือง สังคม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา

กระทรวง พม. โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเซีย มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายสถาปนิกชุมชน (CAN) หน่วยงานภาคีสนับสนุนและองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ UN-ESCAP, UN-HABITAT, International CO-Habitat Network, Development Planning Unit, University College of London, Habitat for Humanity ร่วมจัด การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference)  : “คำตอบคือชาวชุมชน  ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น  “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 4 กรกฎาคม 2567

บทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน ในภูมิภาคเอเชียและนานาประเทศ

  • พลังผู้หญิงร่วมสร้างบ้าน แห่งปากีสถาน

มีการสนับสนุนชุมชนในเรื่องของการพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน มีการสร้างบ้านดินในพื้นที่ชนบท สภาพบ้านเรือนของชุมชนในชนบทมีการสร้างที่พักพิงที่อาศัยอยู่แบบง่ายๆ มีการส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในการร่วมกันสร้างบ้านดิน รวมถึงการสร้างบ้านดินที่สามารถป้องกันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี และมีรูปแบบ Chaunras” มีลักษะทรงกรม บ้านลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากในพื้นที่ที่เป็นทะเลทราย ป้องกันภัยพิบัติได้ และส่งเสริมให้คนในครอบครัวทุกคนนั้นได้สร้างบ้านของพวกเขาเอง มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ ให้แต่ละครอบครัวสร้างห้องน้ำของตนเองได้ ก่อนหน้านั้นหลายๆ ครอบครัวอยู่ที่พักพิงแบบเปิดโล่ง ไม่ปลอดภัย ไม่ถูกสุขลักษณะ หลังจากที่สร้างห้องน้ำแล้ว จะเห็นว่าทุกคนสุขอนามัย นอกจากนั้นมีแหล่งน้ำอยู่ 2 แหล่ง คือ บ่อน้ำ ซึ่งเขาต้องเดินทางไปไกลเพื่อไปตักน้ำที่บ่อน้ำ เรามีการจัดหาเครื่องสูบน้ำ ใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้มือปั๊มน้ำขึ้นมา ทำให้เขาได้มีน้ำใช้ได้ดียิ่งขึ้น และมีจุดเก็บน้ำใต้ดิน เพราะที่นี่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีคลองเดียวที่ผ่านพื้นที่บริเวณดังกล่าว หลังจาก 15-20 วัน เมื่อมีน้ำผ่าน เขาก็จะใช้ถังใต้ดินเก็บน้ำเอาไว้ และยังมีการติดตั้งไฟโซลาร์เซลล์ มีการติดตั้งไฟฟ้าตามถนน             โครงการดังกล่าวทำร่วมกัน 3 ตำบล 190 หมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านห่างไกลในชนบท โดยส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในระดับต่ำในศาสนาฮินดู ทุกคนมีประวัติในการต่อสู้กับชนชั้น ในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา พวกเขาอาศัยในที่ดินของรัฐ บางชุมชนมีการหารือต่อรองกับรัฐบาล เพื่อให้มีโฉนดในที่ดินแห่งนั้น  บางชุมชนมีการซื้อที่ดินของตนเอง สามารถตั้งรกรากในที่ดิน มีการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม และหาวิธีเพื่อให้น้ำผ่านพื้นที่ของชุมชน ต่อมารัฐบาลได้สร้างระบบระบายน้ำ เมื่อน้ำมาจะทำให้น้ำระบายลงคูน้ำต่างๆ ได้

  • พลังอาปัส สร้างความสามัคคีคนในชุมชน ประเทศอินเดีย

อินเดียมีทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่ที่อยู่อยู่ใกล้ปากีสถาน สิ่งที่ขาดแคลนคือน้ำ คนมาทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของทุกคน ครอบครัวและเด็กๆ หากเขาต้องการน้ำ เขาก็มาทำร่วมกัน เรียกว่า “เวย์ดัส” เป็นการค้นหาแหล่งน้ำใต้ดินที่บริสุทธิ์มาใช้ แต่ละครอบครัวก็จะส่งตัวแทนมาทำงานร่วมกันกับผู้นำ “อาปัส” เป็นวิธีการทำงานของพวกเขา ไม่ใช่แค่การขุดบ่อน้ำอย่างเดียว การสร้างบ้านหรือที่พักพิงของเขา เป็นกิจกรรมที่สามารถพบได้โดยทั่วไป เราพยายามสร้างบ้านและหาวิธีที่จะทำให้อากาศถ่ายเท ให้บ้านเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย

ในขณะที่อินเดียมีบ้านที่สร้างโดยรัฐบาล เป็นบ้านสำหรับกลุ่มคนที่เปราะบาง และมีความเชื่อของครอบครัวที่นี่คือ หากมีเด็กเกิดขึ้นใหม่เขาจะมีการทำลายกำแพง แล้วสร้างห้องขึ้นมาใหม่อีกห้องหนึ่ง ในปัจจุบันสามารถใช้เทคโนโลยีและความสามัคคีของคนในชุมชน ในพื้นที่ชนบทรัฐบาลอินเดียทำการศึกษา และใช้กระบวนการเรียนรู้ว่าสิ่งไหนที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ปัจจุบันมีบ้านหลากหลายประเภท ปัจจุบันมีมากกว่า 250 ประเภท เรามีการทำงานร่วมกันชุมชนและรัฐบาลมาสนับสนุน  

ประเทศอินเดียมีความแตกต่างระหว่างชุมชนที่อยู่ในเขตเมืองและชนบท มีรูปแบบหลากหลาย เช่น บ้านแถว อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ สถานการณ์ในชุมชนเมือง มีการให้ชุมชนย้ายออกจากพื้นที่ และมีการสร้างบ้านให้ แต่ก็ไม่มีใครเข้ามาอยู่ในที่อยู่อาศัยที่รัฐจัดให้ เพราะชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วม เราจึงเข้าไปร่วมพัฒนา ให้ชุมชนเข้ามาร่วม มีการลงพื้นที่คุยกับชาวบ้าน เอาผังมาให้เขาดู และได้ให้เขาได้ออกแบบร่วมกัน เริ่มออกแบบด้วยตัวเขาเอง มีการวางผังร่วมกันของชุมชน เขาต้องการบ้านที่เขาได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่เขาต้องการ มีสวน มีพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ส่วนรวม จนได้รูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายตามความต้องการของชุมชน มากกว่า 30 รูปแบบ ทั้งแบบ 2 ชั้น และ 3 ชั้น

จากบทเรียนที่ทำถ้าเราเปลี่ยนวิธีการใหม่ อาจจะมีรูปแบบใหม่ๆ มาทำงาน มีการร่วมหารือกับรัฐ คิดว่าการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนจะเป็นอีกทางเลือกสำคัญในการดำเนินการ

  • บ้านหอยทาก บ้านคนหนุ่มสาว ในประเทศเกาหลีใต้

ประเทศเกาหลีใต้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง แต่ก็มีปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอยู่เป็นจำนวนมาก โดยภาพรวมสภาพเมืองมีการพัฒนา แต่มีบ้านที่เป็นชุมชนแออัดอยู่ จากสถิติมีการจัดหาที่อยู่อาศัยโดยภาครัฐ ทำให้คนสามารถมีที่อยู่อาศัยได้จริงๆ เพียงแค่ 6% มีประเภทบ้านการเคหะ เป็นอพาร์ทเม้นท์ ปัจจุบันไม่มีบ้านอย่างนี้มากนักในเขตเมือง ชุมชนรายได้น้อยล่มสลายจากกระบวนการพัฒนา

พวกเราทำ “บ้านหอยทาก” ของสหกรณ์มินส์ เฮาส์ซิ่ง มีสมาชิกกว่า 300 ราย มีการทำงานในเรื่องของการสร้างบ้านสำหรับคนหนุ่มสาว เราพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเราเอง ปัจจุบันมีนโยบายคือ การแชร์บ้าน ที่เรียกว่า “ระบบ LS” เป็นองค์กรที่มาร่วมดูแลเรื่องที่อยู่อาศัย บ้านเป็นของประชาชน แต่สิทธิ์ที่ดินเป็นอีกเจ้าหนึ่ง ดำเนินการคล้ายๆ สมาคม และหน่วยงานก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะค่าเช่าแพงเกินไป โชคดีมีการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมแก้ปัญหาร่วมกับผู้เช่า พยายามสร้างและฟื้นฟูชุมชนในเมืองของเรา ในเมืองที่เราก่อสร้างมีบ้านที่ให้เช่า โดยภาครัฐ ประชาชนก็ไม่ค่อยยอมรับบ้านเช่าที่รัฐดำเนินการ และแรงกดดันในเรื่องของบ้านก็มีแรงกดดันของชุมชน ในส่วนที่อยู่อาศัยมีสมาคมดูแลเรื่องนี้ มีการดูแลเรื่องการเงิน มีการจัดประชุมกัน เพื่อดูสถานการณ์ในการวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัย เราร่วมกระบวนการ และชุมชนร่วมออกแบบ ชื่อของอาคารขึ้นกับตำแหน่งที่ตั้ง มีการประชุมสมาชิก ในอาคารมีพื้นที่กลางที่ใช้ร่วมกัน และมีการจัดการร่วมของสมาชิก เราพยายามหาโมเดลที่ให้เกิดความยั่งยืน และให้ชุมชนเข้มแข็ง

“รัฐบาลเกาหลีอาจจะไม่มีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของผู้เช่า เป็นสิ่งที่เราต้องจัดหาและจัดสรรที่อยู่อาศัยของประชาชน ที่ริเริ่มจากภาคเอกชน คิดว่ารัฐบาลควรทำตามเพื่อให้ใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

  • IBASYOพื้นที่กลางเชื่อมโยงคนในชุมชน ในประเทศญี่ปุ่น

ปัญหาอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นคือ ประชากรเข้าสู่วัยชรา ร้อยละ 28.9  และนอกจากนี้อัตราการเกิดต่ำ เพียงแค่ร้อยละ 1.26 สามีภรรยามีลูกน้อย และเด็กอยู่ในสถานะพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่า เด็ก 1 ใน 7 คน อยู่ในฐานะยากจน แต่ละครอบครัวมีผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัว และอาศัยอยู่คนเดียว จากตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้เมืองหายไปในอนาคต รัฐบาลท้องถิ่นมีทั้งหมด 1,800 แห่ง และ 896 แห่งจะต้องปิดตัวลงไป เพราะจะไม่มีเมืองในอนาคต และมีบ้านว่างเปล่าประมาณ 21 ล้านหลัง ในเมืองโตเกียว โอซากา โอจิยะ ก็จะมีบ้านเพิ่มขึ้นในลักษณะอพาร์ทเม้นท์ หรืออาคารสูง สถานการณ์ทางสังคมก็เปลี่ยนไป ในช่วงโควิด-19 โรคระบาด และ IT เราต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ว่าการทำบ้านเพื่อชุมชนอย่างไร

IBASYO” พื้นที่ส่วนรวม หรือ พื้นที่เชื่อมโยงระหว่างคนในชุมชน และในประวัติศาสตร์ลักษณะของพื้นที่สลัม จะอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ในปี 1970 มีบ้านของรัฐที่สร้างเป็นอาคาร/ตึกขึ้นมา พื้นที่ชุมชนก็เสียพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันไป เรามีความพยายามสร้างกระบวนการให้พื้นที่เหล่านี้ ในกระบวนการออกแบบบ้านเพื่อชุมชน ให้มีการฟื้นฟู และให้คิดออกแบบพื้นที่กลางร่วมกัน คนที่จะอยู่ในอาคารเหล่านี้เขาก็จะต้องแชร์ความเห็นอื่นๆ กับคนที่อยู่ร่วมกัน และสถาปนิก รวมถึงรัฐบาลก็จะเข้าร่วมในกระบวนการนี้ด้วย มี 3 รูปแบบ ในปี 1995 มีการพัฒนาพื้นที่คันไซ ในภาคอีสานของญี่ปุ่น มีการฟื้นฟูบ้าน ที่อยู่อาศัย กลายเป็นลักษณะบ้านชุมชนรูปแบบหนึ่ง มีการสร้างพื้นที่ที่คนมาใช้ร่วมกันในชุมชน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนร่วมจากชุมชนไม่ได้มีมากนัก เพราะฉะนั้นบ้านโดยชุมชน เราพยายามสร้างพื้นที่ร่วมกันตั้งแต่พื้นที่ระดับชุมชนขึ้นมา พยายามสร้างพื้นที่ส่วนกลาง ที่เป็นเมืองของชุมชน

ในการออกแบบจะต้องใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการออกแบบ โดยพื้นฐานของญี่ปุ่นตัวบ้านกับเมืองจะแยกออกจากกัน ไม่เหมือนประเทศในเอเชียที่มีความยืดหยุ่น เราก็พยายามสร้างและนำพื้นที่ หรือเขตที่อยู่อาศัยกับตัวเมือง เราดึง 2 ส่วนนี้กลับคืนมา เป็นพื้นที่ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ส่วน ที่เป็นพื้นที่ที่คนสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน และนอกจากนี้ในปัจจุบันไม่ใช่พื้นที่ส่วนรวมตรงนี้ คนที่ฐานะดี เขาก็อยากมีพื้นที่ส่วนรวมแบบนี้เหมือนกัน

  • บ้านโดยชุมชน ที่นามิเบีย แอฟริกาใต้

มีองค์กรที่รวมตัวกัน และอีกกลุ่มหนึ่ง มี NGO ที่ทำเรื่องที่อยู่อาศัย มีการออมเงินกันเพื่อสร้างบ้าน และ  2 ใน 3 ของสมาชิกสหพันธ์เป็นผู้หญิง มีกระทรวงต่างๆ สถาบันการศึกษา มีการทำความร่วมมือกับท้องถิ่น ธนาคารเองก็มีการปล่อยกู้ มีกิจกรรมของกระบวนการเคลื่อนไหว มีการฝากเงิน มีการก่อสร้างบ้าน มีการส่งเสริมการเข้าถึงที่ดินและบริการ มีการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงบริบท ชีวิตความเป็นอยู่ชุมชน ข้อมูลที่เก็บก็จะเป็นจำนวนสมาชิกในครอบครัว ความต้องการต่างๆ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และมีการนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญ นอกจากนี้มีการให้บริการในพื้นที่ เช่น การขุดหาแหล่งน้ำ เพื่อประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย การสร้างบ้านสำหรับคนจน ที่ไม่มีเงินพอในการสร้างบ้าน ก็ใช้ระบบต่อเติมสร้างบ้านให้คนกลุ่มดังกล่าว

บทบาทของรัฐมีการสนับสนุนเงินให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย - ปานกลาง เป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลในการจัดหาที่อยู่อาศัย มีการให้เงินกู้ เริ่มต้น 1 ล้านเหรียญ รัฐบาลเองมีความมุ่งมั่น มีให้เงินเพิ่ม 10 ล้านเหรียญ

  • สหกรณ์ ทางเลือกการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชน ในสวิตเซอร์แลนด์

ในยุโรปสหกรณ์มีการดำเนินการมา 100 ปีแล้ว และค่อนข้างทำงานสำเร็จ สำหรับคนที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง เพื่อให้เขามีทางเลือกเพื่อที่อยู่อาศัย บริบทในการพัฒนาที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน สหกรณ์มีกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย มีการเชื่อมโยงในพื้นที่ส่วนรวม และการพัฒนาเมืองและมีการเชื่อมโยง 

สำหรับที่อยู่อาศัยในเมืองเจนิวา สวิตเซอร์แลนด์ มีการทำในรูปแบบสหกรณ์ที่อยู่อาศัย อยู่ในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ มองถึงเรื่องกฎหมาย ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องสร้างผลกำไร มีบ้านตก 8 หมื่น/ห้อง มีผู้มีบทบาทในหลายส่วน และสิ่งที่น่าสนใจคือ กรอบกฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์ ที่อยู่ในรูปแบบสหราชอาณาจักร เราดำเนินการในลักษณะจังหวัด แต่ละที่มี กม. ที่ไม่เหมือนกัน บางอสังหาริมทรัพย์บริหารแบบไม่หวังผลกำไร บ้านเช่าของสหกรณ์มีราคาไม่แพง และมีสหกรณ์ Primo มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งย่าน

  • กลุ่มองค์กรและเครือข่ายระหว่างประเทศ : Co-Habitat Network Habitat International Coalition

เรามีองค์กรประเภทต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่าย ในปี 1995 ได้เริ่มรวมตัวกัน และเราต้องสร้างกลยุทธ์และการสร้างที่อยู่สากล ที่เราจะส่งเสียงของเราออกไปให้หลายๆ ที่ทั่วโลกได้รับทราบ ปีที่แล้วเราทำงานร่วมกันเพื่อปรับความเข้าใจ หาวิธีในการทำงานร่วมกัน เรามีเป้าหมายในการสร้างชุมชน และส่งเสริมการเคลื่อนไหวองค์กรที่ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางร่วมกันในระดับโลก เรามีเครื่องมือต่างๆ และพยายามให้มีการแลกเปลี่ยนและประสบการณ์ร่วมกัน เรามีการรวมตัวกันประชุม มีการตั้งประเด็นร่วม และดูว่าบริบทของแต่ละท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

จากการรวมตัวกัน ก็มีความพยายามไปเยี่ยมชมสหกรณ์ที่จัดตั้งเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้เรียนรู้ไปด้วย เราเองพร้อมสนับสนุนกิจกรรมและงาน Event ต่างๆ ร่วมกันด้วย เช่น การประชุมนานาชาติ ด้วยวิธีนี้เป็นการส่งเสริมสิทธิและเสียงของเขาด้วย และเป็นการศึกษาเรียนรู้ของแต่ละพื้นที่ มีการสรรหาในเรื่องความรู้ พร้อมถอดบทเรียนออกมา และเรื่องการเงินนั้นสำคัญเช่นกัน เราพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนกลยุทธ์ พร้อมทั้งหาผู้ที่มีบทบาทด้านการเงินจากภาคส่วนต่างๆ มีการเชิญเครือข่ายและรัฐบาลท้องถิ่นมาอภิปรายร่วมกัน เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือ “การรวมพลัง”

ในขณะที่วันที่ 3 กรกฎาคม มีการนำเสนอจากการแบ่งกลุ่มย่อย ในประเด็น ปัจจัยการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ชุมชนเป็นหลัก ทิศทางการขับเคลื่อนในแต่ละเรื่อง และแนวทางสู่อนาคต มีสาระสำคัญคือ

1.ระบบการเงินชุมชน แนวทางระบบการเงินเพื่อสนับสนุนระบบที่อยู่อาศัยโดยชุมชน ปัจจัยที่เราได้คุยกัน ประสบการณ์กองทุนในระดับเมืองนั้น จริงๆ เกิดมาจากคน ที่มีการคิดค้น และดำเนินการ เป็นศูนย์กลางของโครงสร้างการเงิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้ระบบนั้นดำเนินการไปได้ กองทุนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการขยายเชื่อมโยงกันไปสู่บ้านหรือที่อยู่อาศัยโดยชุมชน มีการเชี่อมโยงเครือข่าย ที่ทำให้กลไกทางการเงินนั้นประสบผลสำเร็จ มีระบบที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ยังมีเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจของกันและกัน มีส่วนทำให้เครือข่ายของคนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เกิดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรชุมชนและรัฐบาล ที่ทำให้รัฐบาลนั้นมาสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้บ้านโดยชุมชนนั้นดำเนินการไปได้ และเอกชนก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน รวมถึงหุ้นส่วนอื่นๆ ที่มีการทำความร่วมมือและดำเนินการร่วม เป็นการใช้ประโยชน์และหาแหล่งทุนเพิ่มเติม มีการสนับสนุนเรื่องเงินกองทุน ฉะน้นการทำงานร่วมกับองค์กรชุมชน บริษัทเอกชน รวมถึงบริษัทผลิตหรือขายวัสดุก่อสร้าง ก็มีความร่วมมือกัน การบริหารกองทุนระดับเมือง แต่บางทีการให้องค์กรชุมชนจะบริหารในท้องถิ่นก็ยาก บางครั้งการปล่อยกู้ ก็ให้กู้รายบุคคล ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน มีการเจรจาต่อรองกับหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ธนาคารเองก็มีการปล่อยกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าแหล่งอื่นๆ สิ่งที่เราได้คุยกันคือการสร้างระบบการเงินและการปล่อยกู้ระดับโลก หากเรามีการตั้งกองทุนระดับภูมิภาค และระดับโลก ก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ เช่น ACHR มีความเข้มแข็ง สามารถเจรจาหรือหารือกับองค์กรอื่นๆ ได้

2.ระบบที่ดินร่วม ที่ดินชุมชน โฉนดชุมชน พบว่า มีที่ดิน 2 ประเภท คือ 1) ที่ดินของรัฐ 2) ที่ดินของเอกชน มีหลายระดับของกรณีศึกษา มีการศึกษาจากพื้นที่ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และนำโดยชุมชนในการไปซื้อที่ดิน โดยใช้ทุนทางสังคม นำไปสู่การเจรจากับเจ้าของที่ดิน องค์ประกอบสำคัญคือทำให้คนตื่นตัว และให้เขามีส่วนร่วม มีบทบาทในการไปเจรจา จากการทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนเขาก็มีการเป็นองค์กรขึ้นมา เช่น กรณีที่ดินของรัฐจะต้องมีการจดทะเบียน เราต้องทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อให้ได้โฉนดออกมา และมีหลายกรณีที่รัฐบาลให้การสนับสนุนจากการเจรจาจากองค์กรชุมชน ประชาสังคม และหน่วยงานต่างๆ ที่ต่อรอง บางที่มีรูปแบบสมาคม มีการกระจายตัวอยู่ในหลายๆ ภูมิภาค ต้องได้รับการให้ความรู้ด้านเทคนิค เรื่องความรู้ และทำให้ที่ดินนั้นถูกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน การเวนคืนที่ดินให้คนสามรรถจัดหาที่ดินได้มากขึ้น และที่ดินเอกชนต้องมีสถาบันทางการเงินเข้ามาช่วยสนับสนุนชุมชน เช่น กองทุนด้านที่ดิน หรือ องค์กรระบบทางการเงิน ที่จะมาช่วยในการซื้อที่ดิน การสร้างความมั่นคงในด้านที่ดิน หากเป็นที่ดินของรัฐ ก็มีการเช่าสิทธิในที่ดินนั้นระยะยาว มีการผลักดันให้รัฐบาลให้สิทธิในการเช่าที่ดิน ทำให้เขามีโอกาสที่จะทำโฉนดในการได้ที่ดินมา อาจจะไม่ได้เป็นที่ดินที่จะสามารถซื้อ-ขาย หรือเป็นโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีกรอบกฎหมาย ในการสนับสนุนโฉนดดังกล่าว รวมถึงการท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับประเทศต้องมีนโยบายระยะยาวในการจัดหาที่ดินให้กับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง

3.องค์กรชุมชน เครือข่าย และการบวนการบริหารจัดการร่วมของชุมชน มีการคุยในเรื่องเครือข่ายที่เข้มแข็งของแต่ละประเทศ มีการขยายความคิดและการทำงานไปยังเครือข่ายใหม่ๆ ทำให้แนวคิดของรัฐเปลี่ยนไป มีการเจรจาต่อรอง มีผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ เข้ามา ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองมากนัก มีกลยุทธ์ การทำแผนที่ ทุกคนมีส่วนร่วม มีกลยุทธ์กับภายนอก การต่อรอง การเข้าไปหาผู้มีบทบาทอื่นๆ และเรื่องของเครือข่ายมีมระดับชุมชนและชุมชน และชุมชนกับกลุ่มอื่นๆ มีหลากหลายรูปแบบ ความท้าทายในการบูรณาการร่วมกัน คน ที่เป็นเยาวชน องค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดร่วมกัน และ พอช. มีบทบาทเป็นผู้เชื่อมโยง การยกตัวอย่างภาคประชาชนไปเป็นตัวแทนในสภา

4.จาก “บ้าน” สู่การพัฒนาที่มากกว่าบ้าน และนำสู่พัฒนาที่ต่อเนื่องยั่งยืนในทุกมิติ การสร้างกลุ่มออมทรัพย์มากจากผู้เดือดร้อน มีการออกแบบ วางผัง ใช้ใจร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดกลุ่มออมทรัพย์เข้มแข็ง มีการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นและการทำงาน มีการดูพื้นที่และบริบทความต้องการ มีความาร่วมมือกับทุกภาคส่วน เช่น ญี่ปุ่น มีการทำที่อยู่อาศัย มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ใช้พื้นที่กลางเป็นคาเฟ่ ร้านอาหารให้คนมาแลกเปลี่ยนให้เขาได้พูดคุยและนำมาสู่การแก้ไขปัญหา ใช้ภูมิปัญญา ใช้หัวใจในการพัฒนา มองให้รอบด้านครอบคลุม ลึก ไม่ได้มองแค่ความผู้นำ มองถึงความเป็นพี่น้อง ซึ่งองค์ประกอบให้เกิดความยั่งยืน ต้องคิดจาก 1) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน อยากเห็นการพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน พร้อมที่จะเดินและจูงมือกันไป 2) ทุน/เงินทุน จะช่วยให้สร้างทุกอย่างได้ โดยการสร้างระบบทุนภายใน มีการออมทีละเล็กทีละน้อย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนร่วม เพื่อสร้างเพื่อนและเครือข่าย 4) มองหาโอกาส เพื่อพัฒนาไปข้างหน้า 5) การสร้างวัฒนธรรมและกำลังใจที่ดี เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเป็นเพื่อนพี่น้อง 6) ความร่วมมือแนวราบ ที่มาจากชุมชน จากเมือง และประเทศ มีการเชื่อมโยงพลังเครือข่าย 7) การมีข้อมูลสถานการณ์ ภัยพิบัติต่างๆ 8) พัฒนาความสามารถของคน ให้มีการพัฒนาเสมอ ให้ได้ความรู้ มีการถ่ายทอด สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา 9) เสริมสร้างให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกันทางใจ สร้างตัวตนที่พร้อมเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เพราะการสร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความหิวโหย สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่าย

5.บทบาทสถาปนิกชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชน CAN เป็นเครือข่ายสถาปนิกชุมชน สถาปนิกจะสามารถปลดล๊อกและสร้างพลังให้กับชุมชนในการพัฒนา มีการแชร์ร่วมกัน มีการพูดถึงนิยาม ปรัชญาในการทำงานด้วยกัน คนมักจะคิดว่าสถาปนิกเป็นคนออกแบบบ้านราคาแพงๆ เท่านั้น แต่จริงๆ เขาสามารถให้พวกเราไปร่วมทำงานกับชุมชนได้ เพราะเราทำงานคนเดียว เราไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ สถาปัตยกรรมชุมชนมันมีหลายสิ่งอย่างมากๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ประกอบด้วย ความเข้าใจ ความใส่ใจ บ้านที่สวยงาม หรือความสัมพันธ์ที่เราตร้องสร้าง มีการสร้างสรรค์ร่วมกันของพื้นที่ ของชุมชน และหลายคนพยายามทำงานให้กับคนอื่นและผู้มีรายได้น้อย เพื่อสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น แม้จะมีความท้าทายต่างๆ ในส่วนของกลยุทธ์ในการทำ เราพร้อมที่จะส่งต่อความสุขให้กับทุกคน CAN เราทำงานร่วมกับนักศึกษา เยาวชน นักวิชาการ ที่ผ่านมา เราพยายามระดมสมอง คิดร่วมกัน และมีการแลกเปลี่ยน มีทุนให้สถาปนิกได้เรียนรู้ และเรามีแผนงาน 2024-2026 อยากเชิญชวนทุกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ CAN และส่งต่อความสุขร่วมกัน

6.การร่วมมือกับภาคเอกชน การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ที่ดินของรัฐและเอกชน หรือการเช่าระยะยาว การมีกองทุนชุมชน แผนการพัฒนา มีที่ดินในระดับเมือง ปัญหาเรื่องของค่าก่อสร้างที่สูงเกินไป เพราะมีราคาที่ดินสูง เราต้องมีนโยบายเพื่อปลดล๊อกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม และรัฐบาลต้องมาสนับสนุน เช่น BOI ที่จะมาร่วมพัฒนาสร้างบ้านให้ชุมชน รวมถึงอัตราเรื่องสิทธิในที่ดินรถไฟ รูปแบบของบ้านโดยชุมชน เราอาจจะต้องคิดถึงคนสูงวัย หรือคนที่ไม่ได้อยู่กับ และค่ากลุ่มประชากรที่มีความเชื่อศาสนาต่างกัน ให้คนในชุมชนร่วมบริหารจัดการ จะต้องมีบ้านหลายประเภท รูปแบบด้านการเงิน เพื่อส่งเสริมบ้านเพื่อชุมชน ต้องมีการขยายฐานกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย กองทุนเพื่อที่อยู่หรืออสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาในระดับเมือง/โครงการ และรูปแบบความมร่วมมือ การทำอสังหาริมทรัพย์ของชุมชน เอกชนให้การสนับสนุนให้คนในชุมชนเป็นแรงงานหรือการจ้างงาน

7.รูปแบบกลไกองค์กร กฎหมาย และความร่วมมือที่จำเป็น กฎหมายและรูปแบบเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน ต้องไม่มีการบังคับฟ้องขับไล่ แต่ละประเทศก็ไม่ได้มีตัวบท กฎหมายที่แตกต่างกันต้องมีเวทีในการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น และประเทศ อย่างสร้างสรรค์ ต้องมีการกำหนดนโยบาย และกำหนดแนวทางร่วมกัน มีการทำโครงการนำร่องและขยายผล เราต้องมาร่วมออกแบบกับชุมชน เราพูดถึงเรื่องการเงิน บทบาทของเอกชน เราจะสร้างแรงจูงใจกับภาคเอกชนที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุน

ทั้งนี้ในเวทีเดียวกันนี้ มีการแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางในการร่วมผลักดันสร้างบ้าน เพื่อชีวิตที่มั่นคง โดยระบุถึงรัฐต้องฟังเสียงสะท้อนปัญหาของประชาชน ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากเวทีการนำเสนอทิศทางการขับเคลื่อนในแต่ละเรื่อง และแนวทางสู่อนาคต โดย Dao Harison ตัวแทนจาก ธนาคารโลก มองว่า การวางผัง ระบบบริการต่างๆ สาธารณูปโภค ต้องทำงานกับรัฐบาล อีกทั้งในส่วนของโครงการต่างๆ ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ควรนำข้อมูลต่างๆ มาเชื่อมโยงกับระบบการเงิน ซึ่งระบบนิเวศที่อยู่อาศัย จะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่เอาระบบเหล่านี้มาปรับ ส่วนนักวิชาการ Adriana Allen, Development Planning Unit กล่าวว่า เราจะเชื่อม collective housing กับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ต้องกำหนดกลยุทธ์ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องที่อยู่อาศัยแม้ไม่ได้รับความสนใจจากสื่อ แต่เราต้องดูว่าบ้านคืออะไร เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ แต่ไม่ให้ความสำคัญ ภาคเอกชนก็ต้องมีการเกี่ยวข้อง

ในการนี้ วันที่ 4 กรกฎาคม ถือเป็นวันสุดท้ายของการสัมมนาในครั้งนี้ จะมีการนำเสนอและวางทิศทางร่วมกัน จากการหารือวางแผนการดำเนินงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการ สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยชุมชนที่กว้างขวางมากขึ้น ความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนระดับนานาชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

การเคหะแห่งชาติเข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวง พม. ครบรอบ 22 ปี

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีสงฆ์และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ