เปิดวิจัยเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ รอดด้วยคาถา “อดทน-ไม่โลภ-ใคร่ครวญ”

ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบคนทั่วโลก 5,160 ล้านคนใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละกว่า 6 ชั่วโมง เกือบ 5 พันล้านคนใช้สื่อสังคมออนไลน์ แนวโน้มแต่ละปีใช้งานสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอีก 137 ล้านคน และสิ่งที่ตามมาเหมือนเงาตามตัวคือ  การละเมิดข้อมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

Digital 2023 จัดทำโดย We Are Social พบว่าประชากรโลก 5,160 ล้านคน (ร้อยละ 64.4) ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 6 ชม. 37 นาที ร้อยละ 92.3 ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ร้อยละ 60 หรือ 4,760 ล้านคน ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และคาดการณ์ด้วยว่า แต่ละปีจะมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นด้วยอิสรภาพทางการเงิน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการภัยคุกคามทางออนไลน์ สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางรับมือ เมื่อวันที่  9 พ.ค. 2567 ที่ รร.แมนดาริน สามย่าน

นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.  เปิดเผยว่า ข้อมูลจากงานวิจัยโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ  ปี 2566 พบว่า ประชากรไทยกว่า 36 ล้านคนเคยถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์กว่า 50% ตกเป็นผู้เสียหาย ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมาก หากวิเคราะห์โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 4 ช่วงวัย ทำให้เห็นความเสี่ยงและผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น กลุ่ม Gen Z แม้จะรู้วิธีการป้องกันความเสี่ยงจากภัยออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น แต่มีอัตราการตกเป็นผู้เสียหายสูงกว่าคนกลุ่มอื่น

“สังคมมองภาพผู้เสียหายว่า โลภ หลง และไม่ระวัง ถือเป็นการซ้ำเติม ผู้เสียหายมักโทษตัวเอง กลัวถูกคนใกล้ชิดตำหนิกล่าวโทษ ทำให้ไม่กล้าบอกครอบครัวหรือคนรอบข้าง  กลายเป็นความเครียด หวาดกลัว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามโลกออนไลน์มีทั้งคุณประโยชน์และโทษ เช่น อาชญากรรมออนไลน์ การหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญ สสส.จึงได้ริเริ่มผลักดัน สานพลังการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมแก้ไขปัญหา โดยสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย การออกแบบวิธีการรับมือกับภัยคุกคามออนไลน์ สร้างความรู้เท่าทันสถานการณ์ และส่งเสริมการปราบปรามที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี” นายวิเชษฐ์เปิดเผย

สสส.เผยแพร่ให้สังคมสร้างความตระหนักรู้ทุกกลุ่ม ให้สังคมสร้างภูมิคุ้มกันไม่ถูกหลอก นำงานวิจัยไปใช้เพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ออกกฎหมาย มาตรการของรัฐบาลในการปราบปราม ป้องกันการหลอกลวง การใช้เทคโนโลยีเสาโทรคมนาคมที่ถูก กม. อยู่ในความดูแลของ กสทช.ปักอยู่ตามแนวชายแดนต่างๆรอบประเทศไทย พม่า กัมพูชา  สระแก้ว ยังมีเสาโทรคมนาคมที่ผิด กม.มากกว่าครึ่ง สังเกตได้จากบ้านที่ปิดมิดชิดลากสายเสาโทรคมนาคมลงใต้ดินจากฝั่งชายแดนไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะแม่สอด เป็นธุรกิจสีเทา แก๊ง Call Center กลุ่มจีนสีเทา ฝรั่งสีเทาที่ฝังตัวอยู่ภูเก็ต พัทยา ล้วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ คริปโตเคอร์เรนซี การค้ามนุษย์เฟื่องฟู มีธุรกิจให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหมื่นๆ เครื่อง สะท้อนให้เห็นว่าตามแนวชายแดนอ่อนไหว บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าขายไฟฟ้าให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามทางออนไลน์ ชี้แจงว่า จากการสำรวจสถานการณ์การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ของประชากรไทยอายุ 15-79 ปี ระหว่างวันที่ 21 ก.ค.- 31 ส.ค. 2566 รวม 6,973 ตัวอย่าง จาก 24  จังหวัด พบว่าคนไทยกว่า 36 ล้านคนถูกหลอกลวงออนไลน์ในรอบปี 2566 ในจำนวนนี้เกินครึ่งหรือประมาณ  18.37 ล้านคนตกเป็นผู้เสียหาย โดยคน Gen Y เป็นกลุ่มถูกหลอกที่มีจำนวนผู้เสียหายมากที่สุดและมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด

ประเภทการหลอกลวงที่พบจำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายมากที่สุด อยู่ในกลุ่มซื้อสินค้าออนไลน์และหลอกให้ลงทุน ลำดับถัดมาคือ หลอกรับสมัครงาน/ให้ทำงานออนไลน์/ทำภารกิจออนไลน์ หลอกว่ามีพัสดุตกค้าง  หลอกเป็นคนรู้จักโดยปลอมหรือแฮ็กบัญชีหรือหลอกว่าคนรู้จักกำลังมีปัญหา หลอกให้กู้/แอปเงินกู้ผิดกฎหมาย หลอกเรียกเก็บเงิน/อ้างว่าค้างจ่ายค่าบริการต่างๆ หลอกให้รักออนไลน์ ด้านอัตราการตกเป็นผู้เสียหาย คือในคนถูกหลอก 100 คน หลอกสำเร็จ-ตกเป็นผู้เสียหายกี่คน พบว่าการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศโดยให้โอนเงินค่าประกัน หรือค่าดำเนินการพบอัตราการตกเป็นผู้เสียหายมากที่สุด  35.6% มีมูลค่าความเสียหายต่อคนมากที่สุด 31,714  บาท

ปี 2566 ความเสียหายจากการถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ มีมูลค่าประมาณ 49,845 ล้านบาท  เฉลี่ย 2,660.94 บาท/คน นอกจากนั้นผู้เสียหายยังได้รับผลกระทบด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กลัวถูกคนใกล้ชิดกล่าวโทษจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาขาดความเชื่อมั่นต่อการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ เช่น ไม่กล้ารับเบอร์แปลก/เบอร์ที่ไม่รู้จัก/ไม่มีในรายชื่อ เลี่ยงการใช้แอปพลิเคชันที่มีการให้กรอกข้อมูลส่วนตัว  กังวลในการซื้อสินค้าออนไลน์/ซื้อสินค้าออนไลน์น้อยลง และอื่นๆ ที่สำคัญคือปัญหาสุขภาพจิต ตั้งแต่การโทษตัวเองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 61.3% หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลายเป็นคนที่หวาดกลัวต่อการดำรงชีวิต 43.9% รู้สึกสิ้นหวังและไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไป 22.6% พบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยเยียวยาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 13.5%

นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอเรื่องภัยออนไลน์:ปัจจัยคุกคามจากโลกดิจิตอล หัวข้อ “แพลตฟอร์มภาคเอกชนกับภัยออนไลน์” การละเมิดข้อมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมปี 2544 ผู้ถูกละเมิดข้อมูล 6 ราย/ชั่วโมง เพิ่มจำนวนเป็น 97 ราย/ชั่วโมง ในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,157 ในระยะเวลา 20 ปี มูลค่าความเสียหายต่อครั้งสูงขึ้น สอดคล้องกับความเสียหายจากการละเมิดข้อมูลในภาคธุรกิจทั่วโลกที่พุ่งตัวสูงขึ้น ค่าเฉลี่ย 4.24 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 เพิ่มเป็น 4.35 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565

เมื่อศึกษาภัยคุกคามจากภายใน มีการรั่วไหลข้อมูลจากภัยคุกคามภายในถึง 6,803 เหตุการณ์ รวมมูลค่าความเสียหาย 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ภัยคุกคามภายในจากความประมาทของบุคคลในองค์กรเป็นต้นเหตุถึงร้อยละ 56 มากกว่าภัยคุกคามภายในจากอาชญากรรมคนในที่มีจำนวนร้อยละ 26 และจากการจารกรรมข้อมูลระบุตัว จำนวนร้อยละ 18 โดยอุตสาหกรรมที่ถูกโจมตีจากภัยคุกตามภายในสูงสุดอันดับต้นๆ ทั่วโลก ได้แก่ การเงิน การบริการ การผลิต

การหลอกลวงซื้อขายออนไลน์ในประเทศไทย คดีหลอกขายสินค้าและบริการมีอัตราการเกิดเหตุสูงสุด ในคดีหลอกขายสินค้าและบริการมีอัตราการเกิดเหตุสูงสุด การแจ้งความออนไลน์เกี่ยวกับการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 ถึงเดือน ก.พ. 2567 พบว่ามีจำนวนสูงที่สุดถึง 181.565 คดี รวมมูลค่าความเสียหายมากถึง 2,605 ล้านบาท การหลอกลวงผ่าน Social Commerce มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์ม E-commerce เป็นที่สังเกตว่าภาคเอกชนในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีการลงทุนด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบความปลอดภัยของข้อมูลในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับภาคส่วนธุรกิจเดียวกันในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหภาพยุโรป ภาคเอกชนที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีการลงทุนในด้านความปลอดภัของข้อมูลระดับที่ค่อนข้างต่ำ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจแพลตฟอร์มของต่างประเทศหรือมีการลงทุนร่วมกับต่างประเทศ  ธุรกิจที่ต้องจัดการกับลูกค้าต่างประเทศ และธุรกิจที่เป็นคู่ค้ากับภาคการเงินและบริษัทต่างประเทศ มีการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลสูงกว่าธุรกิจประเภทอื่น

จากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีคาถาสำคัญที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัยจากอาชญากรรมออนไลน์ ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ทำงานหาเงิน ต้องการเพิ่มมูลค่าด้วยการให้เงินทำงาน ด้วยการลงทุนในทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น กองทุนรวม คริปโตเคอร์เรนซี ต้องใช้ความอดทน การใช้ความรู้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักตัวเองมากพอว่า  ด้วยสถานะทางการเงินมีความเหมาะสมที่จะลงทุนแบบไหนอย่างที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป ข้อสำคัญต้องไม่โลภ ใคร่ครวญให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนตามคำชักชวนของมิจฉาชีพ ตลอดจนผู้หวังดี...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' สวมรอยหน่วยงานรัฐหลอกลวง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)