"ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ 10" "โอกาส และอนาคต ของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม" ดร.กอบศักดิ์ กล่าว การสร้าง Collective นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาที่แท้จริง

วันนี้ (21 มิถุนายน 67)  เวลา 9.00-12.00 น. ที่หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ถนนรัชดาภิเษก  กรุงเทพฯ   มีการจัดงาน ‘ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ 10’ เรื่อง "โอกาส และอนาคต ของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม"  โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากภาคเอกชน  หน่วยงานรัฐ  และภาคประชาสังคม  ประมาณ 200 คน 

โครงการปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม’  จัดโดยมูลนิธิหัวใจอาสาและภาคีเครือข่าย  เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ในการสร้างสังคมไทยให้น่าอยู่ และร่มเย็นเป็นสุข  โดยการสร้างสังคมที่พึงปรารถนา  ซึ่งประกอบด้วย  สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน  สังคมที่เข้มแข็ง  สังคมคุณธรรม  และสังคมประชาธิปไตย

อาจารย์ไพบูลย์  เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2484  ที่อำเภอผักไห่  จ.พระนครศรีอยุธยา  เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Hull  ประเทศอังกฤษ   เคยทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย  เคยเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ   เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน  ฯลฯ

อีกด้านหนึ่ง  อาจารย์ไพบูลย์เป็นนักพัฒนาชุมชนและสังคม  เคยทำงานเป็นผู้บริหารมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย  กรรมการผู้จัดการสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (พชม.)  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือพอช.’(ช่วงปี 2543-2547)

ด้านการเมือง  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และรองนายกรัฐมนตรี (สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ ช่วงปี 2549-2551 )  เสียชีวิตเมื่อวันที่  9 เมษายน 2555  สิริอายุ 71 ปี

ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม  ครั้งที่ 10

ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ 10  เรื่อง "โอกาส และอนาคต ของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม"   โดยมีคุณหญิงชฎา  วัฒนศิริธรรม  ประธานกรรมการมูลนิธิหัวใจอาสา  เป็นประธานในการจัดงานครั้งนี้ ช่วงปาฐกถานำ ภาพรวม โอกาส และอนาคต ของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม” โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

ผู้ร่วมอภิปรายนโยบายสาธารณ ะของสังคมไทย 4 ด้าน  คือ ช่วงปาฐกถา กรณีศึกษา “โอกาส และอนาคต ของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม”  โดย คุณอภิชาต การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (กรณีศึกษา โครงการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของ BOI) ศ.ดร.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรณีศึกษา เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม) คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม “บัวหลวง” (กรณีศึกษา การลงทุนเพื่อสังคมของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์) ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) (กรณีศึกษา การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน) ดำเนินรายการโดย ดร.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว The Standard ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ได้กล่าวปาฐกถาในงานปาฐกถาไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ "โอกาสและอนาคตของการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม" 

สิ่งที่เราเห็นว่ารัฐบาลกำลังทำอยู่ตอนนี้ และพูดกันอยู่ตอนนี้ เป็นภาพลวงตาของความสำเร็จที่ไม่ยั่งยืน แล้วทางออกจะช่วยได้อย่างไร ทุกภาคส่วนจะช่วยกันได้อย่างไร ขอยกตัวอย่างองค์กร องค์กรหนึ่งที่ อ.ไพบูลย์ตั้งไว้ คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่มาก เท่าที่ได้ทำงานและเป็นประธานมา ผมรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้มาเป็นประธานที่องค์กรแห่งนี้ มีหลายเรื่องที่องค์กรแห่งนี้ได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันการเงินชุมชน สวัสดิการชุมชน บ้านมั่นคงเมือง บ้านมั่นคงริมคลอง ที่เปลี่ยนจากการไม่มีอะไร เป็นการมีชีวิตที่สามารถเริ่มต้นที่ดีขึ้นได้ เป็นการปลดปล่อยพลังของตนเองที่ทำให้เขาได้อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งขอเพียงให้เขาได้มีโอกาสได้แสดงพลังออกมา ก็จะนำไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของเขาเอง และชุมชนเองได้

ขอยกตัวอย่างอีกโครงการหนึ่ง คือ ธนาคารต้นไม้ ปลูกต้นไม้เพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ไม่ว่าจะส่งลูกเรียน แต่งงาน และบำนาญ ซึ่งทั้งปวงเราวามารถทำได้ถ้าเราสามารถแก้กฎหมายให้ชาวบ้านตัดต้นไม้ได้ เปลี่ยนต้นไม้เป็นเงิน ซึ่งเป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านอยู่ได้ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ดูแลแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตอบโจทย์เรื่องการจัดสวัสดิการสังคมในระยะยาวได้

แล้วภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง การเริ่มต้นเริ่มที่ความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่มีหน่วยหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อให้แรงจูงใจกับเอกชนไปทำงานกับสังคม ชุมชน ไม่ว่าจะเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งสามารถลดภาษีได้ 200% ของเงินสนับสนุน

 ที่ผ่านมาภาครัฐ บางครั้งเราก็เรียกร้องให้ราชการมากเกินไป เกินความสามารถของเขา เช่น ให้ราชการไปสอนให้ชาวบ้านทำธุรกิจให้ร่ำรวย แล้วจะเริ่มยังไง ในเมื่อยังไม่มีความรู้ และไม่เคยทำธุรกิจเลยไปสอนชาวบ้าน แต่ถ้าเปลี่ยนมาให้ภาคธุรกิจที่เขาถนัดเรื่องนี้มาทำแทน มีราชาการร่วมมือ จะเป็นทางออกที่ดีกว่าหรือไม่ หรืออีกโครงการหนึ่ง คือ ศูนย์เด็กเล็ก ที่ทำเรื่องการพัฒนาศักยภาพตั้งแต่เด็กเล็ก ที่ไม่ใช่ศูนย์ฝากเลี้ยง เป็นศูนย์ที่มี Action มี Activity ที่เด็ก ๆ ได้เรียนได้เล่นได้คิดอยู่ตลอดเวลา เริ่มทำที่แรกที่ท่าวุ้ง ลพบุรี ใช้เงินประมาณ 60,000 บาทเท่านั้น และตั้งใจจะทำที่ภูเก็ตให้เต็มที่ ซึ่งอยากจะให้ภาคเอกชนช่วย และมีโครงการอื่น ๆ ที่กำลังจะเริ่มทำที่อยากให้ภาคเอกช่วยเพื่อชุมชน สังคม ไม่ว่าจะเป็นโรงสีที่ชัยภูมิ ตลาดน้ำที่ตลิ่งชัน และอีกหลาย ๆ ที่ การทำร่วมกันแบบนี้จะนำไปสู่ทางออกที่ยั่งยืน จะสร้างควาทเข้มแข็งจากฐานราก ตามที่ท่าน อ.ไพบูลย์ได้กล่าวไว้

หัวใจที่เราต้องหา คือ การสร้าง Collective ของประชนและชุมชนพร้อม ๆ กัน ทำบ้าน ทำสวัสดิการ ทำเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน เหมือนต้นไผ่ถ้างอกงามต้นเดียวก็สวย แต่จะสวยและแข็งแรงกว่าถ้าเป็นกอไผ่ใหญ่ ๆ ที่แข็งแรง ถ้าทำแบบนี้ได้จะนำไปสู่การพัฒนาที่มีศิลปะ เพราะเราหรือรัฐจะรับภาระต่าง ๆ ไว้หมด เป็นไปไม่ได้ จำเป็นต้องสร้าง Collective ให้เกิดขึ้นมาก ๆ จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาที่แท้จริง แล้วถ้าประเทศไทยทำได้จะเป็นโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนแรก ๆ ของโลก

อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นผู้มี คุณูปการที่สำคัญอย่างยิ่ง ในงานพัฒนาชุมชน ในประเทศไทยสมัยใหม่ ทำให้เกิดแนวคิด แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ หลายเรื่อง หลายประการมากมาย ประเด็นสำคัญที่ท่านอาจารย์มักจะพูดอยู่เสมอ และได้ดำเนินการพัฒนาหรือบริหารจนเป็นแนวทางที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาชุมชน ได้แก่

  • การพัฒนาที่ชุมชนเป็นหลัก และ เป็นเจ้าของการพัฒนา
  • การพัฒนาโดยใช้การเงินเพื่อการ พัฒนาโดยชุมชน
  • การบริหารการพัฒนา และ ตัดสินใจร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
  • การร่วมมือหลายฝ่าย พยายาม รวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

“แม้อาจารย์ไพบูลย์ได้จากไปแล้ว ยังมีงานที่ท่านได้ฝากให้หน่วยงานหรือองค์กรทำต่อไป ซึ่งในการประชุมแต่ละหน่วยงานต่างนำเสนอโครงการหรือกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อสืบสานเจตนารมณ์นักพัฒนาของประเทศผู้นี้ด้วยความตั้งใจ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทรวง พม. เปิดปฏิบัติการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

กรุงเทพฯ/29 มิถุนายน 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร”

“บ้านน้ำเชี่ยว 2 ศาสนา3 วัฒนธรรม” สานพหุวัฒนธรรม นำสู่การจัดการจัดการตนเอง (1)

สำหรับทุกคนที่เดินทางมาจังหวัดตราด ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งไปเกาะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “เกาะช้าง” และหมู่เกาะบริวารเป็นแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อ

“หาดเล็กบ้านในน้ำ” ชุมชนชาวประมงต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าแห่งแรกในประเทศไทย

ตำบลหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ชุมชนชาวประมงเล็กๆ เป็นชุมชนชายฝั่งชายแดน อยู่ทะเลด้านตะวันออกสุด และมีพื้นดินส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย

“ไข่ผำ Super Food” พืชจิ๋วมหัศจรรย์ เลี้ยงง่ายราคาดี ที่พระแท่น กาญจนบุรี

ไข่ผำ (Wolffia) เป็น Super Food สุดยอดของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง