พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายวิชาการ จัด เวที “สานพลังภาคีสร้างชุมชนเข้มแข้ง” และเปิดตัวพื้นที่วิจัยปีที่ 2 โครงการวิจัย “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างุมชนเข้มแข็ง พื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย”

NIDA / วันนี้ 11 มิถุนายน 2567 สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และหน่วยงานภาคี ได้แก่ กองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กลุ่มภารกิจสนับสนุนการจัดหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น (สปสช.) สถาบันพระปกเกล้า รวมถึงผู้แทนภาคีพัฒนาในพื้นที่  ร่วมกันในการเปิดตัวพื้นที่โครงการวิจัยปีที่ 2 ภายใต้ เวที “สานพลังภาคีสร้างชุมชนเข้มแข้ง” ด้าน พอช.นำโดย นายวิชัย นะสุวรรณโน รอง ผอ.พอช. นายสามารถ สุขบรรจง ผอ.สำนักทรัพยากรบุคคล นายทองใบ สิงสีทา นักปฏิบัติการชุมชนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประสานขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาคีต่างๆเข้าร่วมกว่า 50 คน โดยมีรองศาตราจารย์ ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร กล่าวเปิดเวทีเวทีสานพลังภาคีสร้างชุมชนเข้มแข็ง และการเปิดตัวพื้นที่วิจัยปีที่ 2 “โครงการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง พื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย” ณ ห้องประชุมอินทรภูวศักดิ์ ชั้น 8 อาครนาราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ : กล่าวว่าโครงการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ถือว่าเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องในระยะ 3 ปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  1. สนับสนุนการสร้างศักยภาพนักวิจัย สร้างทีมวิจัย
  2. เกิดการเชื่อมโยงในทุกระดับทั้งในระดับบผู้บริหาร รวมถึงพื้นที่ โดยการสร้างองค์ความรู้ บูรณาการงานทั้งหมดนำไปใช้
  3. เชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายการวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ หัวหน้าโครงการวิจัย

กล่าวเปิดเวทีสานพลังภาคีสร้างชุมชนเข้มแข็ง พร้อมให้ความสำคัญในการสานพลังภาคี โดยประสานความร่วมมือจากภาคีพัฒนา เพื่อนำไปสู่กระบวนการ ขบวนการสร้างประชาสังคมในพื้นที่ ที่จะต้องอาศัยภาคีพัฒนาร่วม
พร้อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สร้างนวัตกรรมทางสังคม และส่งเสริมสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง รวมถึงกำหนดทิศทางการสร้างพลังพลเมือง พร้อมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้เกิดแก่ประชาชน 

เปิดตัวพื้นที่ดำเนินการปีที่ 2 เป้าหมายโครงการวิจัย นำเสนอพื้นที่ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อำนาจเจริญ เพชรบุรี ตราด และนครศรีธรรมราช

1.จังหวัดนครสวรรค์ : มีกรอบทิศทางในการทำงาน โดยมีหลักการในการสร้างหุ้นส่วนการพัฒนา ในด้านวิชาการและสังคม พยายามตื่นตัวการตรวจสอบกระบวนการภาครัฐ เรียกร้องการกระจายอำนาจสู่ชุมชน การผลักดันการทำงานเชิงสร้างสรรค์ ผลักดันแนวคิดรัฐธรรมนูญภาคประชาชน และการทำงานในพื้นที่จังหวัดระดับจังหวัด อำเภอและตำบล ส่งเสริมการจัดสมัชชาประชาชน สมัชชาสุขภาพ ส่งเสริมการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในพื้นที่ การเตรียมพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อขับเคลื่อนเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมมากขึ้น , สร้างกลไกในระดับอำเภอ ยกระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อนงานเพื่อเชื่อมโยงกับสมัชชา ใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในตำบล การขยายแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ในระดับตำบล , สร้างเครือข่ายการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ที่ยั่งยืน รวมถึงร่วมกับภาคีราชการในการพัฒนาองค์ความรู้และวิจัยในจังหวัดให้เกิดรูปธรรมมากขึ้น

ภาพรวมผู้แทนจังหวัดกล่าวรายงาน

2.จังหวัดอำนาจเจริญ : พัฒนาการทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กรในพื้นที่ มีพื้นที่การทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน เกิดการรวมตัวของพื้นที่ในโครงการต่าง ๆ ในจังหวัด โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนภายใต้สภาองค์กรชุมชน ขับเคลื่อนงานโดยภาคประชาชนและประชาสังคม พยายามแก้ไขปัญหาภายในจังหวัด สามารถเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของคนในจังหวัด ได้แก่ ปัญหาโครงสร้างอำนาจรัฐที่ไม่เกิดการกระจายอำนาจลงสู่ชุมชน ส่งเสริมการสร้างสำนึกให้แก่ประชาชนในหลักคิดการสร้างอำนาจประชาชน ผลักดันให้เป็นร่วมของพื้นที่จากปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผลักดันให้เกิดธรรมนูญของคนอำนาจเจริญ เกิดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เกิดพื้นที่ร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ

3.จังหวัดนครศรีธรรมราช : เรียนรู้การทำงานกับหน่วยวิจัย วางแผนการทำงานเชิงบูรณาการ ขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนงาน มีการขับเคลื่อนงานในทั้ง 5 ระดับ ในระยะเวลา 5 ปี เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสถาบันสภาภาคพลเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชในการจัดการตนเอง เกิดการยอมรับของคนในจังหวัด

ผู้แทนจังหวัดตราดกล่าวรายงาน

4.จังหวัดตราด : ขับเคลื่อนงานโดยใช้พื้นที่ป็นตัวตั้ง ใช้กลไกอำเภอเป็นกลไกการประสานงาน โดยใช้เชิงประเด็นสภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการพัฒนาคน การบริหารจัดการที่ดีของชุมชน การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และปลุกพลังของประชาชนในการสร้างพลังพลเมือง การเชื่อมโยงงานภาคี ส่งเสริมนโยบาย สร้างเวทีกลางในการขับเคลื่อนนโยบาย ขับเคลื่อนธรรมนูญชุมชน สร้างกลไกการขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน สร้างนโยบายหลัก 5 ดี วิถีตราด เป็นวาระร่วมของคนในจังหวัด , เชื่อมโยงกลไกกลางร่วมของคนในจังหวัดตามแนววิถีชีวิตของคนตราด พัฒนาเมืองตราดร่วมกัน

5.เพชรบุรี : ขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมการจัดตั้งสภาพลเมือง โดยมีศูนย์พัฒนการเมือง การจัดตั้งโรงเรียนพลเมือง พัฒนาระบบการท่องเที่ยวชุมชนโดยสภาพลเมืองจังหวัดเพชรบุรี

บทบาทภาคีความร่วมมือในการขับเคลื่อนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

1.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ : กล่าวว่าชุมชนที่เข้มแข็งมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริมพฤติกรรมของคนในชุมชนหนุนเสริมการป้องกัน และรักษาสุขภาพ โดยปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ส่งเสริมสนับสนุนในการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างระบบการเงินการคลังรองรับในการพัฒนาชุมชน และสร้างเครือข่ายพลเมืองตื่นรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รองรับการผลักดันนโยบายในสาธารณะที่ยั่งยืน และพัฒนาชุมชนเข้มแข็งนำร่อง ส่งเสริมกฎหมายที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน ร่วมกับหน่วยงานจังหวัดดูแลคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัด สร้างกองทุนสร้างเสริมสุขภาพในระดับจังหวัด เป็นกองทุนฟื้นฟูเสริมสร้างสุขภาพ และเป็นกองทุนร่วมในการขับเคลื่อนงานวิจัยจากพื้นที่ชุมชน สร้างความร่วมมือของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนสุขภาพ และสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

2.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน : งานวิจัยนี้จะเป็นส่วนในการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ได้มีศักยภาพการทำงาน ยกระดับการพัฒนาการทำงานของพื้นที่มากขึ้น สร้างฐานสำคัญจากชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา ซึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปอนาคต ได้แก่ 1) การสร้างกลไกกลางและกลไกร่วมในการขับเคลื่อนร่วมในพื้นที่ การสร้างการรวมตัวการทำงานในพื้นที่ เกิดพื้นที่ในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของพื้นที่ร่วมกัน , วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ โดยนำไปสู่การออกแบบพื้นที่ การเชื่อมโยงกับพื้นที่ และผลักดันให้เกิดกลไกกลางหรือพื้นที่กลาง 2) สร้างกองทุนกลางของพื้นที่ อย่างอิสรภาพ
ซึ่งเป็นกองทุนที่ช่วยสนับสนุน คิดค้นออกแบบในการขับเคลื่อนงาน และพร้อมสร้างระบบการบริหารกองทุนร่วมหนุนเสริมร่วมในลักษณะกองทุนการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ 3) คนในพื้นที่กำหนดทิศทางการพัฒนางานร่วมได้ สามารถกำหนดแนวทางในการหนุนเสริมทิศทางและแผนการพัฒนาในพื้นที่ 4) สร้างระบบการหนนุเสริมการพัฒนาในพื้นที่ สร้างฐานสำคัญในพื้นที่เกิดการเคลื่อนงานได้อย่างเข้มแข็งตามบริบทของพื้นที่ 5) ส่งเสริมองค์ความรู้และการเรียนรู้ท่ามกลางปฏิบัติ 6) สานพลังร่วมกับภาคีพัฒนาขับเคลื่อนงานร่วมกัน

3.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

นพ.อภิชาต รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) : การให้ความสำคัญกับการสร้างสุขภาพที่สมบูรณ์ โดยส่งเสริมโฮมโมเดล ได้แก่ ประเด็นในการสร้างสุขภาพ จริยธรรม สังคม อาชีพและความปลอดภัยของประชาชน สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของประชาชนปลูกฝังให้เกิดในกลุ่มเยาวชน สร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ยืดหยุ่น เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการ มีกรอบเข้มแข็งสร้างสุขภาพเพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชน , สมัชชาสุขภาพเป็นพื้นที่กลางของคนในจังหวัด สนับสนุนการจัดการด้านสุขภาพให้คนในชุมชนจัดการได้ สร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชน พัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการจัดสรรทรัพยากร สร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคมทุกขั้นตอน บูรณาการกับจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัดในโครงการวิจัย

พระปกเกล้า

5.สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า

นายชูศักดิ์ ปัญญามูล : ส่งเสริมการสร้างศูนย์พัฒนาการเมืองทั้ง 77 จังหวัด ส่งเสริมกิจกรรมทางพลเมืองให้แก่ประชาชนขับเคลื่อนในพื้นที่ บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ สร้างโรงเรียนพลเมืองการเมืองการปกครอง พร้อมหาแนวทางในการสร้างพื้นที่กลาง เป็นพื้นที่กำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการทำงาน และเป็นงานร่วมของคนในจังหวัด ให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับหน่วยงาน เข้ามามีส่วนร่วมต่อการทำงานตั้งแต่ระดับเบื้องต้นจนถึงระดับนโยบาย เพื่อเกิดการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด , ด้านกระบวนการเรียนรู้ภาคพลเมือง ต้องให้เวลาและสร้างการบูรณาการจากในระดับพื้นที่ได้มีโอกาสในการขับเคลื่อนงานอย่างเท่าเทียม

 แนวทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป

  • การสร้างพื้นที่กลางของชุมชน และร่วมกับการสนับสนุนในการจัดแผนพัฒนาแบบบูรณาการ ผลักดันแผนท้องถิ่น แผนธุรกิจชุมชนสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชน
  • ทิศทางในการเคลื่อนงานต่อไป โดยต้องร่วมกันส่งเสริมการสร้างสถาบันภาคประชาชน ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาจังหวัด
  • ส่งเสริมพัฒนาแกนนำในการจัดแผนพัฒนาจังหวัด เสนอแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนงานต่อคณะทำงานผู้บริหารจังหวัด ให้เกิดแนวทางนโยบายในการจัดสรรทรัพยากร และระบบการบริหารต่าง ๆ ในจังหวัด
  • พัฒนาเวที และการปฏิบัติการกลุ่มพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้มีการเปิดพื้นที่การเมืองสาธารณะมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างอิสระ และปลอดภัย เกิดการผลิตผู้นำธรรมชาติของพื้นที่อย่างแท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา