เทียบข้อดี-ข้อเสีย คลาวด์ VS แฟลชไดร์ฟ ยุคนี้ควรเลือกใช้อะไรจัดเก็บข้อมูล ?

เมื่อพูดถึงตัวเลือกในการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบดิจิทัลต่าง ๆ ในปัจจุบันก็แน่นอนว่าหลายคนมักถึงและนำเอาตัวเลือก 2 ตัว ซึ่งก็คือ แฟลชไดร์ฟ ที่แก็ดเจ็ตพกพาขนาดเล็ก และระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวฮาร์ดแวร์มาเปรียบเทียบกัน โดยที่ผู้ใช้งานหลายคนมักมองว่าการใช้ระบบคลาวด์จัดเก็บข้อมูลนั้นมีความสะดวกกว่า เพราะไม่ต้องยุ่งยากกับการพกพาอุปกรณ์ หรือแก็ดเจ็ตเสริมใด ๆ ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยที่คิดจะเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟมาไว้ใช้จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ จึงเปลี่ยนใจไปเลือกสมัครใช้งานระบบคลาาวด์ของผู้ให้บริการเจ้าต่าง ๆ แทน อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลทั้งสองตัวเลือกต่างก็มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ทั้งสองตัวเลือกเหมาะกับลักษณะการใช้งาน และลักษณะของข้อมูลที่จะนำมาจัดเก็บแตกต่างกันออกไป ซึ่งในบทความนี้จะมาเทียบข้อดี ข้อเสียให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า คลาวด์ VS แฟลชไดร์ฟ นั้นแตกต่างกันอย่างไร และเราควรเลือกใช้ตัวเลือกไหนในการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ของเรา

ความเป็นส่วนตัว ข้อเปรียบเทียบแรกที่ถือว่าเป็นข้อดีของแฟลชไดร์ฟ และเป็นข้อเสียของระบบคลาวด์ก็คือ ความเป็นส่วนตัวนั่นเอง เนื่องจากการแฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของฮาร์ดแวร์ ซึ่งเมื่อเราจ่ายเงินซื้อมาแล้วก็เท่ากับว่าเราเป็นเจ้าของฮาร์ดแวร์นั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับระบบคลาวด์นั้น เป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบเซิร์ฟเวอร์กลาง ผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ก็คือผู้ให้บริการรายนั้น ๆ ดังนั้นก่อนการใช้งานเราจึงต้องมีการสมัครให้บริการ มีการให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของกับทางผู้ให้บริการ และในผู้ให้บริการบางรายอาจมีเงื่อนไขในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนต่าง ๆ บนอุปกรณ์ของเราเพิ่มเติมอีกด้วย

ความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว อีกหนึ่งข้อเปรียบเทียบที่ยังคงเป็นข้อเสียของระบบคลาวด์ซะมากกว่าแฟลชไดร์ฟ ก็คือ ความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในระยะยาวนั่นเอง เพราะดังที่กล่าวข้างต้นว่าคลาวด์คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบเซิร์ฟเวอร์กลาง ที่มีเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ให้บริการ และมีผู้ใช้งานจำนวนมากมาแชร์พื้นที่ใช้งานกันตามสัดส่วนที่ผู้ให้บริการจัดสรรให้ ซึ่งพื้นที่กลาง หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการนี้อาจมีการประกาศยกเลิก หรือปิดให้บริการเมื่อไหร่ก็ได้ หากว่าผู้ให้บริการเห็นว่าค่าตอบแทนหรือรายได้จากค่าบริการไม่คุ้มค่ากับค่าบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ และหากปิดให้บริการแล้ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่ทำการส่งออก หรือสำรองข้อมูลของตนเองไปยังพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ ก่อน ข้อมูลนั้น ๆ ก็จะถูกลบไปจากเซิร์ฟเวอร์เป็นการถาวร ขณะที่การจัดเก็บข้อมูลลงบนแฟลชไดร์ฟนั้น ข้อมูลจะยังคงอยู่ตราบที่แฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ ไม่มีอาการชำรุด เสียหายเกิดขึ้น

ใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์ ไม่ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ต มากันที่ความสะดวกในการใช้งานที่ต้องบอกว่ามีความสะดวกแตกต่างกัน ซึ่งในส่วนของระบบคลาวด์นั้นสามารถเข้าใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูล บันทึก หรือจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์ หรือตัวแก็ดเจ็ตเสริมในการบันทึกข้อมูลใด ๆ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงระบบออนไลน์นั่นเอง ส่วนแฟลชไดร์ฟนั้นมีความสะดวกอยู่ที่การใช้งานบันทึก คัดลอก ส่งต่อไฟล์ต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่ในการใช้งานก็ต้องพกพาตัวแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟสำหรับนำไปเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตลอดนั่นเอง ซึ่งบางครั้งการเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างเจนฯ ต่างแพลตฟอร์มก็อาจจะต้องพบเจอกับปัญหาพอร์ตเชื่อมต่อที่เข้ากันไม่ได้ ผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์หลาย  ๆ แพลตฟอร์ม จึงอาจต้องมีการพกพาแก็ดเจ็ตจำพวกสายแปลงพอร์ต ขั้วแปลงพอร์ตเพิ่มเติมอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://usb-perfect.com/

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทรู ไอดีซีปฏิวัติเทคโนโลยีคลาวด์ของไทยพร้อมเปิดตัว ‘ทรู ไอดีซีคลาวด์’ เจาะความต้องการที่แท้จริงของธุรกิจไทย

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรู ไอดีซี ผู้นำการให้บริการคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์เสรีอันดับหนึ่งของไทย เปิดตัวทรู ไอดีซีคลาวด์ (True IDC Cloud)