“จิตวิญญาณอาหารกับเยาวชน” การเรียนรู้ที่มากกว่ากินอิ่มอร่อย

การเรียนรู้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำ ให้สังคมและชุมชนอยู่รอด ยิ่งหากมีการเรียนรู้ร่วมกัน ยิ่งทำให้สังคมหรือชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การร่วมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ ยังนำไปสู่การสร้างต้นทุนทางสังคมที่หน่วยงานล้วนมีความต้องการ โดยเฉพาะกระบวนการทำงานในแนวทางตามหลักปรัชญาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่มุ่งเน้นจุดประกายให้สังคมทุกภาคส่วนเข้าถึงเข้าใจปัญหาสุขภาพในเชิงป้องกัน เพื่อสุขภาวะที่ดีทั้งกายจิตใจ และส่งต่อไปถึงสภาพแวดล้อมอีกทั้งส่วนรวม

เวทีนวัตกรรมสังคม “จิตวิญญาณอาหารกับเยาวชน" ในศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.เมื่อเร็วๆ นี้ นับเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ สสส.ได้ร่วมกับภาคีอินนี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล เครือข่ายชุมชนและเยาวชน 3 พื้นที่ กลุ่มบ้านเรียนบ้านสวนผองเพื่อน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ กลุ่มเยาวชนบ้านหนองอียอ อ.สนม จ.สุรินทร์ และเยาวชนโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และส่งต่อความรู้ ภูมิปัญญา  สร้างความตระหนักรู้ว่า "อาหาร" เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้เป็นรูปธรรม เชื่อมโยงความคิด จิตวิญญาณ ความรู้ สติ และปัญญา เพราะแต่ละคำที่เรากินเข้าไปนั้น มีเรื่องราว มีความเป็นมา มีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้สุขภาวะในที่สุด

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก10) กล่าวในการเปิดเวทีนวัตกรรมสังคม “จิตวิญญาณอาหารกับเยาวชน” ว่าแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (แผน10) มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะทางปัญญาในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม เพื่อให้บุคคลมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา ควบคู่กับการสนับสนุนปัจจัยแวดล้อมทางสังคม และนโยบายที่เอื้อต่อการเข้าถึงและการเรียนรู้สุขภาวะทางปัญญา คือการบูรณาการงานสุขภาวะทางปัญญา กับการสร้างเสริมสุขภาวะในมิติกาย ใจ และสังคม

อาหารเป็นสื่อกลางที่เป็นรูปธรรมในการเชื่อมโยงมิติทางร่างกาย ความสัมพันธ์และจิตวิญญาณ สมัยโบราณคนกินอาหารเรียบง่ายจากธรรมชาติ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิตแปรรูปที่บั่นทอนสุขภาพเหมือนในปัจจุบัน ที่คนออกห่างจากวิถีอาหารตามธรรมชาติ ทำให้สมดุลในร่างกายและจิตใจผิดเพี้ยนไป การผลิตและการบริโภคอาหารโดยขาดความตระหนักรู้ก่อให้เกิดวิกฤติด้านอาหารและสิ่งแวดล้อมของโลกในหลายด้าน

อาหารเชื่อมโยงการเท่าทันตนเอง สติกับการรับประทานอาหาร การเท่าทันอาหารที่ทำให้เกิดทุกขภาวะ  อาหารกับการเชื่อมโยงกับผู้อื่น อาหารบางชนิดพาเรากลับไปเชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด รสมือแม่พาเรากลับไปสู่วันเวลาอบอุ่นในวัยเด็ก บางจานพาเราอิ่มอุ่นปนความคะนึงหา เมนูบางอย่างพาเรากลับไปสู่มิตรภาพงดงามในวัยเยาว์ อาหารยังทำให้เราได้เห็นความเชื่อมโยงกับโลกและธรรมชาติ หากดื่มด่ำด้วยความตระหนักรู้ การดื่มชาทำให้เราเห็นทั้งโลกในถ้วยชา ทั้งเกษตรกรผู้ปลูก ดิน น้ำฝน  ใบชา และการกลับมาสู่การเชื่อมโยงภายในตนอีกครั้ง ส้มเพียงกลีบเดียว หากรับประทานอย่างมีสติ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ถึงระบบที่เชื่อมโยงกัน อาหารยังเชื่อมโยงกับศรัทธาและจิตวิญญาณ มีผลต่อการบริโภคอาหารที่ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต

สรุปได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่า เรื่องราวของอาหารไม่ได้เป็นแค่เรื่องของชีวิตเท่านั้น แต่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศ และสิ่งที่กว้างไกล นำไปสู่เรื่องชีวิตจิตวิญญาณด้วย เราตระหนักว่าอาหารมีบทบาทต่อชีวิตผู้คน แต่อาหารส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่ผลิตในแบบธุรกิจอาหารหรือระบบอุตสาหกรรมได้สร้างปัญหาหลายด้าน ทั้งปัญหาสุขภาพจากความไม่ปลอดภัยของอาหาร ปัญหาระบบนิเวศเสื่อมถอยจากการผลิตแบบเกษตรเคมีเข้มข้นเชิงเดี่ยว ปัญหาสังคมจากการผูกขาดช่องทางและความไม่เป็นธรรม ทำอย่างไรจึงจะเกิดพลังผู้คน พลังชุมชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารที่มีปัญหานี้ได้

เฉกเช่นเดียวกับที่ นายกุสตาฟ สเปธ ผู้บริหารกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ UNDP  นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ให้ข้อคิดว่า "ผมเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ คือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศล่มสลาย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  วิทยาศาสตร์ที่ดี ตลอด 30 ปีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เป็นการคิดผิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ คือความเห็นแก่ตัว ความโลภ ไม่แยแส และเพื่อจัดการกับสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม"

นางวัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด นักขับเคลื่อนรุ่นใหญ่ที่อยู่บนถนนสายอาหารและเกษตรอินทรีย์มากว่า 10 ปี ผู้ริเริ่มตลาดสีเขียวในพื้นที่เมืองเป็นคนแรกๆ ผู้รับผิดชอบโครงการ Food Spirit Forum จักรวาลในชามข้าว “นวัตกรรมสังคมด้านจิตวิญญาณอาหารกับเด็กและเยาวชน” ชี้แจงว่า นวัตกรรมสังคม (Social Innovation) เป็นการนำต้นทุนศักยภาพที่มีอยู่ ประสานกับการค้นหาคุณค่าความหมายในการแก้ไขปัญหา และความท้าทายใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิม เรื่องของ spiritมีหลายรูปแบบ เมล็ดข้าวโอบกอดจักรวาล อาหารทำให้อิ่มอร่อยมีสุขภาพดี แล้วยังมีมิติทางสังคมด้วยความร่วมมือทำแปลงผักในชุมชน

อาหารสำหรับเด็กและเยาวชนมีความสำคัญ ผู้ประกอบอาหารต้องตระหนักและให้ความสำคัญเรื่องอาหารการกิน การปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร ในพืชผัก  ปลา เนื้อสัตว์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การประกอบอาหาร คนที่อยู่คอนโดฯ มีปฏิสัมพันธ์กัน การที่มีเมนูผักที่หลากหลายสะท้อนระบบนิเวศน์ ในกรุงเทพฯ เราไม่มีเมนูแกงหวาย เด็กที่กำแพงเพชรทำเมนูแกงเขาไฟใส่มะขามเปียกมีวิตามินซีแก้หวัดได้ การที่เด็กได้สืบค้นข้อมูลวัตถุดิบทำอาหารเป็นเรื่องสนุกในการสร้าง story  ครูให้เด็กมาเล่าความหมายแห่งจักรวาลในวิถีอาหาร เป็นการเปิดรับทางความคิด เปิดดวงตาใหม่ในการรับรู้ Spiritual Health นักสร้างเสริมสุขภาพให้มีพลัง มีจิตวิญญาณที่ไม่แยกออกจากกัน

ตัวอย่างของ 3 ชุมชนที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ในเวทีนี้ ถือเป็น เด็กก่อ สร้างสรรค์ Dek Ko Sangsan นำภูมิปัญญามรดกตกทอดจากบรรพบุรุษมาทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกันสร้าง “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” ที่ร้อยผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยงให้เด็กกินอาหารที่รังแกร่างกายน้อยลง สร้างแรงจูงใจให้เด็กได้กินอาหารที่พึ่งพาเศรษฐกิจ ผักกูด ผักหวาน สายบัว ขี้เหล็ก ใบหญ้านาง หน่อไม้ ผักติ้ว น้ำตาลจากอ้อยออร์แกนิก พัฒนาเป็นอาหารที่เข้าถึงได้ กล้วยอบ กล้วยฉาบ น้ำเปล่าดีต่อสุขภาพ และเรียนรู้ถ่ายทอดเมนูอาหารจากผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน. 


สถานีความรู้เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี “สร้างความภาคภูมิใจให้เด็กและเยาวชนผ่านพื้นที่ทางวัฒนธรรม”

นายสุนทร คมคาย ประธานวิสาหกิจชุมชนเขาไม้แก้ว  และเยาวชนวัย 15-16 ปี นายรัตนโชติ ลาเจริญ, น.ส.ธารารัตน์ บัวศรี, น.ส.สุธินนท์ คำเคน

ตำบลเขาไม้แก้ว เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่อพยพมาจากเขต อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี และภาคอีสานในอดีต ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและยึดมั่นวิถีปฏิบัติตามฮีตคอง (ฮีต 12 คอง 14) มีการรุกล้ำของพืชเศรษฐกิจและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้สภาพแวดล้อมชุมชนเปลี่ยนแปลงเกิดปัญหาด้านมลภาวะ เหตุปัจจัยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร นิเวศอาหารมีความอุดมสมบูรณ์น้อยลง คนในชุมชนเข้าสู่ระบบโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น

คนกลุ่มหนึ่งขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเคมีเป็นแบบอินทรีย์ ดำเนินงานในรูปของกลุ่มองค์กรและเครือข่าย  ขยายแนวคิดและวิถีปฏิบัติเกษตรอินทรีย์เข้าสู่โรงเรียนเขาไม้แก้ว เพื่อให้เด็กนักเรียนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ไม่ได้รับบริโภคอาหารกลางวัน โรงเรียนจัดทำกิจกรรมการทำนาระดมทุนข้าวเปลือกเพื่อเป็นทุนอาหารกลางวัน พร้อมทั้งส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน มีหลักสูตรการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จัดทำแปลงพืชผักอินทรีย์ การเลี้ยงไก่ไข่ เพาะเห็ดและปลูกข้าวอินทรีย์ ผลิตนำไปเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนได้บริโภคและเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย นักเรียนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของชุมชน การอนุรักษ์พื้นที่อาหารและฐานทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน (ธนาคารอาหารชุมชน)

เด็กเห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจ ด้วยการเชื่อมร้อยเกษตรอินทรีย์และวิถีวัฒนธรรม ใช้งานบุญคูณลานสู่ขวัญข้าวเป็นตัวเชื่อมร้อยงานบุญประเพณี หรืองานเทศกาลประจำปีให้เป็นพื้นที่ทางสังคม หรือพื้นที่สร้างสรรค์ของชุมชนเป็น “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” ที่ร้อยผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ และหน่วยงานองค์กรในพื้นที่ พบปะกัน เป็นการซึมซับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนชุมชนเขาไม้แก้ว เป็นกุศโลบายที่ดีในการสานสร้างความสมัครสมานสามัคคี การเสียสละแบ่งปัน ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น