"สฤษดิ์" ย้ำ ปฏิวัติการศึกษา ไม่ใช่แค่ปฏิรูป สร้างแพลตฟอร์ม เรียนทุกที่ทุกเวลา

ดร.สฤษดิ์ บุตรเนียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี อภิปรายการสนับสนุน พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2568 ว่า ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว เด็กเกิดน้อย ปัญหาประชากรลดลงแน่นอน แรงงานก็ต้องลดลงตามลําดับ ต่อให้เกิดโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมากมาย แล้วคาดกันว่าก็ต้องยุบลงไปถ้าไม่มีเด็กนักเรียน . โอกาสนี้ก็เกิดยุคดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลง การประชุมในระดับโลกก็เตือนให้รู้ว่าหากประเทศใดไม่เร่งพัฒนาดิจิทัล และสิ่งแวดล้อม ก็ไม่สามารถจะก้าวทันกับโลกได้ ประเทศไทยควรไปหาโอกาสในวิกฤติที่เกิดขึ้นจากทั่วโลกนี้ เร่งพัฒนาด้าน AI ด้านดิจิทัลทางการเกษตร และอาหาร ซึ่งเป็นจุดแข็งโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนําทาง
.
ดังนั้นการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการใช้ความรู้พัฒนาคนให้ก้าวทันโลกได้ และเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมการเมือง รัฐบาลให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมากโดยจัดสรรงบประมาณทางด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และต้องขอขอบคุณรัฐบาลในชุดนี้ที่ให้เงินหมุนเวียน แก้ไขปัญหาหนี้สินของครู ซึ่งคุณครูเป็นบุคคลสําคัญที่สุดที่จะพัฒนาการศึกษาอย่างก้าวไกลให้เงินหมุนเวียนด้าน กยศ.ถึง 800 ล้านบาท ในการที่จะแก้ปัญหาให้เด็กลดภาระโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยในสมัยที่แล้ว นําโดยท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ที่ผลักดันปลดผู้ค้ำประกัน ลดดอกเบี้ย ลดเบี้ยปรับลงมาโดยต่อเนื่อง
.
งบประมาณด้านการศึกษาแม้จะถูกเถียงกันว่าจํานวนมาก แต่เชื่อว่าการจัดสรรงบประมาณนี้น้อยมาก มันอยู่ที่การจัดงบประมาณอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด งบประมาณทั้งหมด 300,000 กว่าล้าน 60% เป็นงบประมาณของบุคลากร และครู บุคลากรทางการศึกษา 20% เป็นเรื่องของงบประมาณให้เรียนฟรี 15 ปี โครงการโรงเรียนประจําดี ประจำตําบล อุดหนุนค่าอาหารกลางวัน เงินเสริมหรือกองทุนเสมอภาคเพื่อศึกษาไป 20% หรือ 28% จะก่อให้เกิดปัญหาว่าเราจะทําอย่างไรกับเงินใน 18% ที่เหลือนี้ เพราะเหตุว่าจากที่งบประมาณแผ่นดินที่มีอยู่อย่างไรก็ตาม 80% เป็นงบที่ฟิคซ์อยู่แล้ว ไม่สามารถที่จะแตะต้องได้เลยมันเป็นงบประมาณเป็นสิทธิของครูบุคลากร และตัวเด็ก
.
สรุปได้ว่าการศึกษาที่เป็นรากฐานนั้นไม่ได้หมายความว่าเงินจํานวนเท่าไหร่ สาเหตุหลักอยู่ที่ตรงที่ว่า การที่ทําให้คุณภาพไม่สามารถพัฒนาได้แท้จริงแล้วอยู่ที่รูปแบบการจัดงบประมาณที่ไม่ถูกต้อง เช่น เงินงบประมาณในรายหัวที่จะให้กับเด็กนั้นไม่มีความสนองตอบโต้เป็นขนาดเล็ ก ซึ่งสร้างปัญหาในความเสมอภาค ดังนั้น สรุปประเด็นปัญหา ตัวอย่างเช่น 60% ที่เป็นอยู่ เราไปใช้จ่ายกับเงินเดือนครูบุคลากรแม้ว่าคุณครูบุคลากรจะเป็นกลไกที่สําคัญอย่างยิ่งในการศึกษา แต่ก็ไม่สะท้อนตอบต่อความจําเป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ เด็กที่ได้ประมาณในเรื่องของการเรียนฟรี 15 ปี ในถึงโครงการอาหารกลางวันหรือนม เรื่องของปัญหาต่างๆ ที่ๆเราเกิดขึ้น . พรรคภูมิใจไทยมองว่า เราต้องปฏิวัติ ไม่ใช่เพียงแต่ปฏิรูปค่อยเป็นค่อยไปแล้ว วันนี้โลกมันเปลี่ยนแปลงไปวินาทีเป็นไปพร้อมกับแสงแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนไปอย่างสมัยก่อนที่ไปก็ล้อเกวียนหรือรถสิบล้อ เราควรจะปฏิวัติ ส่วนที่เสนอไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่เสมอภาค ความเหลื่อมล้ำ เรื่องของค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะเด็กนักเรียนครอบครัวผู้ปกครองต้องใช้จ่ายกับเรื่องของเด็กเรียนพิเศษ เด็กที่ต้องให้ค่ารถ ค่าเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียนเพิ่มขึ้นทุกขั้นตอน พรรคภูมิใจไทยได้นําเสนอก็ควรที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของงบประมาณในเรื่องแพลตฟอร์ม ถูกตัดไปถึง 2,000 กว่าล้านเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
.
แสดงให้เห็นว่าทางสํานักงบประมาณยังไม่ให้ความสําคัญในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเท่าที่ควร แล้วคําตอบในการแก้ปัญหาก็คือการสร้างแพลตฟอร์มให้เกิดขึ้น ให้เกิดทั่วถึงเท่าเทียม และเด็กสามารถจะเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาสค ดังนั้นเห็นได้ว่าหากว่าเราควรจะงบประมาณสํานักงบประมาณควรจะตระหนักถึงความจําเป็นเป็นการแก้ปัญหาการศึกษาอย่างแท้จริง พลตํารวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาท่านก็พยายามที่จะให้เรียนดีมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นลดภาระของคุณครู การจ้างภารโรงเพื่อให้คุณครูที่ทํางานในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่เพื่อให้ก่อเกิดคุณภาพ ลดภาระของผู้ปกครองของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสื้อผ้าให้ใช้หรือผ่อนผันให้แต่งตัวตามอัตภาพ
.
รัฐบาลควรจะให้ความเสมอภาคไม่ว่าจะเป็นเด็กทั้งภาครัฐบาลองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรวมเอกชนซึ่งถ้วนแล้วแต่ขาดความเสมอภาคความเท่าเทียมกัน "ไม่ว่าจะพูดอย่างไรก็ตาม ผมถือว่าการลงมือปฏิบัติมันสําคัญที่สุดครับ รัฐมัวแต่พูดคําว่าเสมอภาค เท่าเทียมดีที่สุดแล้วอันนั้นไม่ใช่ ต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติให้ผู้ปกครองทุกคนเห็นว่ารัฐจริงใจต่อทรัพยากรบุคคล" วันนี้เด็กเราลดลงไปทุกวัน การเกิดน้อย ที่สุดก็ต้องใช้เทคโนโลยี เอา AI เข้ามาช่วย ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย ก็ขอสนับสนุนพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2568 ในวันที่หนึ่ง และขอให้คณะกรรมการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นในการพิจารณางบประมาณได้ช่วยกันพิจารณางบประมาณด้วยความรอบคอบให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ประสิทธิภาพได้ประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป และขอให้คํานึงถึงการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นการสร้างคนแล้วคนนี่แหละเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในการที่จะสร้างชาติต่อไปในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุดอึ้ง!จุลพันธ์ตีขลุมเสร็จสรรพบอกดิจิทัลฯ สุ่มเสี่ยงแสดงว่าไม่ผิดกฎหมาย

'จุลพันธ์' แจงเปลี่ยนแหล่งที่มาของเงิน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ให้มีความเหมาะสมขึ้น ยันปลายปีนี้เงินถึงมือ ปชช.แน่นอน ย้ำไม่ใช่นโยบายสงเคราะห์

'จุรินทร์' ซัดเต็มๆ ดิจิทัลฯ เป็นแค่น้ำข้าวต้มที่จะสร้างพายุหมุนหนี้ให้ประเทศ

'จุรินทร์' ซัดงบกลางปี 67 กู้มาแจกเงินหมื่นเท่านั้น ฉะโครงการล่าช้าเพราะความโหลยโท่ยของ รบ. ย้ำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ได้ไม่คุ้มเสีย เข้าทำนองประเทศเสียหายไม่ว่าขอให้ข้าได้หาเสียง

'จุลพันธ์' แก้เกี้ยวบอกเอกสารไม่ครบเลยแขวนดิจิทัลวอลเล็ต!

'จุลพันธ์' คาดอีก 1-2 สัปดาห์นำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' กลับมาถกในกมธ.งบฯ ได้ บอก เป็นปกติที่ต้องแขวนหากเอกสารไม่ครบ กำชับงวดหน้าปลัดต้องเข้ามาแจงเอง โวนำกลับมาพิจารณาใหม่ไร้ปัญหาผ่านราบรื่น

ต้องปฏิวัติการศึกษา ทันที ! "มุกดาวรรณ" ชำแหละ เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว เรียนจบไม่ตรงสายงาน เกิดความเหลื่อมล้ำ

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2568