“หาดเล็กบ้านในน้ำ” ชุมชนชาวประมงต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าแห่งแรกในประเทศไทย

พื้นดินส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย

ตำบลหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ชุมชนชาวประมงเล็กๆ เป็นชุมชนชายฝั่งชายแดน อยู่ทะเลด้านตะวันออกสุด และมีพื้นดินส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย บนเส้นทางสายตราด-คลองใหญ่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 81-82 ซึ่งสามารถวัดระยะความกว้างจากชายฝั่งทะเลถึงเส้นแบ่งเขตแดนทิวเขาบรรทัดไทย–กัมพูชา จุดที่แคบที่สุดวัดจากชายฝั่งทะเลจรดทิวเขาได้เพียง 450 เมตร  ต.หาดเล็ก เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ราบวัดจากขอบถนนถึงชายฝั่งทะเลเพียง 200 เมตร ด้านฝั่งภูเขาก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะเป็นเขตหวงห้ามตามแนวเขตเส้นพรมแดนประเทศ จึงทำให้ประสบกับปัญหาความแออัดของที่อยู่อาศัย ชุมชนต้องรุกล้ำลงไปในทะเลซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมเจ้าท่า

ชุมชนชาวประมงตำบลหาดเล็ก

มารู้จักกับหาดเล็กดินแดนตะวันออกสุดของประเทศ

ตำบลหาดเล็กประกอบด้วย 5 หมู่บ้านที่อยู่รวมกัน แต่ละหมู่บ้านมีจุดเด่นและปัญหาแตกต่างกันไป ด้านเหนือสุดของหาดเล็ก มีลักษณะเป็นป่าชายเลนอยู่แล้ว แต่ด้วยการสร้างบ้านเรือนและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ป่าเลยหายไปมาก   บริเวณกึ่งกลางหาดเล็ก มีปัญหาเรื่องคลื่นซัดแรงและลมพัดแรง เป็นหมู่บ้านที่บ้านเรือนเสียหายหนักที่สุด สิ่งแรกที่ต้องแก้ไขจึงเป็นการออกแบบแนวกันคลื่นโดยใช้ไม้ไผ่ คอนกรีต และป่าชายเลนเป็นตัวกรองแรงคลื่นรวมกัน 3 ชั้น  ถัดลงมาด้านใต้เป็นหมู่บ้านที่ยังทำประมงเรือเล็กอยู่อย่างชัดเจน และยังมีวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวหาดเล็กหลงเหลืออยู่มาก จึงเน้นการชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ชีวิต อยู่โฮมสเตย์ กินอาหารทะเล และเรียนรู้วิถีชาวประมงด้านใต้สุดแหลม ติดชายแดนกัมพูชา จึงเป็นที่ตั้งของตลาดสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้า หมู่บ้านนี้มีตลาดและลานกิจกรรมให้คนได้ออกมานัดเจอพบปะกัน ถัดลงมาด้านใต้ เป็นบริเวณที่มีคนอยู่เยอะที่สุด ทำให้เกิดปัญหาความเป็นอยู่ที่แออัด มีขยะเยอะ รวมถึงมีทั้งคนไทยและกัมพูชา เวลาจะคุยอะไรก็ต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ข้อดีคือที่นี่มีประเพณีดั้งเดิมน่ารักๆ หลายอย่าง เช่น ลอยกระทง 2 แผ่นดิน ไทย-กัมพูชา และงานแข่งเรือ สิ่งที่พวกเขาต้องการจึงเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับส่งเสริมให้กิจกรรมเหล่านี้เข้าถึงง่าย ปลอดภัย และเหมาะกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สภาพบ้านเรือนของตำบลหาดเล็ก

ผลกระทบจาก พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560

หลังจากรัฐบาล ออก พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ส่งผลให้ผู้ที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในน้ำต้องแจ้งขออนุญาตกับกรมเจ้าท่า ในเวลากำหนด หากเพิกเฉยจะมีความผิด มีโทษปรับย้อนหลัง ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว จึงมีการสั่งชะลอการบังคับใช้กฎหมายไว้ก่อนพื้นที่ ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ถือเป็นชุมชนชาวประมง ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่กรมเจ้าท่ามาช้านาน จำนวน 738 ครัวเรือน พื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากจะให้ย้ายขึ้นบนบก ย่อมไม่มีพื้นที่ราบ เพราะอยู่ติดภูเขา เทศบาลตำบลหาดเล็ก จึงร่วมกับผู้นำชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)-กรมเจ้าท่า ลงพื้นที่ทำการสำรวจพบบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ-ในน้ำ 504 ครัวเรือน ตามวิถีชุมชนดั้งเดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมใกล้พัง เจ้าของบ้านต่างได้รับความเดือดร้อนและวิตกกังวล ไม่สามารถซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ เนื่องจากฐานะยากจน และติดข้อกฎหมาย

ด้วยความร่วมมือของชุมชนในการช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่อย่างเต็มที่ จึงทำให้ได้รับการปลดล็อกจากกรมเจ้าท่าในการอนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ได้โดยมีข้อตกลงในการรักษาความสะอาดและห้ามบุกรุกเพิ่มเติม  ปัจจุบันพื้นที่นี้กำลังกลายเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติริมทะเล และถูกยกให้เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดการที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ของกรมเจ้าท่า ภายในชื่อ “หาดเล็กโมเดล”

พอช.ทุ่ม 31 ล้าน พัฒนา “หาดเล็กโมเดล” เป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนบนที่ดินกรมเจ้าท่า

จากการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนในที่ดินรัฐเพื่อซ่อมแซมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยใน ต.หาดเล็ก ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. พบว่า จำเป็นต้องมีการปรับปรุงที่ดินใหม่และที่ดินเดิมภายใต้งบประมาณกว่า 31 ล้านบาท ทั้งการจัดซื้อที่ดินสร้างบ้านใหม่ เพื่อลดการแออัดของจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ชุมชน และการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ทรุดโทรม สร้างตลาดชุมชน พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน นอกจากการทำประมงของชาวบ้านตำบลหาดเล็ก

ปัญหาการบุกรุกที่ดินรัฐทั่วประเทศพบว่ามีทั้งที่ดินกรมเจ้าท่า ป่าไม้ และป่าชายเลน ที่ถูกประชาชนบุกรุกเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งรัฐมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างระมัดระวัง ขณะที่ ต.หาดเล็กเอง จะเป็นต้นแบบของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาด้วยการไม่รื้อบ้านของผู้บุกรุก แต่กำหนดให้ไม่มีการรุกล้ำเพิ่ม รวมทั้งพัฒนาบ้าน พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นตามนโยบาลของรัฐบาล

พอช.จึงสนับสนุนงบประมาณจำนวน 31 ล้านบาทเศษ ใช้ซ่อมแซมบ้านเรือน วงเงิน 2.5 หมื่นบาท/หลัง และพัฒนาสาธารณูปโภค 2.5 หมื่นบาท ภายใต้ชื่อ “หาดเล็กโมเดล” ถือเป็นการเดินหน้าพัฒนา “โครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่กรมเจ้าท่า”

ชูหาดเล็กต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่า

ความไม่มั่นคงในที่ดินที่อยู่อาศัยของประชาชนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนในที่ดินกรมเจ้าท่าเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานหลายสิบปี  เนื่องจากที่ดินริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลที่กรมเจ้าท่าดูแลอยู่ทั่วประเทศ  มีประชาชนเข้าไปปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยต่อเนื่องมานาน  แต่ส่วนใหญ่ปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง  เมื่อบ้านเรือนทรุดโทรมก็ไม่สามารถซ่อมแซมหรือปรับปรุงสภาพให้ดีขึ้นได้  เนื่องจากติดขัดกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า  เช่น  พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย,พ.ร.บ.การประมง  ฯลฯ  อย่างไรก็ตาม  ที่ผ่านมา  รัฐบาลชุดปัจจุบันได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว  โดยใช้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหาดเล็ก  อ.คลองใหญ่  จ.ตราด  เป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาที่ดินกรมเจ้าท่า  โดยกรมเจ้าท่าออกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำแก่ชาวบ้านเพื่อซ่อมสร้างบ้าน รวมทั้งหมด 738  หลัง  และจะร่วมกับกรมท่าแก้ปัญหาทั่วประเทศ 

นาย ศุรศักดิ์ คุ้มปลี  รองนายกเทศมนตรีตำบลหาดเล็ก  กล่าวว่า  ชาวชุมชนหาดเล็กได้ร่วมกันพิจารณาวางหลักเกณฑ์ กำหนดกติกา หลักเกณฑ์และจัดระบบการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน และป้องกันการปลูกสร้างอาคารล่วงล้ำลำน้ำขยายเพิ่มขึ้น เกิดการปรับปรุง ซ่อมแซมหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคงแข็งแรงเหมาะสม ในการอยู่อาศัย ควบคู่กับการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนการพัฒนาตามแผนงานของชุมชน บูรณาการการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เกิดรูปธรรมการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ  ส่วนการซ่อมแซมบ้านจะซ่อมแซมบ้านเรือนที่ทรุดโทรมทั้งหมด  ใช้แรงงานจากสมาชิกในชุมชน  ช่างชุมชนอาสา  และทหารเรือ มาช่วยซ่อมสร้างบ้านให้กับชุมชน

จะเห็นว่าตำบลหาดเล็ก มีมีความโดดเด่นและหลากหลาย ชาวบ้านมีการสร้างบ้าน อยู่ในน้ำและจอดเรือไว้ บริเวณที่อยู่อาศัย ในอดีตที่นี้เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกบ้านในน้ำ แต่ชาวบ้านรวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น ดูแลรักษาผืนน้ำผืนป่าและระบบนิเวศน์ จึงทำให้กรมเจ้าท่าเห็นถึงความตั้งใจและการรวมพลังเพื่อพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและนำมาสู่การอนุญาต ให้มีการสร้างที่อยู่อาศัยในน้ำภายใต้ชื่อ "หาดเล็กโมเดล" ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเดินหน้าพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ของกรมเจ้าท่าและในที่สุดทำให้ "หาดเล็กโมเดล" ชุมชนในน้ำ ต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าแห่งแรกในประเทศไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘2สาวใหญ่ตราด’ ขี่รถจยย.กลับบ้าน เจอสายอินเตอร์เน็ตเกี่ยวแฮนด์รถล้มบาดเจ็บทั้งคู่

ศูนย์รับเหตุ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดตราด ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเองมีผู้บาดเจ็บ 2 ราย บริเวณหน้าร้านนำโชค ถนนวิวัฒนะ ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด

ซีพี ออลล์ หารือ พอช. ขับเคลื่อน 4 project ใหญ่ เสริมศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนไทย

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. หารือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการประชุมหารือความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบัน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ คุณชลิกา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืน ซีพี ออลล์ ณ ห้องประชุมชั้น3 Joy of Life (สีลม ซอย 3)

พอช.: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!

เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์

ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน