‘คณะเพชรนคร’ ทำถึงคว้าแชมป์‘รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม‘ โชว์การแสดงพื้นบ้านไม่ทิ้งเอกลักษณ์ภาคใต้

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “คณะเพชรนคร” จาก จ.นครศรีธรรมราช แชมป์ใหม่เวทีประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ.2567 “ รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” (ภาคใต้) ชนะใจทั้งคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมงานด้วยชุดการแสดงที่รวบรวมศาสตร์และศิลป์ของถิ่นอันดามันไว้อย่างครบเครื่อง จนได้รับเสียงชื่นชม ทำได้สุดยอด

การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ2567 ”รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ภาคใต้ ถือเป็นภาคสุดท้าย จัดขึ้น ณ คอนเวนชั่นฮอล์ เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ. สงขลา เจ้าภาพโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเกิดกระแสอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งยังเปิดพื้นที่ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนได้แสดงความสามารถ รวมถึงยกระดับขีดความสามารถของดนตรี พัฒนาเทคนิคทางการแสดง ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย โดยนายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันก่อน

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ตระหนักในคุณค่าของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งในยุคปัจจุบันแม้การแสดงพื้นบ้านจะถูกรุกโดยสื่อเทคโนโลยีอันหลากหลาย และทำให้คนรุ่นใหม่ละเลยหรือลดความสนใจในการแสดงเหล่านี้ แต่เชื่อว่าการแสดงพื้นบ้านแต่ละอย่างมีเสน่ห์และอัตลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป หากได้มีการพัฒนา ฟื้นฟูและปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยจะสามารถสร้างความนิยมและสร้างรายได้ให้แก่คณะนักแสดงได้อีกครั้ง

“ ที่สำคัญการแสดงพื้นบ้านแต่ละประเภทจะเป็นเสมือนตัวแทนทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและแสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน มีการปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์การแสดงเพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่ละเลยและทอดทิ้งเอกลักษณ์ดั้งเดิมของการแสดงพื้นบ้านเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะนักแสดงและศิลปินทั้งในปัจจุบันและอนาคต ” นางสาววราพรรณ กล่าว

สำหรับผลการตัดสินผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ฯ (ภาคใต้) รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะเพชรนคร จ.นครศรีธรรมราช

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล 80,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะโรงเรียนนาทวีวิทยาคม จ.สงขลา  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะกันต์ยารมณ์  จ. สงขลา

การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” จัดการประกวดไปแล้วทั้งหมด 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ณ จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่  13 มิ.ย. ณ คอนเวนชั่นฮอล์ เซ็นทรัล อุดรธานี จ.อุดรธานี  ภาคกลาง  ณ  คอนเวนชั่นฮอล์ เซ็นทรัล เวสต์เกต จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ก่อนปิดท้ายภาคใต้ที่จ.สงขลา

ผู้ที่สนใจชมดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้านของไทยสามารถติดตามภาพบรรยากาศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ 2567 รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้ทาง www.culture.go.th เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมวัฒนธรรมและ line@วัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทย ผลักดันลุ้น 'ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก

“เกณิกา”เผย ข่าวดีคนไทย "สุดาวรรณ" หนุนสวธ.จัดทำแผน ปีนี้เตรียมลุ้น “ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า”ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก เดินหน้าผลักดันSoft Power ไทยให้นานาชาติรู้จัก

วธ.ส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ลุยเผยแพร่เทรนด์บุ๊กออกแบบผ้าไทยที่ภาคเหนือ ดึงดีไซเนอร์ดังหนุนฉีกกรอบ

วันที่ 28 มิ.ย.2567 นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ดำเนินงานโครงการเสวนาวิชาการ

องคมนตรีเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 27 มิ.ย.2567 เวลา 13.00 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการแสดงมหาดุริยางค์เยาวชนไทยร้อยดวงใจเฉลิมพระเกียรติ

สวธ.จัดมหกรรมวัฒนธรรมอีสาน ‘ยลถิ่นดอกลำดวน ชมสวนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ’ ผลักดัน Soft Power อีสาน เงินสะพัดในชุมชน

ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เมืองอีสานใต้แห่งนี้เป็นแหล่งอารยธรรมนำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะขอมโบราณ มาหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานอย่างลงตัว

หนุนผ้าไทยบนเวทีแฟชั่นโลก ชวนนักออกแบบชื่อดังสัญจรสู่ใต้ แนะเทคนิคพัฒนาหัตถกรรมไทย โชว์เทรนด์บุ๊กสุดฮอต

วงการแฟชั่นต้องอัพเดทเทรนด์ทุกฤดูกาล สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ “ผ้าไทย’ งานฝีมือที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีบทบาทโลดแล่นอยู่ในรันเวย์ต่างประเทศ

วธ.ชูSoft power อาหารถิ่น เดินหน้า‘1 จังหวัด 1 เมนู ’ เฟ้นคาว-หวาน-ของว่าง หากินยาก 77 จว.

77 จังหวัดของประเทศไทยเต็มไปด้วยอาหารอร่อย เมนูเด็ด ทั้งคาว หวาน และอาหารว่างกินเพลิน บางเมนูหาทานได้เฉพาะในจังหวัดนั้นๆ