ลักษณะก้อนมะเร็งเต้านม และวิธีเช็กเบื้องต้นด้วยตนเอง

โรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคมะเร็งชนิดที่เกิดขึ้นกับหญิงไทยมากที่สุดก็ว่าได้ แต่ก็เป็นโรคมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้หากรู้ตัวเร็วและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สำหรับคุณผู้หญิงคนไหนที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคนี้ วันนี้ เราจะมาแนะนำลักษณะก้อนมะเร็งเต้านมที่ควรระวัง พร้อมวิธีตรวจเช็กเต้านมด้วยตัวเองเบื้องต้นกัน

ลักษณะก้อนมะเร็งเต้านมที่ควรระวัง

สำหรับก้อนที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม หรือก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมนั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • เป็นก้อนแข็ง ไม่เจ็บ ไม่คลื่นไหว มักอยู่กึ่งกลางเต้านม
  • ผิวหนังมะเร็งอาจดึงรั้งหรือบุ๋มเข้าหาก้อน
  • หัวนมมีความผิดปกติ มีการหลั่งน้ำจากหัวนมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ส่วนใหญ่ลักษณะก้อนมะเร็งเต้านมเช่นนี้มักจะพบที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น

วิธีตรวจเช็กเบื้องต้นด้วยตนเอง

วิธีตรวจเช็กเบื้องต้นเองที่บ้านเพื่อสังเกตความผิดปกติของเต้านม และกังวลว่าจะเป็นลักษณะก้อนมะเร็งเต้านมหรือไม่ ควรปฏิบัติดังนี้

  • สังเกตด้วยตาเปล่า โดยยืนหน้ากระจกเงยแขนทั้งสองข้าง แล้วสังเกตความผิดปกติของเต้านมทั้งสองข้าง เช่น บวม แดง หรือรูปร่างผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่
  • คลำด้วยมือขณะนอน โดยวางแขนไว้ด้านหลังศีรษะ ค่อย ๆ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำไปทั่วทั้งเต้านมและรักแร้เป็นวงกลม ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
  • สังเกตความผิดปกติของหัวนมและบริเวณรอบหัวนม ด้วยการบีบหัวนมเบา ๆ ว่ามีการไหลของสารใดออกมาจากหัวนมหรือไม่
  • สังเกตบริเวณรักแร้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยให้วางมือบนบริเวณรักแร้และกดค้างไว้สักพัก แล้วสังเกตอาการปวด บวม หรือมีก้อนผิดปกติขึ้นไหม

            หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ตามที่กล่าวมา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคมะเร็งเต้านมได้ การได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยให้โอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมนั้น จะต้องพิจารณาจากระยะของโรค อายุของผู้ป่วย และความต้องการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยวิธีการรักษาหลัก ๆ มีดังนี้

  • การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เป็นวิธีรักษาหลักสำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้น อาจผ่าตัดเอาเต้านมออกบางส่วนหรือทั้งหมด แล้วจึงรักษาเสริมด้วยวิธีอื่น ๆ ต่อไป
  • เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารักษามะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและป้องกันการกลับมาเติบโตใหม่
  • รังสีรักษา เป็นการฉายรังสีไปยังบริเวณที่มีมะเร็ง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจยังคงเหลืออยู่
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษามะเร็งที่พึ่งพาฮอร์โมน โดยจะช่วยชะลอการเจริญของมะเร็ง

โดยทั่วไปแล้ว การรักษาจะต้องใช้วิธีรักษาหลายๆ อย่างประกอบกัน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเป็นหลัก

รู้จักลักษณะก้อนมะเร็งเต้านมแล้ว อย่าลืมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี และสังเกตสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66)

'นุ๊ก สุทธิดา' ช็อค! ตรวจเจอมะเร็งเพิ่ม

จากที่ตั้งความหวังว่าจะไปรักษาโรคมะเร็งที่ประเทศจีน แต่ปรากฏว่ายังทำไม่ได้ เพราะนักร้องนักแสดงสาว นุ๊ก-สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กลับตรวจเจอก้อนเนื้อที่เพิ่มขึ้นมา แถมเจอจุดที่ปอดเพิ่มอีกด้วย ซึ่งในแง่การรักษาในตอนนี้ นุ๊กเผยว่ายังไม่พร้อมรับการผ่าตัดอีกครั้ง เพราะยังติดภารกิจอีกหลายอย่าง ทั้งถ่ายละครและเพิ่งเริ่มทำธุรกิจ

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกรายงานญี่ปุ่น ประเมินผลวัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง

วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน

ชาวเบตง-มาเลย์ ประสานสามัคคี วิ่งสู้มะเร็งซื้ออุปกรณ์การแพทย์

ชาวอำเภอเบตง นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ร่วมกิจกรรมวิ่งสู้มะเร็ง นำรายได้จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์โรงพยาบาลเบตง