กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” ประเดิมที่แรกอีสาน 20-22 มิถุนายน2567 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา เผยพร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( อว.) เปิดเผยว่า งาน “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” จัดขึ้นเพื่อแสดงศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจนวัตกรรม หรือ สตาร์ทอัพไทย ให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก ให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการตระหนัก สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถนำไปพัฒนาคนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในทุกช่วงวัย อีกทั้ง ขับเคลื่อนให้เกิดผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยี และการจัดการสมัยใหม่ รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่เชิงพาณิชย์ ที่สำคัญสามารถเป็นพลังสร้างผลลัพท์ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยพลังจากการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบกับนิทรรศและกิจกรรมมากมาย นิทรรศการ 6 โซน ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย
โซน Inspiration by Science ปลุกจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจ ให้เด็กๆ ด้วย คาราวานวิทยาศาสตร์ (Science Caravan) เพลิดเพลินไปด้วยชุดนิทรรศการแบบ interactive สามารถเรียนรู้และสนุกไปกับวิทยาศาสตร์ พร้อมสัมผัสประสบการณ์สุดล้ำน่าตื่นเต้นไปกับ AR / VR และโดม Immersive Art ระเบิดจินตนาการสุดสนุกสนาน Financial Boardgame เกมเสริมทักษะทางการเงิน สำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบ Learning by Playing และเกมหุ้นซิ่งวิ่งทะลุกระดาน (Trader Hunter) เรียนรู้เรื่องพื้นฐานการลงทุนในหุ้นสามัญ ความสำคัญของการกระจายความเสี่ยง กลไกที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้น เป็นต้น
โซน Science for Lifelong Learning นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตร ที่รวมเอาหลักสูตรสมัยใหม่สำหรับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยี AI อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน การพัฒนาอุตสาหกรรม oleochemical ให้สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค เช่น หลักสูตรดิจิทัลสร้างสรรค์ (Creative Digital) เป็นการยกระดับศักยภาพผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์ในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน Tourism wellness ทำให้การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพมีความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โซน Startup Launchpad นิทรรศแสดงสินค้านวัตกรรมจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่สาย deep tech อัพเดทเทคโนโลยีฝีมือคนไทย สำหรับการเป็นผู้ประกอบการวิสัยทัศน์ไกล เปิดตลาดเป็นผู้นำนวัตกรรมใหม่ๆเข้าสู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมการประกวดแข่งขันไอเดียธุรกิจนวัตกรรมล้ำสมัย เช่น Asseztechเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นมีบทบาทในการให้บริการจัดทํา Asset ในรูปแบบของ 3D Model
โซน Science for Exponential Growthรวบรวมบริการและกลไกสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยแพลทฟอร์มอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และกลไกสนับสนุนของกระทรวง อว. ที่หลากหลายรอบด้านครอบคลุมการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น จนเติบโตขยายกิจโดยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเข้าไปถ่ายทอดความรู้และบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สร้างสตาร์ทอัพไทย ช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ แก้ปัญหา ให้คำปรึกษาธุรกิจ ส่งเสริมกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นแบบถึงระดับ pilot scale ช่วยทดสอบตลาด และส่งเสริมการตลาดจนธุรกิจเติบโตยั่งยืน
โซน Science for All Well-being แสดงสินค้าและบริการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น บริการโดนเพื่อการเกษตรและการพัฒนาธุรกิจ สินค้านวัตกรรมรองเท้าเพื่อสุขภาพ สินค้านวัตกรรมดับจับฝุ่น และแปลงขยะเป็นพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น DAORUANG X เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินบำรุงดวงตา อุดมไปด้วยสารสกัดลูทีนและซีแซนทีนจากธรรมชาติที่มีประโยชน์และมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาในระยะยาว มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ เพิ่มวิตามินซีเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน และไม่มีน้ำตาล ใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปลอดภัย ในปริมาณที่เห็นผลและไม่ตกค้างในร่างกาย
โซน Science for Future Thailand รวมเอาเทคโนโลยีสุดล้ำ ผลงานวิจัยที่พร้อมต่อยอดเป็นนวัตกรรมล้ำค่าในอนาคต การเสวนาด้าน AI และเทคโนโลยีในอนาคต เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับกระดูกสะโพกหักจากภาพเอกซเรย์ โดยการใส่ภาพเอกซเรย์กระดูกสะโพกผ่าน CNN model ที่ได้รับผ่านการเรียนรู้โดยข้อมูลทางการแพทย์ที่ถูกเตรียมอย่างถูกต้องแม่นยำ
สำหรับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” ประเดิมที่แรก ภาคอีสานระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2567 ณอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา อาทิ นิทรรศการเทิดพระเกียรต(Royal Pavilion) SCI ROV Tournament, Innovation Award 2024, การประกวดวาดภาพ, การประกวดร้องเพลง, กิจกรรมสัมมา, การแสดงนวัตกรรมตลาดนัดหลักสูตร, การจำหน่ายสินค้า,โซนนิทรรศการผลงานเด่น, มินิคอนเสิร์ต, และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายภายในงาน ทั้งนี้ จะมีกำหนดจัดอีก 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ วันที่ 27 -29 มิถุนายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จ.เชียงใหม่ ภาคใต้วันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารไทยบุรี ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช และ ภาคตะวันออก วันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมธำรงบัวศรี ม.บูรพา จ.ชลบุรี น.ส.ศุภมาส กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าเที่ยวชมงานดังกล่าวฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2567 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล