สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมที่ได้ขึ้นทะเบียน GI และรวมถึงวัสดุ/วัตถุดิบที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ GI ที่จะมามีบทบาทสำคัญในการยกระดับมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าของงานหัตถกรรมไทย สร้างโอกาสให้คนทำงานหัตถกรรมอยู่ดีกินดีเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงการปลุกกระแสการรักถิ่นฐานบ้านเกิด การดูแลรักษาหวงแหนภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีคุณค่าต่อคนรุ่นหลัง ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
โดยโครงการนี้ สศท. ได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม 30 ราย และนักออกแบบ 10 ราย มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนิทรรศการการจัดแสดงผลงาน “sacit concept 2024” นี้ จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ถูกซ่อนอยู่ ผลิตภัณฑ์ที่จัดแสดงจะสะท้อนอัตลักษณ์เฉพาะของความเป็นไทย ซึ่งถือว่าเป็น soft power ของชาติที่ไม่มีใครเหมือนในโลก ผู้ที่เข้าชมจะได้สัมผัสกลิ่นอายของความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม วิถีและชีวิตของคนไทย ผสมผสานกับแนวคิดของโลกยุคใหม่ได้อย่างลงตัว
นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่าปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ผลิตในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก แต่ปัญหาที่พบคืองานหัตถกรรมไทยยังเข้าไปมีส่วนใน วิถีชีวิตคนแบบกระจุกตัว ไม่ได้กระจายไปสู่คนในวงกว้าง ประกอบกับปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญกับหลายภาคส่วน และรวมถึงงานฝีมือด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มีของโครงการ sacit concept ที่สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สืบสาน สนับสนุน ส่งเสริมให้งานหัตถกรรมไทยโตได้อย่างยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะเป็นผู้นำทาง ชี้ช่องทางและเปิดแนวคิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับคนทำงานหัตถกรรมได้มีโอกาสสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรม “Crafts Design Matching” การจับคู่ทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมกับนักออกแบบร่วมกันทำงานผ่านแนวคิดการออกแบบ “GI Smart Craft Combinations” ซึ่งมุ่งเน้นให้การออกแบบสร้างสรรค์ของการหยิบใช้วัสดุ/วัตถุดิบ หรือกระบวนการเฉพาะตัวในภูมิปัญญาเชิงช่างในท้องถิ่นที่ซ่อนเร้นอยู่ในพื้นที่ของตนเองได้นำเสนอผ่านผลงานอย่างชาญฉลาด
อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนางานหัตถกรรมผ่านผลิตภัณฑ์จากการใช้ทุนวัฒนธรรมในแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พื้นที่GI) ของตนเอง เข้ามาผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนางานออกแบบสินค้า เพื่อสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะสร้างคุณค่า ความโดดเด่น ความแตกต่างให้กับสินค้า ผ่านการเล่าเรื่อง (story telling) เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเป็น Authentic Brand และกลายเป็นจุดแข็งของการผลักดันรูปแบบผลิตภัณฑ์จากแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่จะสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระดับชุมชนและพัฒนาเป็นสินค้าหัตถกรรมสู่การท่อง เที่ยวในระดับโลกได้ ทำให้ผู้ผลิตในชุมชนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจให้ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐซึ่งกันและกันโดยเฉพาะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการยกระดับองค์ความรู้/เทคนิค/วิธีการในภูมิปัญญาวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่อาจจะไม่เคยมีใครได้พบเห็น ได้นำมาเปิดเผยอย่างเป็นรูปธรรมผ่านประเภทสินค้าในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่จะสื่อสารให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากรากฐานภูมิปัญญาสู่งานคราฟต์ยุคใหม่ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่จะสร้างและเพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจและพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
โครงการ sacit concept 2024 กำหนดจัด pre-launch นิทรรศการแสดงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2567 นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ณ ไอคอนสยาม โซนไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ให้ผู้ที่สนใจการขยายโอกาสทางการค้า การเปิดมุมมองในการทำงานหัตถกรรมที่ร่วมสมัย การรับทราบองค์ความรู้ เทคนิคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในยุคปัจจุบันในมุมต่าง ๆ อาทิ ประโยชน์ของการนำวัสดุ/วัตถุดิบในพื้นที่ GI มาพัฒนารูปแบบงานเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม การสกัดทุนทางประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมท้องถิ่น ทุนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ มาประยุกต์ใช้การพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน
ในการนี้ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในยุค 5.0 สามารถติดตาม “การจัดแสดงนิทรรศการแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ได้ในงานแสดงสินค้า Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล
รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” ประกาศเดินหน้าสืบสานภูมิปัญญา รักษา และต่อยอดหัตถศิลป์ไทย ดันเป็นจุดแข็งบนเวทีระดับสากล โชว์ไฮไลท์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” จัดแสดง 50 ผลงาน ล้ำค่าของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ
สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัท SIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด
สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567
สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า
จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท