หน้าที่และอำนาจของ สว. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เผยแพร่สาระน่ารู้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา 20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทย ไปพร้อมกัน

โดย สว. ย่อมาจาก สมาชิกวุฒิสภา มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 5 ปี นับแต่วันประกาศผลการเลือก ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2567 นี้ มาจากการเลือกกันเองของบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

1. พิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาและกลั่นกรองพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

2. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งกระทู้ถาม เปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา หรือที่ประชุมรัฐสภา การตั้งกรรมาธิการ

3. ให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น

และ 20 กลุ่มอาชีพที่สามารถสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ มีดังต่อไปนี้

1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรืออื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน

2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ตำรวจ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

3. กลุ่มการศึกษา ได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาบุคลากรทางการศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

4. กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

5. กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

6. กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงานหรืออื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน

8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม ข้อ 9

11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์
ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

14. กลุ่มสตรี

15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

17. กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

20.กลุ่มอื่น ๆ

ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ect.go.th แอปพลิเคชัน Smart Vote สายด่วน 1444 หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วรงค์' มึน 'กกต.' ปล่อยผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง มีบทบาทเหนือหัวหน้าพรรค

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ผมรู้สึกมึนกับกกต. ที่ปล่อยให้ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทา

ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่

"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน

เลขาฯกกต. ลั่นสนามเลือกตั้ง อบจ. ไม่มีเจ้าพ่อ กติกาไม่ดีอย่าโทษกรรมการ ต้องไปแก้กฎหมาย

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวตอนหนึ่งของการเสวนา “ความสำคัญของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด” ว่า กกต.มีหน้าที่ในการจัดการเลือดตั้งให้ออกมาดี