สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในบทบาทผู้ขับเคลื่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

การมีกฎหมายที่ดี มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมและยกระดับการพัฒนา ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสถานการณ์ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมายังมีอุปสรรคหลายประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งการมีกฎหมายมากเกินความจำเป็น หรือกฎหมายล้าสมัย       ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ประเด็นที่ ๖ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จึงได้กำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ การยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย และให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็น เพื่อให้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และอำนวยประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของประชาชน

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการพัฒนากฎหมาย จึงตราพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำหรือพัฒนากฎหมาย ซึ่งการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย คือ กระบวนการทบทวนกฎหมาย เพื่อแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย หากหมดความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน หลักของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย คือ การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ว่าได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนั้นมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชนหรือไม่ หรือมีผลกระทบอื่นอันก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือไม่เพียงใด โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบกฎหมายนั้น ๆ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบการประเมินฯ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายทุกฉบับด้วย

ประโยชน์ที่ได้จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ได้แก่

          ๑. มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น โดยให้ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ล้าสมัย หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน

          ๒. มีการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ

          ๓. ลดความซ้ำซ้อนและขัดแย้งกันของกฎหมาย

          ๔. ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม

          ๕. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          ๖. การปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการรับฟังความคิดเห็น        

บทบาทของสำนักงานฯ ในการขับเคลื่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

สำนักงานฯ ในฐานะเจ้าภาพตัวชี้วัดด้านการพัฒนากฎหมายหรือยกเลิกกฎหมาย ในแผนแม่บทด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จึงมีภารกิจในการติดตามผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบกฎหมาย และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบกฎหมายแต่ละฉบับดำเนินการทบทวนและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยที่ผ่านมามีกฎหมายที่ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์แล้วไม่น้อยกว่า ๑๖๔ ฉบับ เช่นพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รองรับการให้บริการของภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น

กฎหมายคือเครื่องมือของรัฐในการกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางในการอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม

นายกฯ นัดถก ก.ตร. หารือปมกฤษฎีกาตีความคำสั่ง 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ นัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

'วิรุตม์' สอนมวยกฤษฎีกา ชี้ 'โจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ ตาม ม.131 ไม่เกี่ยว ม.120

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) กล่าวว่า กรณีการตอบและตั้งข้อสังเกตตามหนังสือหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เปิดความเห็น 'กฤษฎีกา' กรณีสั่งให้ 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการไว้ก่อน

มีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ออกจากราชการไว้ก่อน

'เศรษฐา' รอดยาก! จับตาเอกสารสลค.สำคัญที่สุดในการเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยังไม่สิ้นกระบวนความ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับฟ้อง พิชิต ชื่นบาน เพราะลาออกไปก่อน

'ทนายถุงขนม' คอพาดเขียง! ลุ้นศาลรธน.ชี้ขาดคุณสมบัติ 'ความซื่อสัตย์-ฝ่าฝืนจริยธรรม'

ข้อหารือนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การให้ความเห็นในกรณีนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น'