ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10) และบรรจุใหม่ใน ICD-11 ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศแทน เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิของคนข้ามเพศ และคนที่มีความหลากหลายทางเพศกลุ่มอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2565

จากรายงานการเกณฑ์ทหารของคนข้ามเพศ ต่อการระบุผลการตรวจร่างกายในประเทศไทยปี 2565 โดยมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สมาคมเพศวิถีศึกษาพบคนข้ามเพศ พบว่าส่วนใหญ่ 91% กลับไม่มีความรู้เรื่องการประกาศถอดถอนภาวการณ์ที่มีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม ส่งผลให้คนข้ามเพศคิดว่าตัวเองป่วยโรคผิดปกติทางจิต และไม่เข้ารับบริการสุขภาพเพราะไม่ต้องการตอบปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพ ส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต สะท้อนแนวโน้มกลุ่มคนข้ามเพศส่วนหนึ่งที่เข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงองค์ความรู้ ประกอบกับสถานบริการที่ให้คำปรึกษามีจำกัด และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ด้วยประเด็นปัญหาดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้สานพลัง มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ และภาคีเครือข่ายจัดเวทีเรื่อง “ผลจากการเปลี่ยนแปลงการระบุความเจ็บป่วยใน ICD-11 สู่โอกาสในการเข้าถึงบริการ : จากครอบครัวสู่ระบบบริการสุขภาพเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ” เนื่องในเทศกาลไพรด์ (Pride Month) ตลอดเดือน มิ.ย. ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลจากสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า “หมุดหมายสำคัญของคนข้ามเพศจะต้องได้รับการบริการ สุขภาพตามเจตจำนงการใช้ชีวิต ดังนั้น สสส.ประสานพลังทุกฝ่าย ฝากให้ทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีคิด การรักษา คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงจะลดความแตกต่าง ช่วง 2 ปีของการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบจึงเป็นงานที่ท้าทาย เพราะคนที่อยู่ในระบบแพทย์แบบเก่าเป็นสิบๆ ปี ยอมรับการเปลี่ยนข้ามเพศเป็นความสวยงดงาม ผู้ให้บริการทางสุขภาพ พยาบาลปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิต"

"การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการขยายความร่วมมือ พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดแทรกเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสถานศึกษา และบริการสุขภาพในสถานพยาบาลที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของคนข้ามเพศ สร้างการรับรู้ของคนข้ามเพศและผู้จัดบริการสุขภาพ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพและการให้บริการต่างๆ  รวมถึงสร้างมาตรการหรือแนวปฏิบัติในการจัดบริการสุขภาพ ที่สอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงการระบุความเจ็บป่วยในบัญชีจำแนกโรคสากล ICD-11 ต่อไป ทั้งนี้ สปสช.เปิดให้สิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดแปลงเพศ เพราะปกติค่าใช้จ่ายในการแปลงเพศมีสนนราคาสูงมาก” สสส.เปิดเผย

ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ และรองคณบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมานั้นการผ่าตัดแปลงเพศให้ฮอร์โมนมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่สามารถเบิกจ่ายในระบบ สปสช.ได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพครอบคลุมแพทย์เชิงพาณิชย์ภาคเอกชน ถ้าหากนำเข้าสู่ระบบการบริการภาครัฐตั้งแต่ต้นจะลดภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างดี เพราะทุกวันนี้คนที่เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศจะไปทำกับคลินิกเถื่อน หรือทำกับแพทย์กระเป๋า เมื่อไม่ได้มาตรฐานเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ก็ต้องกลับมารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ พบเป็นข่าวคนข้ามเพศเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วเสียชีวิตไม่ถึง 10 รายที่มีการรายงานเข้ามายังมูลนิธิฯ เพราะเข้าสู่ระบบการรักษาภาครัฐช้าเกินไป ยังไม่นับรวมเมื่อมีการติดเชื้อส่งผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ

“การส่งเสริมสุขภาพทางเพศด้วยการแปลงเพศตามสภาพที่ตนเองต้องการ คนที่แปลงเพศจะต้องมีเงินเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพจากชายเป็นหญิง ทำศัลยกรรมหน้าอกใช้ฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนเพศและต้องกินยาฮอร์โมนตลอดชีวิตเพื่อกดฮอร์โมนเดิมให้ต่ำลง เพิ่มฮอร์โมนหญิงเข้าไปแทนที่ เปลี่ยนเสียง ใช้เงิน 6-9 แสนบาท ถ้าเปลี่ยนจากหญิงเป็นชายต้องใช้เงินมากกว่าชายเป็นหญิงถึง 2 เท่า เพราะกลไกของร่างกายมีความซับซ้อนมากกว่า สมัยก่อนไม่มีแพทย์โดยตรงที่จะให้ฮอร์โมนในระดับที่ปลอดภัย เพราะให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ช่วงหลังจึงส่งแพทย์ไปเรียนต่อเฉพาะทางโดยตรงที่สหรัฐฯ อังกฤษ ปัจจุบันมี รพ.ที่รับรักษาคนไข้ที่ผ่านการแปลงเพศแล้วที่ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.จุฬาฯ รพ.ธรรมศาสตร์ เพราะส่งแพทย์ไปเรียนโดยตรง”

กิจกรรมครั้งนี้เน้นสร้างการรับรู้ในตัวตนให้กลุ่มคนข้ามเพศ และหน่วยงานผู้จัดบริการสุขภาพ รวมถึงเกิดมาตรการหรือแนวปฏิบัติร่วมกันในการจัดบริการสุขภาพที่มีความสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก โดยใช้หลักการไม่ระบุว่า คนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นหรือมีภาวะของความผิดปกติทางจิต หรืออาการเจ็บป่วยอีกต่อไป ที่สำคัญเป็นพื้นที่ให้กลุ่มคนข้ามเพศได้ส่งเสียงสะท้อน จากสถานการณ์การตีตราว่าป่วยโรคจิตผิดปกติ และครอบครัวที่มีสมาชิกคนข้ามเพศได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาและความต้องการบริการทางการแพทย์ เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ ตามกระบวนการทำความเข้าใจเรื่อง ICD-11 ช่วยให้คนข้ามเพศเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์เพื่อยืนยันเพศสภาพ และการดูแลสุขภาพองค์รวม รวมถึงลดอคติ การเหยียดเพศ และเกิดการยอมรับของคนในสังคมเพิ่มขึ้น

นพ.เบญทวิช สุรศาสตร์พิศาล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว Pride Clinic โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สมาคมเพื่อการพัฒนาสุขภาพบุคคลข้ามเพศและเพศหลากหลาย (ประเทศไทย) (ThaiPATH) เป็นแพทย์ไทย 1 ใน 20 คนที่จบมาทางด้านแพทย์เฉพาะทาง ในการใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาจาก รพ.รามาธิบดีและประเทศสหรัฐฯ เพื่อรักษากลุ่ม LGBTQ+ พร้อมยืนยันด้วยว่า กลุ่มหลากหลายทางเพศไม่ได้มีความผิดปกติทางจิต คนกลุ่มนี้ควรเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพตามที่เขาต้องการ เพื่อสนองความต้องการทางเพศ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คนข้ามเพศทุกคนที่ต้องการจะผ่าตัดใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพศตัวเอง บางคนพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตตัวเองตามเพศสภาพ แต่งตัวตามความพอใจ.


รู้จัก..ICD-10 ICD-11

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 10, 11

ICD-11 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ความไม่สอดคล้องทางเพศสภาวะ (Gender Incongruence) ในบทที่ 17 ภาวะที่สัมพันธ์กับสุขภาพทางเพศ

ปี 2562 ICD-11 ถอนภาวการณ์มีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม ปี พ.ศ.2561 องค์การอนามัยโลกประกาศใช้ ICD-11 

ปี 2555 กระทรวงกลาโหมกำหนดหลักเกณฑ์ ข้อยกเว้นการคัดเลือกเข้ารับราชการทหารของคนข้ามเพศให้เป็นบุคคลจำพวก 2 “ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด (Gender Identity Disorder)”  

ปี 2554 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนข้อความระบุว่า “เป็นโรคจิตถาวร” ในแบบ สด.5แบบ สด.9 และแบบ สด.43

ปี 2553 ถอดเรื่องความหลากหลายทางเพศสภาพ (Gender Diversity) ออกจากการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยทางจิต

ปี 2549 กลุ่มคนข้ามเพศยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนการระบุข้อความว่า “เป็นโรคจิตถาวร”

ปี 2540 เอกสารผลการตรวจเลือด (แบบ สด.43)ระบุข้อความว่า “เป็นโรคจิตถาวร”

ปี 2537 ประกาศใช้ ICD-10 และกำหนดให้บุคคลข้ามเพศเป็นความผิดปกติของอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity Disorders : GID)

ปี 2533 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บุคคลรักเพศเดียวกันจัดอยู่ในกลุ่มของโรคความผิดปกติทางจิต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

'STAR HUNTER' จับมือ 'พอร์ช-อาม' เปิดตัวโปรเจกต์พิเศษเรื่องแรกของเอเชีย!

ข่าวดีส่งท้าย Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองและความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ค่าย STAR HUNTER ENTERTAINMENT บริษัทผู้ผลิตซีรีส์วาย

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5