จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน จากความร่วมมือของคณาจารย์และนิสิตหลายคณะนำทีมโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน “Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ฯ

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดี และ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมเป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับ Ms.Lori van Dam, Chief Executive, Hult Prize Foundation และ Mr.Lars Svensson, Chief Executive, Sasin Sustainability & Entrepreneurship Center (SEC) ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร กล่าวว่า “ จุฬาฯมีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพงานแข่งขันระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องและครั้งนี้ก็มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน “Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok” นับเป็นงานระดับโลกในเวทีการแข่งขันแนวคิดธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development Goals) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า60ทีมจาก19ประเทศทั่วโลกพร้อมด้วยให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระดับผู้บริหาร ตัวแทนจากองค์กร Hult Prize ที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง และใช้โอกาสนี้ ในการผลักดัน Soft Power แบบ Thainess จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ณ จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากต่างประเทศได้รับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและเรียนรู้ประเพณีของประเทศไทยอีกด้วย

สำหรับ การแข่งขัน Hult Prize 2024 Global Summits นี้ จัดขึ้นใน 7 ประเทศทั่วโลกจาก 5 ทวีป โดยมีเงินรางวัลกว่า $1,000,000 สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขันเพื่อสร้างธุรกิจจริง ต่อยอดการทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน การจัดการแข่งขันในแต่ละปีได้รับความสนใจจากนักศึกษามหาวิทยาลัยจากกว่า 100 ประเทศ เข้าร่วม โดยในปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับภูมิภาค และดำเนินงานโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกันจากหลากหลายคณะ ร่วมกันจัดเตรียมงาน ดำเนินการแข่งขัน และดูแลผู้แข่งขันจากต่างประเทศ

เราเชื่อมั่นในการบูรณาการภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมร่วมกับจิตวิญญาณเพื่อสังคมและประเทศ จากทุกท่านทั่วโลก ที่มาร่วมประชันไอเดียธุรกิจสังคมที่ไร้ขีดจำกัด เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ สร้างโลกใบนี้ที่ดีขึ้นไปด้วยกัน

และจุฬาฯ มีมุ่งมั่นสู่ความเป็นผู้นำมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ผ่านนโยบายและการบริหารจัดการ การวิจัยและนวัตกรรม การเรียนการสอน รวมถึงการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chulalongkorn Business School (CBS) ในฐานะผู้นำสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สนับสนุนส่งเสริมนิสิตให้มีความเป็นผู้นำด้านธุรกิจพร้อมกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน” ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร กล่าว

โครงการ Hult Prize เป็นหนึ่งในการแข่งขันการเสนอแผนธุรกิจเพื่อสังคมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นโดย Bill Clinton อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Hult International Business School มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนา Social Business Ideas ที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสังคมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ โดยโครงการ Hult Prize ถือเป็นโครงการแนวหน้าที่สร้างคุณูประโยชน์ให้กับประชาคมโลกด้วยการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับประชากรโลกมากกว่า 50 ล้านคน การจัดการแข่งขัน Hult Prize 2024 Global Summits จัดขึ้นใน 7 ประเทศทั่วโลกจาก 5 ทวีป โดยมีเงินรางวัลกว่า $1,000,000 สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขันเพื่อสร้างธุรกิจจริง ต่อยอดการทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Hult Prize มาตั้งแต่ปี 2015 ภายใต้ชื่อ ‘Hult Prize at Chula’ ซึ่งเป็นการประกวดแข่งขันแนวคิดการสร้างธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก โดย Hult Prize at Chula มีเป้าหมายที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้นิสิตจุฬาฯ ได้พัฒนาศักยภาพผ่านการแข่งขันเวทีระดับโลก แก้โจทย์ปัญหาเคสธุรกิจที่ทั้งช่วยสร้างคุณประโยชน์ทางธุรกิจและสร้างผลกระทบทางสังคมให้โลกใบนี้ดีขึ้น โดยหัวข้อการแข่งขันในปีนี้ คือ “Unlimited” สร้างธุรกิจเพื่อสังคมที่ตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 1 เป้าหมาย การที่จุฬาฯ ได้มีส่วนเข้าร่วมในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่สำคัญของคณะทำงานทั้งคณาจารย์และนิสิตร่วมกันกับทีม Central Hult Prize, พร้อมที่จะนำประสบการณ์ดีๆครั้งนี้ไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง เพื่อขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

ต้อนรับศูนย์อินเดียฯ สู่สถาบันเอเชียศึกษา พร้อมเปิดตัวหนังสือพุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียในสมัยพุทธกาล

ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัดงานต้อนรับศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศอจ.) เข้าสู่สังกัดสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

'นพ.ยง' แนะแนวทางเรียนแพทย์บอกจบแล้วทำอาชีพอะไรก็ทำได้ดี

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย