อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5 เข้าขั้นวิกฤต กว่า 38 ล้านคนต้องอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM2.5 โดย WHO ระบุมลพิษทำคนปอดพังเสียชีวิตมากกว่า 7 ล้านคน
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “ThaiHealth Watch The Series 2024 : เล่นเรื่องปอด” โดย นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการ สสส. และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ตอกย้ำว่า สสส.มุ่งเปิดพื้นที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนะแนวทางป้องกันและดูแลตนเองเพราะฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในจำนวนนี้เป็นเด็กกว่า 3.5 ล้านคน ที่หายใจนำฝุ่นเข้าปอดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 4 มวนต่อวัน นอกจากนั้นปัญหาที่กำลังน่ากังวล ทำให้ปอดไม่ปลอดภัยอีกปัจจัยนั่นคือ บุหรี่ไฟฟ้า ที่แม้แต่เด็กชั้นประถมยังตกเป็น "เหยื่อ" ด้วยกลยุทธ์ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเด็ก
นางเบญจมาภรณ์เปิดเผยว่า สสส.กำลังรณรงค์ให้ตระหนักรู้ถึงภัยเงียบนี้อย่างเอาจริงเอาจัง พร้อมพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้ชุด “รู้ทันกลลวงบุหรี่ไฟฟ้า” 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การรู้เท่าทันการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า 2.สารพิษที่เคลือบแฝงในบุหรี่ไฟฟ้า 3.ผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ 4.สถานการณ์และกรณีศึกษาของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งสร้างความตระหนักถึงภัยสุขภาพปอดที่มาจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ต่อผู้นำการสื่อสาร คนรุ่นใหม่ คุณครู และภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ
"ขณะนี้เรามีร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดถึง 7 ฉบับ คนไทยอยากได้อากาศสะอาดในวันที่ปอดเผชิญฝุ่นพีเอ็ม 2.5 การทำให้เกิดกระบวนการคิด ถอดบทเรียนเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาภัยใกล้ตัว ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงกันได้ง่ายๆ สสส.ทำงานขึ้นปีที่ 23 ด้วยการสนับสนุนร่วมมือกับภาคี จุดเด่นของงาน สสส.คือการสื่อสาร ภาคเอกชนอยากทำงานร่วมกับ สสส.ในการคิดสื่อใหม่ๆ ช่วยกันส่งเสียงประเด็นแก้ไขปัญหาบุหรี่ยังเป็นเรื่อง Hot อยู่ ต้องใช้ระบบการสื่อสารเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมลพิษทางอากาศที่มีความแตกต่าง เราต้องช่วยกันส่งต่ออากาศสะอาดให้แก่ลูกหลานของเรา" นางเบญจมาภรณ์กล่าว
นพ.วินัย โบเวจา หัวหน้าศูนย์สุขภาพปอด อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 เปิดเผยว่า ปัญหาสุขภาพปอดไม่สามารถแยกจากปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 รวมทั้งควันบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า เพราะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมจะเห็นผล 10 ปีขึ้นไป ต้องช่วยกันรณรงค์ให้ความสำคัญกับสุขภาพปอด เราเห็นได้จากช่วงสถานการณ์โควิดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องบังคับการใช้กฎหมายที่มีการลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าให้เด็ก เยาวชนระดับ ม.ต้นและ ม.ปลาย สถานการณ์นี้เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก เป็นข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อมีงานวิจัยโมเลกุลในร่างกาย แพทย์ที่ปฏิบัติจะพบว่าคนไข้มีปัญหาการติดเชื้อในปอด มะเร็งปอด ภูมิแพ้ เป็นเรื่องน่ากังวลยิ่ง
ถ้าปล่อยให้เด็กและเยาวชนเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุยังน้อยๆ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นการปล่อยสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืดมีมากขึ้น ปอดอักเสบ โรคที่เกิดจากทางเดินหายใจ หัวใจวาย โดยเฉพาะถ้ารู้ข่าวว่ามีการเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลว ไม่มีใครตื่นเต้นเพราะจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกคนย่อมมีโอกาสที่จะเป็นได้ เพราะมลพิษทางอากาศและปัญหาจากควันบุหรี่มวนและควันจากบุหรี่ไฟฟ้า ดังนั้นปัญหานี้จะต้องแก้ไขควบคู่กัน จะแยกในการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
“ขอให้เราวาดภาพอีก 10 ปีข้างหน้า บ้านเราเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและ AI ถ้าสภาพอากาศที่ทุกคนต้องเดินใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในทุกสถานการณ์ โอกาสที่เด็กน้อย ผู้สูงอายุป่วยเป็นมะเร็ง ต้องมีเครื่องฟอกอากาศติดตัวจะกลายเป็นเรื่องปกติ ถ้าผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปเสียชีวิตเพราะหัวใจวายกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ตื่นเต้น เพราะเราเฉื่อยจนชินชาไปแล้ว ปัญหาโรคปอดอีก 10 ปีจะเป็นภัยร้ายที่เราต้องเผชิญ ดังนั้นเราต้องช่วยกันรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า เราต้องมองปัญหาอย่างเป็นศูนย์รวม เราจะปล่อยให้ลูกหลานของเราเติบโตไปพร้อมกับมลพิษที่สูงกว่าปกติถึง 6 เท่าหรือ เราต้องแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว เพราะขณะนี้มะเร็งปอดเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ” นพ.วินัยเปิดเผย
โรคมะเร็งปอด ติด 1 ใน 5 อันดับมะเร็งที่คร่าชีวิตประชากรโลก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.มลพิษทางอากาศ PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการไอ เลือดกำเดาไหล หรือภูมิแพ้ ที่สำคัญฝุ่น PM2.5 กระตุ้นให้สารพันธุกรรมกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ 2.สารพิษจากบุหรี่ไฟฟ้า ประชาชนบางส่วนมีความตระหนักเรื่องความอันตรายของสารนิโคติน แต่สารปรุงสี แต่งกลิ่นเพื่อดึงดูดผู้สูบหน้าใหม่ ที่มีกว่า 7,000 ชนิดในบุหรี่ไฟฟ้า เป็น DIY ที่ผลิตกันเอง น่าเป็นห่วงเด็กและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อ ทำให้เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อปอดรุนแรงทวีคูณ เนื่องจากไอระเหยมีขนาดเล็ก เมื่อเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดโรคหอบหืด และอักเสบในทางเดินหายใจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และฟัน จึงควรป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับมลพิษจากฝุ่น PM2.5 และไอจากบุหรี่ไฟฟ้า
นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ Toolmorrow เปิดเผยว่า เด็กนักเรียนเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าน่ารัก เสมือนไม่มีพิษภัย และมีรสชาติที่หวาน หอม ดึงดูดให้หลงใช้ จากการลงพื้นที่สำรวจในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในภาคกลาง พบนักเรียน 20 คนเคยใช้และจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ขาดความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และโครงสร้างสังคมที่ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว จากปัญหาที่เกิดขึ้นได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น ที่ให้คนดูสามารถเลือกการดำเนินเรื่องเอง (Interactive) ชื่อเรื่อง “บานปลาย” นำเสนอแนวทางการสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน รับชมได้ที่เว็บไซต์ https://toolmorrow.com/portfolio-item/escalate/
6 แนวทางเลี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอด
1.รับประทานอาหารบำรุงปอด อาหารประเภทที่ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ อาทิ แอปเปิล, บร็อกโคลี, ถั่ว, ขิง, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี
2.ออกกำลังกายบริหารปอด หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก
3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด เช่น สัมผัสควันบุหรี่ อยู่ในพื้นที่ที่มีการเผา
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชม.ต่อวัน
5.ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ปอดชุ่มชื้น
6.รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ ห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิดในขณะนอนหลับ
นพ.วินัย โบเวจา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
'แทนคุณ' จี้สภาสอบกลุ่มทุนนั่ง กมธ.บุหรี่ไฟฟ้า
'อี้ แทนคุณ' บุกสภาทวงถามผลยื่นหนังสือ 2 ครั้งที่ผ่านมา จี้สอบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็น กมธ.บุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลไม่ชอบธรรมหรือไม่