สสส. หนุนรัฐสภา ใช้แนวคิด Happy Workplace พัฒนาโมเดลรัฐสภาองค์กรแห่งความสุข สร้างบุคคลสร้างสุขรัฐสภาต้นแบบ

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2567 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรม “เวทีคนต้นแบบสร้างสุขรัฐสภา” ว่า รัฐสภา มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาวะดีทุกมิติ จึงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาโครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข ตามหลักการองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จากข้อมูลสุขภาพของบุคลากรในวงงานรัฐสภา ปี 2566 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1.กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ NCDs ซึ่งพบว่า มีไขมันในเลือดสูง 2.กลุ่มเสี่ยงป่วยโรค NCDs โดยพบความสมบูรณ์เม็ดเลือดไม่ปกติ และระดับกรดยูริคในเลือดสูง 3.กลุ่มปกติ โรค NCDs สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง รับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด ความเครียดจากการทำงาน และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ทำให้เกิดเป็นโมเดลรัฐสภาองค์กรแห่งความสุขขยายผลสู่ประชาชนต่อไป

น.ส.กัลยรัชต์ ขาวสำอางค์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า โครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข ได้นำแนวคิดการพัฒนาองค์กรด้านสุขกาย สบายใจ ไร้หนี้ ชีวีมีสุข ซึ่งจากการดำเนินโครงการ 5 เดือน ได้พัฒนานวัตกรรมไลน์ OA “หมอสภา” เพื่อใช้บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพและการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว รวมถึงการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ ชมรมออกกำลังกาย กิจกรรมให้คำปรึกษาบริการทางใจ กิจกรรมเพิ่มความรู้และสร้างความตระหนักต่อโรค NCDs นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ เกิดนักสร้างสุของค์กรผู้นำสุขภาพ 292 คน ในจำนวนนี้ ยกระดับเป็นบุคคลต้นแบบสร้างสุขรัฐสภาด้านสุขภาพกาย-ใจที่ดี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลของรัฐสภา ที่มุ่งเน้นให้บุคลากรมีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. มุ่งดำเนินงานขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรสุขภาวะ โดยเฉพาะในองค์กรซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการมีสุขภาพดีของคนวัยทำงาน ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ สสส. พร้อมขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะให้ครอบคลุม 4 มิติ คือ กาย ใจ ปัญญา สังคม มีแนวทางการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1.พัฒนาองค์กรและพัฒนานักสร้างสุของค์กร สู่การเป็นนักสร้างสุขภาวะมืออาชีพ 2.ดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและกิจกรรมเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การจัดตั้งชมรมออกกำลังกาย เสริมทักษะสร้างสุขด้วยสติ กิจกรรมจิตอาสา 3.พัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้สุขภาพและนวัตกรรมสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาวะในรัฐสภา ล่าสุด พัฒนาหนังสือ “เส้นทางสู่ผู้นำสุขภาพ” เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการส่งต่อความรู้ด้านสุขภาพกระจายสู่ชุมชนและสังคม สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ที่เว็บไซต์ https://web.parliament.go.th/view/9/Health_madia/TH-TH มุ่งเป้าขยายผลไปยังกลุ่มสมาชิกรัฐสภา สส. สว. ผู้บริหารข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างสำนักงานเลขาธิการฯ และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากว่า 5,000 คน และหวังผลขยายต่อไปยังประชาชนทั่วไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

“ThaiHealth Watch 2025” เปิด 7 เทรนด์สุขภาพ ปี 2568 ความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ/เทคโนโลยี กระทบสุขภาพกาย-ใจคนทุกกลุ่ม

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย 2568

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)