สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ผนึก "ธ.กรุงเทพ-ม.หอการค้าไทย" เปิดหลักสูตร พศส. ประจำปี 2567

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) ประจำปี 2567 ครั้งที่ 18 ในหัวข้อ “ปลดล็อกศักยภาพการเงิน สู่ความมั่งคั่งยุคดิจิทัล” ที่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 17 สิงหาคม 2567 ณ อาคาร 10 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นางสาวดวงพร อุดมทิพย์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ กล่าวว่า การจัดการอบรมให้ความรู้ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นประจำทุกปี ในการจัดการอบรมจะใช้เวลาอบรม 6 สัปดาห์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน - 17 สิงหาคม 2567

สำหรับวัตถุประสงค์ของการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมด้านการเงิน-การลงทุนในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนสำคัญมากขึ้นและส่งเสริมให้ผู้สื่อข่าวพัฒนาศักยภาพการนำเสนอข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจผ่านสื่อรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวพจณี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ มีความยินดียิ่งที่มีโอกาสได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) ที่ธนาคารเล็งเห็นว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ผู้สื่อข่าว ในแง่การส่งเสริมความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงล่าสุดในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นปีที่ 18 โดยคณะผู้จัดกิจกรรมได้เลือกหัวข้อ “ปลดล็อกศักยภาพการเงิน สู่ความมั่งคั่งยุคดิจิทัล”

ทั้งนี้ ปัจจุบันคำว่า “ดิจิทัล” คงเป็น New Normal สำหรับชีวิตประจำวันของพวกเรา ที่เริ่มคุ้นชินไปกันนวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดิจิทัล ระบบดิจิทัล จนถึงตอนนี้ที่แม้แต่เรื่องการเงินก็ถูกพัฒนาไปสู่โลกดิจิทัล ทั้งแบบที่เราคุ้นเคยกันอย่าง กระเป๋าเงินดิจิทัล และดิจิทัลแบงก์กิ้ง ไล่เรียงไปจนถึงโลกการเงินดิจิทัลที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่าง Cryptocurrency Blockchain และ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่จะก้าวเข้ามาเป็นมิติใหม่ที่ใช้ดิจิทัลมาช่วยคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ไม่แพ้กับปัญญาของมนุษย์

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าคิดต่อไปก็คือ ลำพังเพียงความรู้ด้านการเงินแบบเดิมที่เคยใช้กันอยู่ นับเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควร แม้แต่เรื่องพื้นฐานเรื่องออมเงิน เรื่องกู้เงิน ก็เป็นโจทย์ใหญ่เพราะหลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจ พวกเรายังส่งเสริมกันเรื่อง Financial Literacy กันเยอะมาก แต่วันนี้ทุกคนกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น เพราะเราต้องเอาบริบทด้านดิจิทัลเข้ามาผสมกับเรื่องการเงินเข้าไปอีกชั้นนึง เพื่อจะนิยามหรืออธิบายการเงินในยุคใหม่ที่ก้าวล้ำไปมากขึ้น ฉะนั้น เรื่องที่ยากอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนจะกำลังยากขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องที่ดี ที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และตั้งใจหยิบขึ้นมาเป็นหัวข้อสำคัญของโครงการฯ ในปีนี้ เพราะสื่อมวลชนถือเป็นตัวกลางสำคัญที่จะช่วยสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องไปสู่สาธารณะ ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสารออกไป จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อความน่าเชื่อถื ของสื่อมวลชน และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่พาผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านมาเติมอาหารสมองจานใหม่ไปด้วยกันในวันนี้

ธนาคารกรุงเทพเชื่อมั่นว่า “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง” ซึ่งในปีนี้จะช่วยให้พวกเราได้ “ปลดล็อกข้อจำกัดเดิม” และ “สร้างเสริมศักยภาพใหม่” ที่เราควรต้องมีสำหรับโลกการเงินในยุคดิจิทัล และแน่นอนด้วยหน้าที่วิชาชีพสื่อมวลชนของทุกท่าน จึงเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยกันส่งต่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหล่านี้ไปสู่ประชาชนในวงกว้าง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนโลกการเงินยุคใหม่ไปด้วยกันอย่างแข็งแรงต่อไป

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต้อนรับผ่าน VTR กับผู้เข้าร่วมอบรมฯ ว่า ในทุกปีมหาวิทยาลัยได้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้กับสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ แน่นอนว่าปีนี้เป็นอีกปีที่มหาลัยหอการค้าไทย มีความยินดีที่จะต้อนรับสำหรับบุคลากรสมาคมที่เข้ามาอบรมเพิ่มความรู้ด้านการเตรียมพร้มในทักษะเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางด้านข่าวสาร ด้านเศรษฐกิจ เชื่อว่านักวิชาการหลายท่านที่ทางสมาคมฯ ได้คัดสรรมาอย่างดี จะเข้ามาเติม ทักษะความรู้ต่างๆ ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้มหาวิทยาลัยหอการค้า ได้หารือนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่าในปีนี้จะยังคงเดินหน้าโครงการ CEO Award ถือเป็นงานที่ร่วมกันโดยคณะอาจารย์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ จะช่วยคัดกรองและคัดเลือก CEO ที่โดดเด่นทั้งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อได้รับรางวัล CEO Awards หรือสุดยอด CEO อีกทั้งยังเป็นงานที่นายกรัฐมนตรี จะมามอบรางวัลด้วย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้มอบทุนการศึกษาจำนวนหนึ่ง ผ่านสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ในการให้ทุนกับสมาชิกผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ได้เข้ามาเรียนหลักสูตรในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'PT'เขย่าวงการมอเตอร์สปอร์ต ทุ่ม 300ล้าน คว้าสิทธิ์'ไทยแลนด์ โมโตจีพี'3ปี

PTG สะเทือนวงการมอเตอร์สปอร์ต! ทุ่ม 300 ล้าน ผงาดคว้าสิทธิ์ไตเติ้ลสปอนเซอร์ “ThaiGP” 3 ปีรวด ภายใต้ชื่อ “PT Grand Prix of Thailand” ยาวถึงปี 2026 พร้อมเผยเตรียมเปิดขายบัตรกลางมิ.ย.นี้

'BBL' ปรับขึ้นดอกเบี้ยฝาก-กู้

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBLเปิดเผยว่า ธนาคารประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่มขึ้น

PTG ยิ้มปี 65 ยอดขายน้ำมันทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

PTG ลั่นปี 65 ยอดขายน้ำมันทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดันรายได้โตทะลัก 179,422 ล้านบาท พุ่ง 34.1% กางแผนปี 66 รับการเติบโตทุกมิติ อัดงบลงทุน 5,000-6,000 ล้านบาท ลุยขยายธุรกิจต่อเนื่อง วางเป้าปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านทุกช่องทางเติบโต 8-12%

เป็นต่อกรุ๊ป คิกออฟ โครงการ “เป็นต่อ เพื่อโอกาสที่ยั่งยืน” ทุ่มกว่า 1 ล้านบาท มอบทุนการศึกษา ให้โรงเรียนในอยุธยาที่ขาดแคลน

เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว สำหรับโครงการ CSR “โครงการเป็นต่อ เพื่อโอกาสที่ยั่งยืน” เฟส 1 โดย บริษัท เป็นต่อกรุ๊ป