‘อนุสรี’ คณะที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม ร่วมเสวนา 20 ปี ปฏิบัติการนวัตกรรมสังคมสู่ความเสมอภาคในสังคมไทย

วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ "20 ปี ปฏิบัติการนวัตกรรมสังคมสู่ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมไทย"
ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสที่วิทยาลัยผู้นำนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ครบรอบ 20 ปี ณ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมี ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นายเกรียงไกร ชีช่วง ประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค และ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท กัล์ฟ โดยมี ดร. อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และ ดร.สุริยะใส กตะศิลา และศาตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี ร่วมเปิดงาน โดยสาระสำคัญของการเสวนาในครั้งนี้สะท้อนมุมองถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเด็นต่างๆ ทั้งสิทธิที่ทำกิน ชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิที่อยู่อาศัยของชุมชน และคนในเมือง ตลอดจนกลุ่มประมงพื้นบ้าน การเข้าไม่ถึงระบบยุติธรรมของคนจนในฐานะผู้แทนหน่วยงานด้านยุติธรรม

น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ กล่าวว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากขึ้น กฏหมายจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันกับโลกและรูปแบบอาชญากรรมใหม่ๆ เช่น อาชญากรรมไซเบอร์ และที่สำคัญกฏหมายอื่นๆ ต้องมีการปรับปรุงให้ประชาชนเข้าถึงระบบยุติธรรมได้มากขี้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบกองทุนยุติธรรม ที่ให้คนจนสามารถขอรับความช่วยเหลือสำหรับการจ้างที่ปรึกษากฎหมาย การมี Application Justice Care สำหรับร้องทุกข์ การมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรึภาพ เข้าไปในพื้นที่รับฟังปัญหากลุ่มชนเผ่าต่างๆ ส่วนศาลยุติธรรม ก็พัฒนาระบบ Application D court ที่สามารถยื่นเอกสารทาง E file และการที่ ศาลมีระบบสืบพยานออนไลน์กับคดีผู้หญิงและเด็ก ที่ไม่ต้องเผชิญหน้าผู้ทำร้ายหรือละเมิด การมีข้อตกลงระหว่างศาลยุติธรรมและธนาคารแห่งประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ เช่น สินเชื่อ บัตรเครดิต
มีระบบไกล่เกลี่ยออนไลน์ เป็นต้น

น.ส.อนุสรี กล่าวต่อว่า ผลจากการเสวนาในครั้งนี้ได้มีการเสนอการปรับปรุงพัฒนากฏหมายให้ทันกับสังคมที่เปลี่ยนไป รวมถึงพัฒนาทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ และปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับกับสภาพสังคม สภาพการจ้างงานที่เปลี่ยนไป ทั้งกฏหมายประกันสังคม กฏหมายแรงงานนอกระบบ รวมถึงกฏหมายด้านอาชญากรรมไซเบอร์ เป็นต้น โดยเสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่กลางในการจัด Work shop ในแต่ละประเด็นปัญหาความไม่เป็นธรรม โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ อัยการ ศาล มาร่วมกันระดมความคิด รับฟังปัญหา พัฒนามุมมอง และพัฒนาแนวคิด ทัศนคติผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่เสมอภาคและเป็นธรรม สรุปเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลหรืออย่างน้อยเป็นเสียงจากประชาชน เพื่อให้ทุกคนในสังคมรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติภายใต้กฏเกณฑ์ที่มีความเป็นธรรม มิใช่กฏหมายที่เป็นธรรมแต่ลายลักษณ์อักษรแต่ไม่รู้สึกถึงความเป็นธรรมในชีวิตจริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14

นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย

เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล

นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

'จุลพันธ์' ยันไม่ยุบบ้านกาญจนาภิเษก 'ทิชา' ยังอยู่ในขั้นตอนประเมินตามวงรอบปกติ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกรวงการคลัง ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณฯ ลุกขึ้นชี้แจงภาพรวมมาตรา 21 กระทรวงยุติธรรม ว่า งบประมาณก้อนนี้รวม 12 หน่วยงาน

ครม.ถกลับ! หลักเกณฑ์อภัยโทษสำหรับบางกรณี ยธ.เสนอเข้าวาระจร

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันเดียวกันนี้ ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อการประชุมเข้าสู่ช่วงพิจารณาวาระสุดท้าย กระทรวงยุติธรรมได้เสนอวาระจร โดยไม่มีการระบุหัวเรื่องหรือรายละเอียดใดๆ พร้อมกับเชิญเจ้าหน้าที่แ

'ทวี' แจง 'ทักษิณ' โชว์วิสัยทัศน์​งานอี​เวนต์ ทำได้ไม่ผิดเงื่อนไขช่วงพักโทษ

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยถึงกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการพักโทษ จะเข้าร่วมงานอีเวนต์เปิดมุมมองต่ออนาคต