”ศุภมาส” ประกาศเจตจำนงค์ในการปฏิวัติการป้องกันและจัดการโรคหัวใจและหลอดเลือดเชิงรุก

”ศุภมาส” ประกาศเจตจำนงค์ในการปฏิวัติการป้องกันและจัดการโรคหัวใจและหลอดเลือดเชิงรุก ยกระดับสาธารณสุขของไทยผ่านงานวิจัยและนวัตกรรมล้ำสมัย ในการประชุมนานาชาติด้านจีโนมิกส์ (ICG) ครั้งที่ 19

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ The Annual Meeting of International Conference on Gnomics (ICG - 19) จัดโดย BGI Genomics ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมประกาศเจตจำนงค์ในการดำเนินการ (LOI) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านนวัตกรรมที่ใช้ในการคัดกรอง ป้องกัน และจัดการโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Professor Yang Huanming, Academician of Chinese Academyof Sciences Co - founder of BGI Group นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำในอุตสาหกรรมจากทั่วโลกเข้าร่วมอย่างคับคั่ง ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า การประชุมนานาชาติด้านจีโนมิกส์ครั้งที่ 19 นับเป็นก้าวสำคัญในการแสวงหาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในสาขาจีโนมิกส์และเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกัน ประเทศไทยตระหนักถึงศักยภาพอันมหาศาลของสาขาจีโนมิกส์และเทคโนโลยีชีวภาพ และมุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากสาขาเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของสังคม ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านจีโนมิกส์และเทคโนโลยีชีวภาพ ก่อให้เกิดความสำเร็จอันโดดเด่นในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์แม่นยา เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง นวัตกรรมที่ใช้ในการคัดกรอง ป้องกัน และจัดการโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทยด้วย ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติการป้องกันและจัดการโรคหัวใจและหลอดเลือด ผ่านความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และแบงกอกจีโนมิกส์ อินโนเวชัน (BKGI) ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมใหม่ เป็นเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นของโรคหัวใจและหลอดเลือดแดง (ASCVD) ที่เรียกว่าการตรวจ Trimethylamine N-Oxide (TMAO) ในเลือด ซึ่งเป็นสารเมตาบอไลต์ที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้ โดยได้รับการระบุว่าเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใหม่สำหรับความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด การนำการตรวจนี้ไปใช้ในระบบการดูแลสุขภาพของไทยจะช่วยในการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ก่อนที่จะมีอาการ ทำให้สามารถดูแลเชิงป้องกันได้อย่างเหมาะสม

“เนื่องจากโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในประเทศไทย มีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันประมาณ 100,000 รายต่อปี โรคหลอดเลือดสมองมีผู้ป่วยประมาณ 300,000 รายต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายของภาครัฐไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมถึงค่าเสียโอกาสและค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดูแลประคับประคองด้วย นวัตกรรมนี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองเท่านั้น แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย“ รมว.อว. กล่าว

การประชุมโครงการการประชุมวิชาการนานาชาติ The Annual Meeting of International Conference on Gnomics (ICG - 19) ถูกจัดขึ้นในวันที่ ถูกจัดขึ้นในวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567 เพื่อเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมมือในการวิจัยที่ล้ำสมัยในด้านจีโนมิกส์และเทคโนโลยีชีวภาพ การประชุมนี้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของประเทศไทยในการพัฒนาความรู้และการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของสาขาวิชาเหล่านี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” ลงพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ก่อนประชุม ครม.สัญจรโคราช ชูนโยบาย “โดรนแก้จนเพื่อการเกษตร” ลดการสัมผัสสารเคมี ลดต้นทุนให้เกษตรกร ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่วัดบางอำพันธ์ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

“อว.แฟร์” โชว์พลัง อววน. ปักหมุดภาคเหนือ 27-29 มิ.ย. นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงาน “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2567

กระทรวง อว. – กระทรวงอุตฯ จับมือพัฒนายกระดับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม (อก.) และ น.ส.หวัง ซือ ซือ เลขานุการ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

อว. เปิดฉากยิ่งใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาคพร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดใหญ่ “อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THALAND ระดับภูมิภาค” ประเดิมที่แรกอีสาน 20-22 มิถุนายน2567 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

'ศุภมาส' แจงนโยบาย อว. 'เรียนดี มีความสุข มีรายได้' เน้นวิจัย สร้างนวัตกรรมดี ตรงความต้องการ' ตอบโจทย์เป้าหมายของรัฐบาล ยกระดับ อุตสาหกรรมใหม่ 8 ด้าน ตามนโยบาย IGNITE THAILAND ของนายกฯ

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม อภิปรายแถลงนโยบายต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่า งบประมาณของกระทรวงอว. ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 153,565. 2580 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นด้านอุดมศึกษา 112,358.8097 ล้านบาท คิดเป็น 73.17% และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 41,206.4483 ล้านบาท คิดเป็น 26.83%

“อนุทิน – ศุภมาส” ร่วมแถลงแนวทาง “การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต”

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รับมอบหมายจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานในพิธีเปิดงานแถลงวิสัยทัศน์ “เตรียมทัพกำลังคน