“ศุภมาส” ลงพื้นที่เพชรบุรีก่อนประชุม ครม.สัญจร เตรียมนำ อววน.ขับเคลื่อน "เมืองเพ็ชร" ให้เป็นหนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก

เมื่อวันที่ 13 พ.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อม นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 (ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม) ที่ จ.เพชรบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว.ในพื้นที่

โดน น.ส.ศุภมาส เดินทางไปที่กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนสวนตาลลุงถนอม ต.ถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด ซึ่งเป็นโครงการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาตาลโตนด มีผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นชื่อคือชาคอมบูชะ ข้าวเกรียบลูกตาล น้ำพริกหัวโหนดและแกงหัวตาลพาสเจอร์ไรส์ และมีแหล่งท่องเที่ยวคือถ้ำรงค์ ทั้งนี้ กระทรวง อว. ได้ลงขับเคลื่อนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ดังกล่าว อาทิ โครงการการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ชุมชนเพชรน้ำหนึ่ง โครงการการบริหารจัดการระบบการเกษตรปลอดภัย โครงการรถกระเช้าล้อแทรคเก็บเกี่ยวผลไม้ในที่สูง การพัฒนานวัตกรรมถุงห่อเพชรสายรุ้ง เป็นต้น โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก น.ส.ศุภมาส ได้เดินไปชมผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านทุกซุ้ม รวมทั้งได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายด้วย

จากนั้น น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 หรือ "เพชร สมุทรคีรี" ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เหมาะแก่การทำการเกษตร ประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยว ที่มุ่งสู่การพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศชั้นนำระดับโลก (World Class Destination) จากศักยภาพความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและการลงทุนจากภาคเอกชน ตนเห็นถึงโอกาสสำคัญของกระทรวง อว.ที่จะนำงานด้าน อววน. ที่มีศักยภาพไปเพิ่มขีดความสามารถได้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากร ไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการมุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันได้

“การลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี กระทรวง อว.ให้ความสำคัญในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสร้างศักยภาพและโอกาส เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการค้าที่สูงขึ้นให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานเจ้าภาพในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ขับเคลื่อน "เมืองเพ็ชร" ให้เป็นหนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก (UNESCO Creative Cities Network) ในสาขาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร เนื่องจาก จ.เพชรบุรี เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ทั้งการผลิตเกลือ การปลูกและผลิตน้ำตาลจากตาลโตนด และเป็นแหล่งปลูกมะนาวรสชาติที่ดีสุด และผ่านจากการวิจัยและพัฒนาเพื่อสกัดสารสำคัญที่มีความปลอดภัย คงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการ ได้ตามมาตรฐานสากลได้ต่อยอดเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เป็นการสร้างจุดขายให้กับประเทศที่จะนำอาหารไทยสู่ครัวโลก และถือเป็น Soft Power ของประเทศไทย” น.ส.ศุภมาส กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล