รวมเทคนิคเพิ่มความปลอดภัยในโรงงาน วางระบบอย่างไรให้โรงงานห่างไกลจากอุบัติเหตุ!

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และบางครั้งก็อาจเป็นเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานในโรงงานที่สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยเครื่องจักรกลหลายร้อย หลายพันชิ้น แผงวงจรไฟฟ้า รวมถึงสินค้าและวัสดุขนาดใหญ่ เพราะหากเครื่องจักรทำงานผิดพลาด และระบบภายในโรงงานเหล่านี้ขัดข้องขึ้นมา โดยไม่มีการป้องกันที่ดีพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ชีวิตของคนทำงานต้องตกอยู่ในอันตราย ได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งทรัพย์สินภายในโรงงานยังเสียหาย สามารถส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ ดังนั้น เหล่าผู้ประกอบการและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจึงควรให้ความสำคัญกับ ‘ระบบความปลอดภัยในโรงงาน’ เป็นหลักผ่านการวางโครงสร้างและมาตรการที่เข้มงวด แล้วระบบความปลอดภัยในโรงงานที่ว่านั้นเป็นอย่างไร? วันนี้ I.N.B ตัวแทนจำหน่ายส่วนประกอบเครื่องกล และสินค้าอุตสาหกรรมแบรนด์ THK ขอชวนเหล่าผู้ประกอบการทุกท่านมาทำความรู้จักมาตรการความปลอดภัยของโรงงานให้มากขึ้น พร้อมเทคนิคเพิ่มความปลอดภัยในโรงงานให้มีประสิทธิภาพ ห่างไกลจากอุบัติเหตุกัน!

ทำความรู้จัก ความปลอดภัยในโรงงาน คืออะไร

ความปลอดภัยในโรงงาน คือสภาพการทำงานที่ปลอดภัย ไม่อันตราย หรือเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ทั้งต่อชีวิตของคนงาน หรือทรัพย์สินภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน ดังนั้นเพื่อให้โรงงานมีความปลอดภัย จึงควรปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะการทำตามมาตรการความปลอดภัยของโรงงานนั่นเอง

ความสำคัญของความปลอดภัยในโรงงาน

เมื่อพูดถึงโรงงาน แน่นอนว่าแต่ละที่ก็ต้องมีจำนวนพนักงงานมากอยู่พอสมควร รวมถึงเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสินค้าต่างๆ ภายในโรงงานที่ก็มักจะมีมูลค่าสูงพอตัว การใส่ใจในเรื่องเซฟตี้ หรือความปลอดภัยภายในโรงงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และไม่ควรมองข้ามเลย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น อาจเกิดความเสียหาย ทั้งในแง่ชีวิตของคน และในแง่ของเม็ดเงินที่สูญเสียไปด้วย รวมไปถึงอาจทำลายความมั่นคงธุรกิจขององค์กร และความมั่นใจของพาร์ตเนอร์คู่ค้าธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน 

5 วิธีรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ที่จำเป็นต้องรู้

 แม้อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่ป้องกันไม่ได้เลย มาทำความรู้จักวิธีจัดการความปลอดภัยภายในโรงงาน เพื่อลดความเสี่ยง และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการทำงานภายในโรงงานกันเลย!

1. วางแผนเพื่อประเมินความเสี่ยง

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวางแผนและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในโรงงาน โดยควรเช็กให้ละเอียด ถี่ถ้วนมากที่สุดว่ามีส่วนไหนที่ต้องบำรุงรักษา หรือทำการซ่อมแซมบ้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เรียกได้ว่า กันไว้ดีกว่าแก้นั่นเอง

2. อย่าละเลยเรื่องความสะอาด

ความสะอาดก็เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากภายในโรงงานไม่มีระเบียบ พื้นที่สกปรก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ภายในโรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสะดุดลื่นล้ม ระบบต่างๆ เกิดการชำรุดเพราะคราบสิ่งสปรกไปติดค้างอยู่ ฉะนั้นจึงควรหมั่นดูแลความสะอาดของสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่างๆ อยู่เสมอ ผ่านมาตรการการแต่งกาย การห้ามรับประทานอาหาร หรือพกวัตถุแปลกปลอมอื่นๆ เข้ามาในพื้นที่ที่มีเครื่องจักร เป็นต้น

3. สวมอุปกรณ์ป้องกันอยู่เสมอ

ตามมาตรฐาน OSHA ของสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ได้แก่ หมวก ถุงมือ ที่อุดหู รองเท้านิรภัย  หมวกแข็ง เครื่องช่วยหายใจ และชุดเต็มตัว เพื่อป้องกันอันตรายระหว่างการทำงานให้ได้มากที่สุด 

4. ตรวจเช็กกลไกของเครื่องจักร

ควรตรวจสอบการติดตั้งของเครื่องจักรอยู่เสมอ เพื่อความแน่ใจว่า เครื่องจักมีการติดตั้งอย่างถูกต้อง และไม่มีการชำรุดตรงส่วนไหน ทั้งนี้ ควรฝึกฝนทักษะการใช้งานเครื่องจักรให้พนักงานด้วย ผ่านการอบรม ฝึกซ้อมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร เครื่องจักรชำรุดเสียหาย ไฟดับ เป็นต้น

5. อย่าวางของขวางทางออกฉุกเฉิน

ทางออกฉุกเฉิน คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ในการทำโรงงานเลย เพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา ทางออกเป็นสิ่งที่จะพาพนักงานไปสู่พื้นที่ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยควรจัดการพื้นที่ในโรงงานไม่ให้มีอะไรมากีดขวางทางออกฉุกเฉิน มีแผนที่ รวมถึงมีป้ายกำกับบอกทิศทางจนกว่าจะถึงออกด้วย

จะเห็นได้ว่า การหมั่นดูแลและปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนที่จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยของโรงงานได้ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และความเสียหายนั้นมีมากมายอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าแก้ไข ทั้งยังทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไร้ความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าธุรกิจ หรือพนักงานภายในโรงงานก็สามารถมั่นใจในดานคุณภาพขององค์กร โดยเฉพาะชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ต้องได้รับการบันทึก บำรุงรักษา และปรับเปลี่ยนเป็นประจำ เพื่อให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานนานขึ้น ส่งเสริมธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้แบบไม่มีสะดุดนั่นเอง

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ต้องการซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสำหรับใช้ในโรงงาน I.N.B เป็นตัวแทนจำหน่ายส่วนประกอบเครื่องกล และสินค้าด้านอุตสาหกรรมของ THK ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการจัดจำหน่าย และพัฒนาส่วนประกอบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ พร้อมทีมงานมากประสบการณ์ ผู้ชำนาญการที่คอยให้คำปรึกษา และให้บริการตั้งแต่การเลือกซื้อ การตรวจวัดหน้างานสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจได้เลยว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานอย่างแน่นอน

ช่องทางติดต่อ I.N.B

Line ID: @inb-thk

Tel: 02-6139166-71

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อารี’ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรนวดศีรษะ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน สร้างรายได้

นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เยี่ยมชมการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนวดศีรษะ และหลักสูตรการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน

30 โรงงานของ CPF รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award จากกรอ. เดินหน้าร่วมรับผิดชอบสังคมและชุมชน

จากความมุ่งมั่นในการสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในทุกระดับของทุกกลุ่มธุรกิจ มีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ในทุกมิติแก่สังคมและชุมชนที่สถานประกอบการของบริษัทฯตั้งอยู่ เพราะถือว่าซีพีเอฟคือหนึ่งในสมาชิกของชุมชน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ”

วันที่ 13 ธค. 2567  ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร

“เทด้า” คว้ารางวัล “คู่ค้าดีเด่นประจำปี 2567” จาก กฟผ.

นายธงชัย เพ็ชรยิ้ม ผู้อำนวยการบริหาร และ นายครองเกียรติ์ อุดมรัตนชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทด้า จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ