“สันติ รมช.สธ.” เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ คสช.มุ่งยกระดับสุขภาพปชช. ระดมสมองแก้วิกฤตเด็กเกิดน้อย-ยาเสพติดระบาดในเยาวชนเสนอรัฐบาล

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมาย ทิศทาง หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อระดมความเห็น ด้านส่งเสริมหน่วยงานหรือองค์กร ที่จะมุ่งขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกัน นำไปสู่การสร้าง “สุขภาพ” หรือ “สุขภาวะ” ของประชาชน ที่ห้องประชุม Sapphire 2 - 3 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ทั้งนี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีส่วนทำให้ประชาชน เข้าใจและสามารถวางแผนด้านสุขภาพมากขึ้นและยังคงผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านสุขภาพจิตของประชาชนที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะครอบครัวใหม่ๆกังวลเรื่องการมีบุตร ทำให้ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชาชนต่ำกว่าเป้าหมายหรืออยู่ในขั้นวิกฤต โดยประเทศไทยมีประชากร 66-67 ล้านคน ต้องมีอัตราการเกิดปีละกว่า 8 แสนคน แต่ที่ผ่านมา มีการเกิดกว่า 400,000 คน ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตด้านแรงงานที่จะหายไปกว่าครึ่ง และจากการลงพื้นที่พบประชาชนในชนบทและชุมชนเมืองพบว่า ครอบครัวใหม่ๆ มีความกังวลในการมีบุตร เนื่องจากขาดศักยภาพในการเลี้ยงดู และพร้อมมีบุตรเมื่อครอบครัวมีฐานะมั่นคงขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้ร่วมกันระดมความคิดในการวางแนวทางการส่งเสริมการมีบุตรมากขึ้น เพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวไปยังรัฐบาลต่อไป

“จากการลงไปเยี่ยมสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมแต่ละแห่งพบว่า มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในทุกรูปแบบต่างๆเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเด็ก และเป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายมากกว่า 3 ล้านคน และส่วนที่เข้ามาไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีอีกกว่า 2 ล้านคน โดยรวมแล้วมีถึง 6 ล้านคน แต่ละวันจ่ายค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ใน 1 ปี ต้องจ่ายเงินจ้างแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเกินกว่า 7 แสนล้านบาท ดังนั้นเงินที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ หากนำมาใช้ในการเพิ่มจำนวนประชากรก็จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ในอนาคต สิ่งเหล่านี้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะเข้ามามีบทบาทในการเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลสนใจเรื่องเหล่านี้” นายสันติ กล่าว

สำหรับประเด็นของปัญหาเรื่องยาเสพติด ที่มีผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน และกระทบเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น ยาบ้า 1 เม็ด 5 เม็ด หรือ 10 เม็ด ในอดีตเป็นสิ่งที่ทำลายพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งจากการลงพื้นที่ไปยังชุมชนเมืองและชุมชนต่างจังหวัด บรรดาลูกหลานจำนวนมากเป็นทั้งผู้ค้าและผู้เสพ การปราบปรามของกระบวนการยุติธรรมยังไม่รัดกุม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของวัยที่ใช้แรงงาน ก่อให้เกิดวิกฤตด้านการเรียนรู้ เนื่องจากไปทำลายระบบประสาทไม่สามารถพัฒนาด้านการเรียนรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ได้ ส่งผลต่อสุขภาพครัวเรือน และสุขภาพจิตของพี่น้องประชาชนอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' ข้องใจนำกัญชากลับสู่ยาเสพติด 'คนเดียวกันพูดคนละอย่างได้อย่างไร' จี้ป.ป.ส.แจง

'พีระพันธุ์' ข้องใจ นำกัญชากลับเข้าสู่บัญชียาเสพติด 'คนเดียวกันพูดคนละอย่างได้อย่างไร' เล็งให้ ป.ป.ส.แจง หลังนโยบายชักเข้าชักออก ขอคุยก่อนประชุม ย้ำต้องอธิบายให้ได้

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

'เศรษฐา' สั่ง สธ.เร่งเพิ่มครูสอนพยาบาล

'รัดเกล้า' เผย อนุมัติงบเพื่อยกระดับโรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม-สระแก้ว นายกฯ ย้ำมีฮาร์ดแวร์แล้วต้องมีซอฟต์แวร์ด้วย สั่ง สธ. เพิ่มจำนวนครูสอนพยาบาล

อย่าเอากัญชามาล้างแค้นการเมือง ! “หมอปัตพงษ์” วิเคราะห์ท่าที “สมศักดิ์” หลังเผยไทม์ไลน์นำกัญชากลับเป็นยาเสพติด

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความเห็นภายหลังนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

"สันติ" รมช.สธ. ยกต้นแบบ รพ.อัจฉริยะ รพ.ปากช่องนานา-เทพรัตน์ จ.นครราชสีมา ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเขาใหญ่สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสร้างรายได้ประชาชนยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจราชการก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์