นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล เดินทางเยือนนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference: ILC) สมัยที่ 112 และร่วมหารือกับประเทศสมาชิกประเด็นต่างๆในการเดินทางครั้งนี้ โดยค่ำวานนี้ ผมมอบหมายให้ นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นผู้แทนร่วมหารือกับรัฐมนตรีแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของมาเลเซีย กับนาย สติเว่น ซิม ซี เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซีย ซึ่งหารือประเด็นการจัดตั้งกองทุนอาเซียน เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างเครือข่ายการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานตลอดจนการพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศสมาชิกต่อไป
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การมารวมประชุมครั้งนี้ มีวาระเข้าพบ นายกิลเบิร์ท เอฟ โฮงโบ (Mr. Gilbert F. Houngbo) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อหารือข้อราชการด้านแรงงาน
"กระทรวงแรงงานนำสัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ 144 ที่ได้ผ่านครม. มาลงนามร่วมกันกับผู้อำนวยการองค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นที่เรียบร้อย มีสาระสำคัญแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทย ในการส่งเสริมการเจรจาทางสังคมและการปรึกษาหารือไตรภาคี ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และการหารืออย่างสร้างสรรค์ ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลเพื่อมุ่งไปสู่ความยุติธรรมทางสังคม และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคนในประเทศไทย"นายพิพัฒน์ กล่าว
ด้าน นายไพโรจน์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยึดมั่นในการทำงานของไตรภาคีเป็นหลัก เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดที่ผลักดันมาจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานที่สำคัญ คือ การเจรจาต่อรอง ในรูปแบบไตรภาคี ที่ต้องมีผู้แทนทั้งสามฝ่าย เพื่อให้มีกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเกิดความสมดุลกับทุกฝ่ายต่อไป
.
นายประพันธ์ ปุษยไพบูลย์ ประธานสภาองค์การนายจ้าง การเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรมไทย
แถลงว่า คุณภาพชีวิตแรงงานที่ดียิ่งขึ้นภายใต้กรอบอนุสัญญาต่าง ๆ สิทธิและความเท่าเทียม และการกระทำที่อาจส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติ และที่สำคัญคือ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาคมโลก ซึ่งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ต่างชื่นชมกระทรวงแรงงานของประเทศไทยว่าสามารถแก้ไขกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งเปิดโอกาสให้นายจ้างและเจ้าของกิจการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานร่วมกับลูกจ้างและรัฐบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอบเคลียร์ “พิพัฒน์” แจงกระทู้ถามสด กรณีศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) จะขยายเวลาลงทะเบียน อำนวยความสะดวกไม่ต้องบินกลับประเทศ
วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสด ของ นายสหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎร
สภาเดือด! ถกปัญหาลงทะเบียนแรงงานเมียนมา
'สหัสวัต' ไม่ทน ถามถ้าผมเป็น 'ประชาชนพม่า' แล้วรัฐบาลเป็นอะไร เอื้อ 'รบ.ทหารพม่า' จนเป็นหนึ่งเดียวขนาดนี้ หวั่นทำแรงงานตกค้าง ด้าน 'พิพัฒน์' แจง หากไม่ทันเสนอ ครม.ยืดอายุได้
ข่าวดี รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” จัดเต็มของขวัญปีใหม่ปี 68 มอบประกันสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตน “ตรวจและรักษามะเร็งฟรี SSO Cancer Care”
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ได้มอบนโยบายสำคัญให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรคให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนอย่างดี
"พิพัฒน์" กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ ให้ลูกจ้างนายจ้าง รวม 7 รายการ มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
วันที่ 24 ธ.ค.2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานแถลงข่าวของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงาน นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา
ครม. ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 400 บาท ประเดิม 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน