อึ้ง เด็กประถม ขายบุหรี่ไฟฟ้า เลี้ยงปากท้อง ซ้ำ ฝุ่น PM2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง ทำป่วยมะเร็งปอดติด 1 ใน 5 โรคมะเร็งคร่าชีวิต

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรม ThaiHealth Watch The Series 2024 ชุด “เล่นให้เป็นเรื่อง” ครั้งที่ 2 ว่า เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก สสส. ได้จัดกิจกรรม ThaiHealth Watch The Series ชื่อตอนว่า เล่นเรื่องปอด : เมื่อปอดไม่ปลอดภัย…จากฝุ่นพิษและบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งเปิดพื้นที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนะแนวทางป้องกันและดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้ชุด “รู้ทันกลลวงบุหรี่ไฟฟ้า” 4 ประเด็น 1.การรู้เท่าทันการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า 2.สารพิษที่เคลือบแฝงในบุหรี่ไฟฟ้า 3.ผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ 4.สถานการณ์และกรณีศึกษาของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งสร้างความตระหนักถึงภัยสุขภาพปอดที่มาจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ต่อผู้นำการสื่อสาร คนรุ่นใหม่ คุณครู และภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะที่เข้าร่วมงานกว่า 70 คน

“ไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM 2.5 เข้าขั้นวิกฤต กว่า 38 ล้านคนต้องอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในจำนวนนี้เป็นเด็กกว่า 3.5 ล้านคน ที่หายใจนำฝุ่นเข้าปอดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 4 มวนต่อวัน ยิ่งไปกว่านั้น กลยุทธ์ตลาดบุหรี่ไฟฟ้ายังมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเด็ก สสส. จึงเร่งสร้างการตระหนักรู้ให้กับภาคีสุขภาวะ ร่วมกันขับเคลื่อนให้ประชาชนทุกกลุ่มมีสุขภาวะที่แข็งแรงและปลอดภัย ทั้งนี้ สสส. จะจัด ThaiHealth Watch The Series 2024 ชุด “เล่นให้เป็นเรื่อง” ตลอดปี 2567 ติดตามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

นพ.วินัย โบเวจา หัวหน้าศูนย์สุขภาพปอด อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 กล่าวว่า โรคมะเร็งปอด ติด 1 ใน 5 อันดับมะเร็งที่คร่าชีวิตประชากรโลก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ 1.มลพิษทางอากาศ PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการไอ เลือดกำเดาไหล หรือภูมิแพ้ ที่สำคัญฝุ่น PM 2.5 กระตุ้นให้สารพันธุกรรมกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ 2.สารพิษจากบุหรี่ไฟฟ้า ประชาชนบางส่วนมีความตระหนักเรื่องความอันตรายของสารนิโคติน แต่สารปรุงสี แต่งกลิ่นเพื่อดึงดูดผู้สูบหน้าใหม่ ที่มีกว่า 7,000 ชนิดในบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อปอดรุนแรงทวีคูณ เนื่องจากไอระเหยมีขนาดเล็กเมื่อเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดโรคหอบหืด และอักเสบในทางเดินหายใจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และฟัน จึงควรป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับมลพิษจากฝุ่น PM2.5 และไอจากบุหรี่ไฟฟ้า

“6 แนวทางเลี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอด 1.รับประทานอาหารบำรุงปอด อาหารประเภทที่ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ อาทิ แอปเปิล บรอกโคลี ถั่ว ขิง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี 2.ออกกำลังกายบริหารปอด หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก 3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด เช่น สัมผัสควันบุหรี่ อยู่ในพื้นที่ที่มีการเผา 4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชม. ต่อวัน 5.ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ปอดชุ่มชื้น 6.รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ ห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิดในขณะนอนหลับ” นพ.วินัย กล่าว

นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ Toolmorrow กล่าวว่า เด็กนักเรียนเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าน่ารัก เสมือนไม่มีพิษภัย และมีรสชาติที่หวาน หอม ดึงดูดให้หลงใช้ จากการลงพื้นที่สำรวจในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในภาคกลาง พบนักเรียน 20 คน เคยใช้และจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ขาดความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และโครงสร้างสังคม ที่ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว จากปัญหาที่เกิดขึ้น ได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบภาพยนตร์สั้นที่ให้คนดูสามารถเลือกการดำเนินเรื่องเอง (Interactive) ชื่อเรื่อง “บานปลาย” นำเสนอแนวทางการสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน รับชมได้ที่เว็บไซต์ https://toolmorrow.com/portfolio-item/escalate/

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ