วธ.ชูSoft power อาหารถิ่น เดินหน้า‘1 จังหวัด 1 เมนู ’ เฟ้นคาว-หวาน-ของว่าง หากินยาก 77 จว.

77 จังหวัดของประเทศไทยเต็มไปด้วยอาหารอร่อย เมนูเด็ด ทั้งคาว หวาน และอาหารว่างกินเพลิน บางเมนูหาทานได้เฉพาะในจังหวัดนั้นๆ อาหารไทยจึงเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดทั้งชาวไทยและคนทั่วโลก เป็น Soft power ที่สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ

ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จับมือภาคีภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมขับเคลื่อน “ 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ประจำปี 2567 ยกระดับอาหารถิ่นสู่เมนูอาหารยอดนิยม เสริมภาคการท่องเที่ยว เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่น

นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า วธ. โดย สวธ.ร่วมกับกาชาด 77 จังหวัดทั่วประเทศเฟ้นหา “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” เมื่อปี 2566 ได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วน ประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวให้ความสนใจตามหาและชิมเมนูอาหารที่หารับประทานได้ยากของจังหวัดต่าง ๆ ในหลายเมนูได้รับการพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมนูยอดนิยม กระตุ้นภาคการท่องเที่ยว นำมาซึ่งรายได้ให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารในท้องถิ่นและจังหวัด 

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อว่า อาหารเป็นหนึ่งในนโยบายขับเคลื่อน Soft power ของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ Thailand creative content agency (THACCA) กับ 11 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปีนี้ สวธ. จึงจัดโครงการด้านอาหารต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 บูรณาการหน่วยงานภาคี อาทิ กรมการแพทย์แผนไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่

“ แต่ละจังหวัดจะเฟ้นหาเมนูอาหารถิ่นที่กำลังจะสูญหาย หาทานยาก มาสร้างสรรค์ พัฒนา ยกระดับให้เป็นอาหารยอดนิยม รู้จักแพร่หลาย รณรงค์ให้คนในพื้นที่เกิดความรัก ภาคภูมิใจ และปลูกฝังค่านิยมการบริโภคอาหารจากภูมิปัญญาพื้นบ้านแก่เยาวชนรุ่นใหม่ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้อาหารไทยถิ่นเป็น Soft power ที่มีศักยภาพหนุนการท่องเที่ยว สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ” รมว.วธ. กล่าว

แนวทางการขับเคลื่อน“1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ปีนี้ นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า สวธ. โดยคณะกรรมการของแต่ละจังหวัดที่ตั้งขึ้นจะดำเนินการคัดเลือกเมนูอาหารท้องถิ่นของตนเองตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญาด้านวิธีการปรุงเคล็ดลับ ด้านคุณค่าควรแก่การสืบสานและถ่ายทอด ด้านวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญของอาหาร ด้านการเผยแพร่และพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านโภชนาการ และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะคัดเลือกใน 3 เมนูหลัก ได้แก่ อาหารคาว อาหารหวาน และอาหารว่าง

ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นขั้นตอนการเปิดรับข้อมูลอาหาร การคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นระดับจังหวัด หลังจากได้เมนูอาหารแล้ว แต่ละจังหวัดจะเปิดให้ประชาชนในพื้นที่โหวตสุดยอดเมนูอาหารถิ่นของจังหวัด จากนั้น สวธ. จะทำการประกาศเผยแพร่เมนูอาหารถิ่น ประจำปี 2567 ทั้ง 77 จังหวัด ภายในเดือนสิงหาคม2567 นี้

โอกาสนี้ วธ.เชิญชวนผู้ประกอบการและประชาชนมีส่วนร่วมค้นหาและเชิดชูอาหารของจังหวัดต่าง ๆ ที่หาทานยาก มีคุณค่าควรอนุรักษ์และต่อยอดด้วยการส่งข้อมูลเมนูอาหารคาว อาหารหวาน และอาหารว่าง  เพื่อให้คัดเลือกเป็นเมนูอาหารถิ่นของจังหวัด ในส่วนภูมิภาคส่งได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครส่งได้ที่ กลุ่มสนับสนุนกิจการพิเศษ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โทร 02 247 0013 ต่อ 1414 และ 1419  และติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook อาหารไทยถิ่น Thailand Best Local Food

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

วธ.ส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ลุยเผยแพร่เทรนด์บุ๊กออกแบบผ้าไทยที่ภาคเหนือ ดึงดีไซเนอร์ดังหนุนฉีกกรอบ

วันที่ 28 มิ.ย.2567 นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ดำเนินงานโครงการเสวนาวิชาการ

องคมนตรีเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 27 มิ.ย.2567 เวลา 13.00 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติ

สวธ.จัดมหกรรมวัฒนธรรมอีสาน ‘ยลถิ่นดอกลำดวน ชมสวนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ’ ผลักดัน Soft Power อีสาน เงินสะพัดในชุมชน

ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เมืองอีสานใต้แห่งนี้เป็นแหล่งอารยธรรมนำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะขอมโบราณ มาหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานอย่างลงตัว

หนุนผ้าไทยบนเวทีแฟชั่นโลก ชวนนักออกแบบชื่อดังสัญจรสู่ใต้ แนะเทคนิคพัฒนาหัตถกรรมไทย โชว์เทรนด์บุ๊กสุดฮอต

วงการแฟชั่นต้องอัพเดทเทรนด์ทุกฤดูกาล สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ “ผ้าไทย’ งานฝีมือที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในรันเวย์ต่างประเทศ

เที่ยว'บ้านฟ้าหยาด' ยลวัฒนธรรมครบรส

มนต์เสน่ห์ของวิถีวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวบ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย  จ.ยโสธร พร้อมใจกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยเฉพาะประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประเพณีหนึ่งเดียวในโลกมีอัตลักษณ์คู่เมืองยโสธร  ที่คนในชุมชนนำข้าวเปลือกมาคั่วใ